เกี่ยวกับชุดดินจัดตั้ง
 
 ความหมายของชุดดินจัดตั้ง
 ชุดดินจัดตั้งในประเทศไทย
 
ภาคเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคใต้
  การจำแนกดินในประเทศไทย
 
 ทำไมต้องมีการจำแนกดิน
 วิธีการจำแนกดิน
   
  อนุกรมวิธานดินในประเทศไทย
 
 
อันดับดิน
 
อันดับย่อย
   
กลุ่มดินใหญ่
     
กลุ่มดินย่อย
       
วงศ์ดิน
 
 สืบค้นอนุกรมวิธานดิน
     
  สมบัติชุดดิน
 
 สมบัติทั่วไปของโปรไฟล์ดิน
 สมบัติของแต่ละชั้นดิน
   
  ระดับความเหมาะสม
 
 ทางการเกษตร
 ทางวิศวกรรม
   
  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุดดิน 
   
  สารสนเทศกลุ่มชุดดิน
(WebGIS)
   
   



         กรมพัฒนาที่ดินได้ ทําการสํารวจดินจัดทำแผนที่ดินและรายงานการสํารวจดินในระดับจังหวัด มาตราส่วน 1:50,000 และ 1:100,000 ตั้งแต่ ปี 2506 จนแล้วเสร็จทั้งประเทศ โดยมีหน่วยการจําแนกดินเป็นชุดดิน (soil series) ตามระบบ การจําแนก ดินของประเทศสหรัฐอเมริกา ฉบับปี พ. ศ. 2481 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อกําหนดหลายครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ในปี ค. ศ.2531 กองสํารวจและจําแนกดิน กรมพัฒนาที่ดินจึงทําการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดชุดดินที่ได้จัดตั้งไว้ แล้ว ทั่วประเทศ ให้สอดคล้องกับระบบการจำแนกดังกล่าว

      ผู้สนใจสามารถสืบค้นรายละเอียดของชุดดินจัดตั้ง เช่น ลักษณะทั่วไปของบริเวณที่พบชุดดินจัดตั้ง การจำแนกและให้ชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ของชุดดิน สมบัติทางเคมี และฟิสิกส์ของชั้นดินแต่ละชั้น และงานค้นคว้าวิจัยของหน่วยงานในกรมพัฒนา ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุดดินที่ได้จำแนกไว้แล้วในประเทศไทย




ชุดดินจัดตั้งในประเทศไทย

       ชุดดินจัดตั้ง จะต้องมีคัดเลือกจากการศึกษาหน้าตัด ( โปรไฟล์) ของดินหลายแห่งจนแน่ใจว่าได้ลักษณะและ คุณสมบัติต่าง ๆ    ทางกายภาพและทางเคมีของดินอันเป็นลักษณะประจําตัวของชุดดินเฉพาะในการจําแนกดิน ระดับชุดดิน     การเรียกชื่อชุดดินจัดตั้งปกติใช้ชื่อสถานที่พบดินชนิดนั้นเป็นครั้งแรก    หรือบริเวณนั้นมีชุดดิน ประเภทนั้นเป็นบริเวณกว้างขวาง ชุดดินที่มีคุณสมบัติดังกล่าวอาจพบจากการสำรวจดินในภายหลังที่สถานทีอื่น แต่การเรียกชื่อดินชนิดนั้นยังคงใช้ชื่อเหมือนชุดดินจัดตั้ง ตัวอย่าง เช่น ดินราชบุรี อาจพบที่จังหวัด พิษณุโลก หรือเชียงราย เป็นต้น ในทำนองเดียวกันดินหางดง อาจพบในอำเภออื่นในจังหวัดอื่นของประเทศไทย