ระบบเกษตรชานเมือง  
| หน้าแรก | เกษตรบนที่สูง | เกษตรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน| เกษตรที่ลุ่ม | เกษตรชานเมือง | ผลงานวิจัย | งานบริการวิชาการ | เครือข่ายเกษตรยั่งยืน | |
 
   
 
เกษตรชานเมือง
 
 
หน้าเกษตรยั่งยืน
 
 

.........................

   

เกษตรชานเมืองได้พัฒนาในช่วงต้นปี 2533 เนื่องจากกระแสการต่อต้านการใช้สารเคมี และความต้องการ ลดการใช้สารเคมี (เกษตรอินทรีย และเกษตรธรรมชาติ) การลดปัจจัยการผลิตภายนอก กระแสดังกล่าว เกิดเนื่องจาก ผลกระทบจากการ ใช้ปัจจัยการผลิต ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มากเกินไป และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ส่งผลถึงสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ดังนั้นเกิด กระแส การสนใจด้านสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ สินค้าปลอดสารพิษ และผู้บริโภคสนใจดูแลสุขภาพ และกลุ่ม ผู้บริโภคสินค้าอินทรีย์

อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้นำเข้าเป็นนโยบายเศรษฐกิจ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาได้รับ การสนับสนุน การผลิตสินค้าพืชผักเกษตรปลอดภัยจากสารพิษมากขึ้น หน่วยงานหลักที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ ่กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มเกษตรกรผลิตเกษตรอินทรีย์

โอกาสของเกษตรชานเมืองสำหรับพื้นที่นาชลประทาน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ถือครองเล็กกว่าพื้นที่นาน้ำฝน เป็นแหล่งที่มี ีการดำเนินการเกษตรแบบประณีตแต่การขยายของเขตเมือง ได้มีส่วนทำให้พื้นที่เกษตร ในเขตชลประทานลดลง และพื้นที่ ถือครองเล็กลงกว่าเดิม การเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็กบริเวณชานเมือง ได้กลายเป็นแหล่งผลิตพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และธุรกิจเพาะชำกล้าไม้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญของ การ พัฒนาเกษตรชานเมืองให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์เมือง

 
หน้าหลัก
   

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรได้พัฒนาระบบเกษตรชานในพื้นที่สถานีทดลองวิจัยเขตชลประทาน โดยเกษตรชานเมือง ได้ว่าเป็น รูปแบบการผลิตอีกรูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ครัวเรือนขนาดเล็ก ที่แรงงานในครัวเรือนจำกัด ซึงมีรูปแบบ การผลิตีหลากหลาย เช่น การผลิตข้าวอินทรีย์ การปลูกผักสวนครัวเพื่อ บริโภคและจำหน่าย และการปลูกผักปลอดสารพิษ หรือผักอินทรีย์ในเขตชานเมือง และ สนับสนุนการใช้ปัจจัยการผลิตภายในชุมชน และลด ละ และเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยการใช้สารสกัดจากสมุนไพร สารสกัดชีวภาพ จุลินทรีย์ท้องถิ่น และการใช้ปุ๋ยพืชสด

รูปแบบการผลิตดังกล่าวสอดคล้องกับระบบการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ ในเขตภาคเหนือตอนบน ซึ่งสามารถปรับใช้รูปแบบการผลิตได้ เช่น การผลิตผักในรูประบบ การปลูกผักหลังการปลูกข้าวนาปี หรือบางพื้นที่ๆ ผลิตผักตลอดปี

การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการผลิตผักปลอดสารพิษ
ระบบวนเกษตรสวนรอบบ้าน
ระบบเกษตรปลอดพิษ
ไม้ผลอายุสั้น
   
 
เกษตรปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
   

การปลูกผักในช่องว่างระหว่างลำไยในเขตพื้นที่ชลประทาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการปรับโครงสร้าง ของรัฐที่ต้องการลดพื้นที่ๆ ไม่เหมาสมต่อ การปลูกข้าวโดย การสนับสนุนระบบการปลูกพืชไม้ผล และผัก อย่างไรก็ตามจะพบว่าระบบเกษตรชานเมือง สอดคล้องและเหมาะสม ต่อที่นำมาสู่ความยั่งยืนของชุมชน ทั้งลดต้นทุนการผลิตจากการใช้สารเคมี

อีกทั้งการลดการใช้แรงงานจากภายนอกศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร ( ศวพก.) ได้ดำเนินการด้านเกษตรชานเมืองในระดับต่างๆ โดยมีเป้าหมาย 3 ประการได้แก่ ลดการพึ่งพิงปัจจัยภายนอก ลดต้นทุน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตามระบบดังกล่าวพิสูจน์แล้วว่าสามารถ เพิ่มมูลค่าและรายได้ให้แก่เกษตรกร ซึ่งอาศัยในเขตชานเมือง นำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารและมั่นคงทางรายได้ การจัดการด้านตลาด มีความสำคัญและดำเนินการ ควบคู่ไปพร้อมกับการผลิต ตลาดผักปลอดสารพิษ ศวพก. ได้ดำเนินงานด้านรณรงค ์การปลูก และบริโภคปลอดสารพิษในระดับต่างๆ เช่น นักศึกษา บุคคลากรในหน่วยงานการศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจระบบดังกล่าว นอกจากการเรียนรู้อย่าง มีส่วนร่วมกับเกษตรกรผู้สนใจต้องการเปลี่ยน ระบบการผลิตจากการ ใช้สารเคมี ีสู่ระบบ ปลอดสารพิษ และเพิ่มรายได้ ้ให้แก่ครัวเรือนเกษตรกร

ความรู้เกษตรปลอดพิษ
สมาชิกผักปลอดสารพิษ
 
เครือข่ายผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ    
ตลาดจำหน่ายผักปลอดสารพิษ    
ชมรมเกษตรปลอดพิษMCC    
         
ระบบเกษตรปลอดภัย
     
การบริหารศัตรูพืช     ระดับแปลง เริ่มทดลองในพื้นที่สถานีวิจัยเขตชลประทานตั้งแต่ปี 2535 โดยได้ดำเนินการทดลองผลิตผัก โดยไม่ใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ใช้วิธีการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ 1 ไร่ โดยการใช้ความหลากหลายของชนิดผัก และการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน จนถึงปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ถึง 11 ไร่ และปี 2545 เริ่มพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบ การผลิตเป็นระบบอินทรีย์ อย่างไรก็ตามระดับแปลงทดลองซึ่งสนับสนุน และส่งเสริมการเรียนรู้ไม่เฉพาะแต่ ผู้ผลิต แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมการศึกษาใน ระดับนักเรียน นักศึกษา
เคล็ดไม่ลับกับมหัศจรรย์ผัก    
แมลงศัตรูผัก    
ตัวห้ำและตัวเบียน    
คู่มือการผลิตผักปลอดสารพิษ     นอกจากนี้ยังมีงานศึกษาด้านวนเกษตรสวนรอบบ้านซึ่งสามารถใช้เป็นแปลงเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และข้อมูลสนับสนุนด้านการอนุรักษ์พันธุ์ผักและสมุนไพรพื้นบ้านและเชือมโยงกับการอนุรักษ์ ท้องถิ่น และยังเป็นการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตต่ำ เกษตรกรสามารถผลิตเชิงการค้าโดย ไม่ใช้สารเคมี ีกำจัดศัตรูพืชและผลิตพันธุ์พืชเชิงการค้าได้ ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตได้โดยแรงงานในครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันพืชผักปลอดสารพิษได้รับการสนับสนุนในระดับต่างๆมากขึ้น แปลงวนเกษตรสวนรอบบ้าน ของศวพก ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ ทั้งระดับ นักเรียน นักศึกษา และเกษตรกร ผู้ที่สนใจเข้าชมและศึกษาได้
โครงการวิจัยร่วม RURBIFARM    
       
       
::: แนะนำเวปไซต์ :::
   
ราคาผักและไม้ผลตลาดไท      
  ตลาดกลางค้าส่งสี่มุมเมือง     ระดับครัวเรือนเกษตรกร โดยการเข้าศึกษาทำงานร่วมกับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่งเสริม โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ในระดับชุมชน ที่ต้องการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต เช่น กลุ่มปิงน้อย หมู่ 8 ต. ปิงน้อย อ. สารภี จ. เชียงใหม่ จากเดิมมีการใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นมาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี สนใจปรับเปลี่ยน ระบบการผลิต นอกจากนี้ยังเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการผลิต ผักปลอดสารพิษที่ใช้หลักการทางนิเวศน์เกษตร การบริหารจัดการ และความยั่งยืนของกลุ่ม พร้อมทั้งบทบาทของปัจจัยภายนอกที่จะมีผลต่อการขยายตัวของกลุ่ม นอกจากนี้รวมถึงโอกาสใน การขยายระบบ การผลิตที่เน้นเกษตรกรวิทยากรในการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนต่างๆ
สืบค้นข้อมูลผัก  
ผักปลอดภัยจากสารพิษ  
โรคและแมลงศัตรูพืชผัก  
  Agroecology Links      
          ระดับจังหวัด ศวพก. ศึกษาการตลาดผักปลอดสารพิษในโดยการจำหน่ายผักปลอดสารพิษรูปแบบต่างๆ ทั้งการจำหน่ายตรง จำหน่ายภายในเขต อ. เมือง จ. เชียงใหม่ กิจกรรมชมรมเกษตรปลอดพิษ MCC ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาการตลาด และสนับสนุนการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ์และสามารถพัฒนา ทักษะและมีโอกาสเป็นอาชีพได้
         
         
   
 
    การตลาดและองค์กรผู้บริโภค มีความสำคัญกับระบบการผลิตเนื่องจาก:
    สร้างความเข้าใจแนวคิดและปฏิบัติด้านเกษตรยั่งยืนให้กับผู้บริโภค และสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
    เป็นกระบวนการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิต
     
          ศวพก.ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการจัดการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ์และสร้างเครือข่ายผู้บริโภค ศวพก. ได้เน้นการเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากร กับการผลิตทางเกษตร ที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรม กับผู้ผลิตและผู้บริโภค รวโภคมถึงการตระหนักถึงการบริโภคอาหารปลอดพิษ และอาหารเพื่อสุขภาพ และการสนับสนุน ให้เชียงใหม่เป็นจังหวัดต้นแบบของ เกษตรปลอดพิษ
       
 
   
       
        กรอบงานวิจัยของระบบเกษตรชานเมืองมีดังนี้
         
การเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกร และการร่วมมือระหว่างองค์กร
         
ระบบอาหารท้องถิ่นกับเศรษฐกิจชุมชน
          หลักการเกษตรเชิงนิเวศน์และการลดปัจจัยการผลิตของเกษตรชานเมือง
         
เครือข่ายผู้ผลิต ผู้บริโภคเพื่การพัฒนาเกษตรชุมชน
         
        โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ
       
Sustainable Farming at the Rural – An Integrated Knowledge Based Approach for Nutrient and Water Recycling in Small-Scale Farming Systems in Peri-Urban Areas of China and Vietnam – RURBIFARM
       

 

 

 

 

    งานวิจัยระบบเกษตรชานเมือง
     

 

| หน้าหลัก | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ | ระบบธุรกิจเกษตร | ระบบเกษตรยั่งยืน | ผลงานวิจัยศวพก | งานบริการวิชาการศวพก. | หลักสูตรปริญญาโท | คณะเกษตรศาสตร ์| มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ. เชียงใหม่ 50200 โทรศั์พท์ 053-221275 โทรสาร 053-210000 Homepage: http://www.mcc.cmu.ac.th