เกษตรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน    
 
| หน้าแรก | หน้าเกษตรยั่งยืน | เกษตรบนที่สูง | เกษตรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน| เกษตรที่ลุ่ม | เกษตรชานเมือง | ผลงานวิจัย | งานบริการวิชาการ | เครือข่ายเกษตรยั่งยืน | |
   
งานวิจัย
  เกษตรที่ดอนอาศัยน้ำฝน
..................................................  
 

การใช้ประโยชน์ที่ดินบนที่ดอนอาศัยน้ำฝนในภาคเหนือ เป็นผลพวงจากการสร้างทางหลวง เอเซียในระยะแรกของ แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมกับความต้องการด้านตลาดของพืชไร่และพืชน้ำตาลเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตร เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง เป็นต้น ปัจจุบันพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและบางส่วนของภาคเหนือตอนบน (เช่น เชียงราย พะเยา) ยังคงเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของระบบการผลิตพืชไร่เชิงพาณิชย์ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และถั่วเหลือง

     

ความก้าวหน้าด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชและเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ลูกผสม เช่น ข้าวโพด พร้อมกับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหาร สัตว์เพื่อป้อนอุตสาหกรรม การเลี้ยงสัตว์ปีก สุกร และสัตว์น้ำ ทำให้เกษตรกรยอมรับการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม

นอกจากนี้บริษัทเมล็ดพันธุ์เอกชนได้ขยายพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเข้าสู่พื้นที่ดอนและพื้นที่รอยต่อพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบนเช่นที่ อ. พบพระ จ.ตาก อ.แม่แจ่ม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และพื้นที่ดอนระหว่าง อ.สอง อ.เชียงม่วน จ.แพร่ กับ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ซึ่งเป็นพื้นที่ใหม่สำหรับข้าวโพด เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มีทางเลือกในการผลิตเพิ่มขึ้น

การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเรื่องกระจายการผลิตได้เปลี่ยนพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝนมาเป็นแหล่งปลูกไม้ผลที่สำคัญ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย โดยเฉพาะลำไย เมื่อมีการขยายตลาดด้านลำไยอบแห้ง และไม้ผลตระกูลส้ม ซึ่งอำเภอตอนเหนือของ จ.เชียงใหม่ได้กลายเป็นแหล่งผลิตส้มพันธุ์สมัยใหม่ พร้อมกับการพัฒนารูปแบบการ บรรจุภัณฑ์และการตลาดทำให้มีการส่งออกส้มคุณภาพ ปัจจุบันพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝนทางภาคเหนือ ตอนบนได้กลายเป็น แหล่งผลิตส้มที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ระบบสวนรอบบ้านที่เน้นการผลิตเพื่ออาหารและยา จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมในพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝนเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ในขณะเดียวกันสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากพืชพันธุ์พื้นเมืองที่เหมาะสมกับสภาพนิเวศน์

การเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่โดยอาศัยฐานทรัพยากรธรรมชาติตลอดระยะเวลา 4 ทศวรรษ การเกษตรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน ปัจจุบันยังคงเป็นพื้นที่สำหรับปลูกพืชไร่เศรษฐกิจ ถึงแม้หลายพื้นที่ได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินติดต่อกันตลอดปี โดยพัฒนารูปแบบการผลิตแบบวนเกษตร การผสมผสานพืชปลูกกับการเลี้ยงสัตว์ และไม้ผลเขตร้อน เช่น ไม้ผลตระกูลส้ม มะม่วง มะขาม เป็นต้น นอกจากนี้การแสวงหาพื้นที่ใหม่เพื่อผลิตพืชเฉพาะอย่างของบริษัทเอกชนหรือผู้ประกอบการได้สร้างทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรบนที่ดอนอาศันน้ำฝน เช่น การผลิตมันฝรั่งแปรรูปในพื้นที่ตะวันตกของจังหวัดตาก การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมในรูปแบบของระบบการผลิตแบบมีสัญญาผูกพัน ได้มีส่วนยกระดับความประณีตและเสริมทักษะการจัดการเมล็ดพันธุ์พืชของเกษตรกร การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝน ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการการฟื้นฟูทรัพยากรภูมินิเวศน์และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความยั่งยืนของการใช้ประโยชน์ที่ดินบนที่ดอนการฟื้นฟูทรัพยากรดินพร้อมทั้งการพัฒนา วิธีการเก็บเกี่ยวความชื้นให้เป็นประโยชน์จะเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารของภูมินิเวศน์บนที่ดอนอาศัยน้ำฝน

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรได้ดำเนินงานในระบบนเวศน์เกษตรที่ดอนอาสํยน้ำฝนมากว่า 10 ปี ในพื้นที่เกษตรกรกิ่งอำเภอดอยหล่อ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ หลังจากมีการปฏิรูปที่ดิน และพื้นที่อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่

 
    กรอบงานวิจัยระบบเกษตรที่ดอนอาศัยน้ำฝนมีดังนี้ :
+
การสร้างฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
+
การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการฟื้นฟูการใช้ประโยชน์ที่ดินทางเกษตรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน
   
โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ >>>
ระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการระยะที่ 1 ภาคเหนือตอนบน: องค์ความรู้และยุทธศาสตร์ในระบบการผลิตไม้ผลสภาพนิเวศเกษตร
เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ระยะที่ 2
   
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว >>>
สภาพนิเวศเกษตร เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (429 kb)
การคัดเลือก การพัฒนา การขยายพันธุ์มะม่วงแก้วสำหรับที่ดอนอาศัยน้ำฝน (104 kb)
   
   
ผลงานวิจัยเกษตรที่ดอนอาศัยน้ำฝน
   

 

| หน้าหลัก | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ | ระบบธุรกิจเกษตร | ระบบเกษตรยั่งยืน | ผลงานวิจัยศวพก | งานบริการวิชาการศวพก. | หลักสูตรปริญญาโท | คณะเกษตรศาสตร ์| มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ. เชียงใหม่ 50200 โทรศั์พท์ 053-221275 โทรสาร 053-210000 Homepage: http://www.mcc.cmu.ac.th