ระบบเกษตรบนที่สูง    
| หน้าแรก | หน้าเกษตรยั่งยืน | เกษตรบนที่สูง | เกษตรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน| เกษตรที่ลุ่ม | เกษตรชานเมือง | ผลงานวิจัย | งานบริการวิชาการ | เครือข่ายเกษตรยั่งยืน | |
       
 
ระบบเกษตรที่สูง
 
ระบบเกษตรยั่งยืน
 
.
   
.ระบบการผลิตบนที่สูง เป็นระดับที่สนับสนุนระบบการผลิตแบบยังชีพของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ปาเกาะญอ ม้ง ลีซอ อาข่า มูเซอ เย้า ไทยใหญ่ ไทยลื้อ ลัวะ คะฉิ่น จีนฮ่อ ปะหล่อง เป็นต้น ระบบการผลิตสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตอิงการผลิตข้าวนาเป็นหลัก จะตั้งถิ่นฐานในพื้นนาลุ่มบนที่สูง เช่น ปาเกาะญอ และชาติพันธุ์ที่เน้นระบบการผลิตที่มีพืชผักไม้ผล เชิงพาณิชย์บนพื้นที่สูง ลาดชัน หรือบริเวณไหล่เขา ได้แก่ ชุมชนม้ง เป็นต้น สำหรับจีนฮ่อจะเน้นระบบการผลิตพืชผัก ไม้ผล และชา
 
 
งานวิจัยบนที่สูง
แต่เดิมรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน นอกจากพื้นที่นาบนที่สูงแล้ว พื้นที่อื่น ๆ จะประกอบด้วยไร่หมุนเวียน ป่าหมุนเวียน และไร่ถาวร การพัฒนาเกษตรเพื่อยกระดับ ความเป็นอยู่ของชุมชนบนพื้นที่สูงในระยะแรก (ต้นทศวรรษที่ 70) ได้ใช้แนวทางตลาดนำโดยการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น
 
หน่วยงานหลักในขณะนั้นได้แก่ โครงการหลวง (ปัจจุบันได้เปลี่ยนสถานะเป็นมูลนิธิโครงการหลวง) ซึ่งได้ประสานงานกับหน่วยงานรัฐและมหาวิทยาลัย พัฒนางานวิจัยในพื้นที่สร้างเทคโนโลยี การผลิตไม้ผล กาแฟ พืชผัก พืชตระกูลถั่ว ไม้ดอกไม้ประดับ โดยอาศัยความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของสภาพนิเวศน์บนที่สูง ผลิตพืชเกษตรและอาหารที่พื้นที่ราบลุ่มไม่สามารถผลิตได้ดี พร้อมทั้งพัฒนาด้านการแปรรูปและการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ "ดอยคำ" สำหรับผู้บริโภคระดับกลางและระดับบนจนเป็นผลสำเร็จ ปัจจุบันพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงครอบคลุม 36 ศูนย์ ใน 5 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เชียงราย และพะเยา)
การพัฒนาทางเลือกเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารสำหรับชุมชนปาเกาะญอ
ผลิตภาพของการเกษตรที่สูงในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
  การเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรและความยั่งยืนของประเภทการผลิตในชุมชนเกษตรบนที่สูง การพัฒนาเกษตรบนพื้นที่สูงเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ได้สร้างรูปแบบการผลิตที่แปลกใหม่สำหรับชุมชนชาติพันธุ์บนที่สูง พรรณไม้และพืชพันธุ์ต่างถิ่นได้ถูกนำเข้ามาทดลองและได้ขยายการส่งเสริมเพื่อปลูกเป็นการค้าเมื่อพบว่าพืชพรรณเหล่านั้นสามารถปรับตัวได้ดี ภูมิปัญญาเดิมเกือบจะไม่ได้ช่วยในด้านการจัดการแผนใหม่ เกษตรกรที่สูงจำต้องเรียนรู้กระบวนการผลิตแผนใหม่โดยผ่านการฝึกอบรม การติดตามการผลิตจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมประจำศูนย์ในกรณีที่อยู่ในความดูแลของโครงการหลวงพร้อมทั้งระบบการลาด ซึ่งโครงการหลวงได้มีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาเกษตรที่สูงที่ใช้ตลาดนำ
 
 
     
    เกษตรกรบนที่สูงที่เข้าสู่วิถีการผลิตเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะการผลิตพืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ การจัดการแปลงการผลิตแตกต่างไปจากการจัดการแบบดั่งเดิม ซึ่งมักจะให้ความสำคัญเป็นแปลงรวมพืชพันธุ์หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นแปลง "พืชอาหาร"
       
     

ไม่ว่าจะเป็นแปลงข้าวไร่ ข้าวโพด เกษตรกรจะปลูกพืชผักอาหารหลายชนิดแซมร่วมกับพืชหลักเหล่านี้ การปลูกพืชผักสมัยใหม่ และไม้ดอกไม้ประดับเพื่อส่งตลาดโครงการหลวง เกษตรกรที่สูงจะปฏิบัติไม่แตกต่างจากการผลิตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ที่เน้นเฉพาะพืชหลักแปลงปลูกจะมีการจัดเรียงหรือวางแผนการปลูกแบบแยกส่วน ทั้งนี้เพื่อลดการแข่งขัน ในขณะเดียวกันเพื่อลดการล้นตลาด เป็นการจัดการแบบประณีตและเข้มข้น ระบบการผลิตดังกล่าวทำให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงไม่มีโอกาสได้ดูแล "แปลงอาหาร" แบบเดิมอีกต่อไป ซึ่งในที่สุดระบบการผลิตพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับเชิงพาณิชย์ได้เข้าไปทดแทน "แปลงอาหาร"

การฟื้นฟูระบบ "แปลงอาหาร" หรือระบบสวนรอบบ้านร่วมกับการผลิตเชิงพาณิชย์ จะช่วยสร้างสมดุล ระหว่างการผลิตแบบยังชีพที่สร้างความมั่นคงทางอาหารและการผลิตเชิงพาณิชย์ที่ให้ผลตอบแทน เป็นเงินเพื่อการดำรงชีพและสนับสนุนการลงทุนในกิจกรรมใหม่ๆ ได้ต่อไป

     

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกระบวนการพัฒนาเกษตรยั่งยืน บนที่สูงบนชุมชนพร้อมกับหน่วยงานของรัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายของการพัฒนา เกษตรที่สูง คือเสริมสร้างระบบการผลิตทางเกษตรที่สัมพันธ์กับความยั่งยืน ของสภาพแวดล้อม และสามารถ สนับสนุนการดำรงชีพที่ หลากหลายของชุมชนที่สูง การยกระดับรายได้ของครัวเรือนเกษตรกรดีขึ้น ที่นำไปสู่การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได ้ในการนี้ศวพก. ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาระบบ การผลิตแบบผสมผสานบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ของครัวเรือน ตลอดจน การพัฒนากิจกรรมต่อเนื่องที่ระดับกลุ่มที่จะสร้าง พลังขับเคลื่อนให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงและการ ขยายในวงกว้างได้

อย่างไรก็ตามศวพก. ได้มกรอบงานวิจัยที่สนับสนุนระบบเกษตรยั่งยืนบนที่สูง 3 ประเด็นดังนี้

กรอบงานวิจัยระบบเกษตรบนที่สูง
......................................................................................
การเพิ่มความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบนที่สูง
ความหลากหลายของพันธุกรรมและความหลากหลายของพันธุ์พืช
การลดปัญหาความยากจนบนที่สูง
......................................................................................

การเปลี่ยนแปลงการเกษตรบนพื้นที่สูง เป็นแหล่งผลิตพืชผลเมืองหนาวที่อาศัยความได้เปรียบทางสภาพแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ พัฒนาระบบการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากชนิดพืชเมืองหนาวนำ เข้าจากต่างประเทศ การพัฒนาส่วนใหญ่เน้นเรื่องการจัดการที่ให้ได้คุณภาพตรงตามพันธุ์ใกล้เคียงกับผลที่ได้จากแหล่งผลิตเดิม ความสัมฤทธิ์ ผลของพืชล้มลุกอายุสั้นจะมีมากกว่าไม้ผลเมืองหนาว การขยายผลของ พืชเมืองหนาวบนที่สูง เพื่อเป็นแหล่งผลิตพืชอาหารและเกษตร จะเป็นประเด็นหลัก ของการพัฒนากับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กับการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในพื้นที่

      ตัวอย่าง ชุมชนบนที่สูงที่มี่วิถีชีวิตผูกพันกับทรัพยากร เช่น ชุมชนปาเกาะญอธรรมชาติอย่าง แน่นแฟ้น ระบบการผลิตเพื่อบริโภคได้ปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะการผลิตพืชผักและไม้ผลเมืองหนาว ซึ่งสภาพแวดล้อมบนที่สูงมีความเหมาสมมากกว่าพื้นที่ราบ อย่างไรก็ตาม ชุมชนปาเกาะญอยังคงให้ความสำคัญกับ การผลิตพืชอาหารเป็นลำดับแรก และครัวเรือน ส่วนใหญ่ยังคงใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรป่าไม้เป็นแหล่งอาหารยา และความจำเป็นต่างๆ ผลของ การใช้ที่ดินในบริเวณป่าดิบเขาผสมกันสนต่อความหลายของชนิดพืชธรรมชาติ อย่างไรก็ตามยัง มีชุมชน อีกหลากหลายที่มวิถีชีวิตที่มีการดำรงชีพเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาต
       
     

โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ

     

องค์ความรู้ท้องถิ่นในระบบการผลิตทางเกษตรอย่างยั่งยืนของชุมชนภาคเหนือตอนบน
       
      โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
      การวินิจฉัยการขาดธาตุอาหารในผักกาดขาวปลี
      Transforming Agriculture for Sustainable Food System in the Karen Community at Watchan, Upper Maecham Watershed, Chiang Mai 2002
     
 
       
      ผลงานวิจัยเกษตรบนที่สูง

 

| หน้าหลัก | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ | ระบบธุรกิจเกษตร | ระบบเกษตรยั่งยืน | ผลงานวิจัยศวพก | งานบริการวิชาการศวพก. | หลักสูตรปริญญาโท | คณะเกษตรศาสตร ์| มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |

 

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ. เชียงใหม่ 50200
โทรศั์พท์ 053-221275 โทรสาร 053-210000 Homepage: http://www.mcc.cmu.ac.th