ระบบวนเกษตรสวนรอบบ้าน

(Home gardens)

     
| เกษตรบนที่สูง| เกษตรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน| เกษตรที่ลุ่ม | เกษตรชานเมือง | ผลงานวิจัย | งานบริการวิชาการ | เครือข่ายเกษตรยั่งยืน | |
หน้าเกษตรชานเมือง
   

การผลิตผักแบบสวนรอบบ้าน

สถานีวิจัยการเกษตรเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการทดลองและผลิตพืชผักสมุนไพรแบบวนเกษตรสวนรอบบ้านในปี 2540 ในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ และได้ขยายพื้นที่ ประมาณ 2 ไร่ในปี 2541

สวนรอบบ้านเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบวนเกษตร ที่นำพืชเกษตรมาปลูกร่วมกับไม้ป่า โดยปลูกพืชที่มีเรือนยอดต่างระดับกันหลายชั้น พันธุ์ไม้ที่ปลูกขึ้นกับวัตถุประสงค์ของเกษตรกรเอง เช่น เป็นอาหาร สมุนไพร ไม้ใช้สอย ฯลฯ รวมทั้งเป็น อาหารสัตว์ เกษตรกรสามารถใช้เป็นคลังอาหารและรายได้

หน้าเกษตรยั่งยืน
การผลิตผักแบบสวนรอบบ้าน
ความสำคัญ
หลักการและนิเวศของพืชพื้นเมือง
การวางแผนการปลูก
การจัดการ
ชนิดพืชในแปลงปลูก
 
 

 
  ความสำคัญ

 
ระบบการผลิตแบบสวนรอบบ้านนี้สามารถใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรพอเพียงสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารและยา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานใหม่ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารหรือเครื่องปรุงในครัวเรือน
- การเลือกพืชที่เหมาะสม และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร อย่างไรก็ตามระบบการผลิตแบบยี้เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชโดยเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรสามารถพัฒนาระบบการผลิตโดยลดการพึ่งพิงการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก
- เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์พืชโดยเกษตรกร
- สวนรอบบ้านช่วยรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
 

หลักการและนิเวศของพืชพื้นเมือง ในระบบสวนรอบบ้าน


  -ความต้องการแสง แร่ธาตุอาหาร น้ำ มีระบบราก ลักษณะต้น ทรงพุ่มที่แตกต่างกัน
- ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น อาหาร สมุนไพร ไม้ประดับ ไม้เชื้อเพลิง ไม้ก่อสร้าง สารป้องกันศัตรูพืชและสัตว์มีโรคแมลงรบกวนน้อย ทนทานต่อสภาพอากาศ ปรับตัวเข้ากับสภาพท้องถิ่นได้ดีเก็บพันธุ์ได้เอง หาได้ตามธรรมชาติ
- ปลูกได้ง่าย ใช้ปัจจัยการผลิตน้อยมาก
- มีชนิดให้เลือกมากมาย เลือกปลูกตามสภาพของแต่ละท้องที่
- เป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพรวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น
 

การวางแผนการปลูก


- คัดเลือกพืชพื้นเมืองที่เป็นอาหารและมีสรรพคุณเป็นยา
- พิจารณาเรือนยอดพันธุ์พืชที่ปลูกให้มีระดับแตกต่างกัน หลายชั้น ซึ่งระบบรากตื้น ลึกจะแตกต่างกันด้วย
- พิจารณาความต้องการแสง ทนร่มเงาปลูกไว้ใต้พันธุ์ไม้อื่น ที่ต้องการแสงมากกว่า
- พืชที่เลื้อยพันปลูกให้เลื้อยพันไม้ยืนต้นเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ในแนวตั้ง
- ปลูกกลุ่มพืชที่ใช้ประกอบอาหารร่วมกันอยู่บริเวณเดียวกัน
- ปลูกพืชที่มีการใช้ประโยชน์มากในปริมาณที่มาก เพื่อสามารถนำไปจำหน่ายได้ เช่นผักปลัง กะเพรา โหระพา

 

การจัดการ


- กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งไม้ยืนต้นตามความจำเป็น ให้ได้รับแสงตามความเหมาะสม
- ไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เศษพืช
- ให้น้ำตามความจำเป็นด้วยการตักรด ทดน้ำเข้าแปลง หรือสปริงเกลอร์


ชนิดพืชในแปลงปลูก


แปลงศึกษาของศวพก. ได้ปลูกจำนวน 121 ชนิด เพื่อเป็นต้นพันธุ์ เน้นพืชอาหารและสมุนไพรจำนวนต้นไม่มากเว้นแต่พืชนั้นสามารถจำหน่ายได้จะปลูกในปริมาณที่มากขึ้น ปลูกแล้วเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง เป็นพืชยืนต้น บางชนิดปลูกครั้งเดียว เมล็ดที่ร่วงหล่นเกิดสืบต่อได้โดยไม่ต้องปลูกอีก

พืชที่เกิดเองตามธรรมชาติ มีสถานภาพเป็นวัชพืช แต่มีสรรพคุณทางยาไทย จำนวน 19 ชนิด บางชนิดใช้เป็นผัก เช่น ผักปราบจำนวนพืชทั้งหมด รวม 120 ชนิด (Species)
ข้อควรระมัดระวังเรื่องของการควบคุมร่มเงา จำนวนชนิดพืชจะเปลี่ยนไปเหลือแต่พืชเด่นน้อยชนิด

รายละเอียดแปลงทดลอง (แปลง Y7, Y8)
 
| หน้าหลัก | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ | ระบบธุรกิจเกษตร| ระบบเกษตรยั่งยืน | ผลงานวิจัยศวพก | งานบริการวิชาการศวพก. | หลักสูตรปริญญาโท | คณะเกษตรศาสตร ์| มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ. เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 053-221275 โทรสาร 053-210000 Homepage: http://www.mcc.cmu.cmu.ac.th