ปัจจัยเกื้อหนุนที่มีผลต่อการพอเพียงข้าวในครัวเรือนเกษตรกร

 
 

 


 

การพอเพียงข้าวในครัวเรือนเกษตรกร


ปัญหาการขาดแคลนอาหารในพื้นที่สูงเป็นปัญหาหลักที่พบเกือบทุกพื้นที่สูง
จากการประชุมกลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยบง และบ้านเด่น ที่มีปัญหาการขาดแคลนข้าวพบว่าปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่


- ที่นา การมีที่นาอย่างน้อยสองที่ในการปลูกข้าว
- ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
- การมีน้ำแหล่งน้ำสามารถนำมาใช้ได้ตลอดทั้งปี นอกจากการผลิตข้าวแล้วยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกผักในฤดูแล้ง
- ปุ๋ยเคมี ช่วยสนับสนุนและเพิ่มผลิตข้าวของเกษตรกรได้ ตารางที่ 5

อย่างไรก็ตามการเพิ่มผลผลิตข้าวนาดำบนที่สูงมีมากว่า 10 ปี จากงานทดสอบการใช้ปุ๋ยเคมีในข้าวนาบนที่สูงพบว่า ผลผลิตเฉลี่ยข้าว ภายใต้การใส่ปุ๋ย และไม่มีการใส่ปุ๋ยผลผลิตเฉลี่ย 2.18 ตัน/เฮกตาร์ และ1.17 ตัน/เฮกตาร์ตามลำดับ และพบว่า สัดส่วนผลผลิตเพิ่มขึ้น จากการใส่ปุ๋ย 16-20-0 156 กก/ เฮกตาร์ Gypmantasiri , et.al (1994)

เกษตรกรจะจัดการใส่ปุ๋ยคอกโดยหว่านตอนเตรียมแปลงกล้าซึ่งจำเป็นถ้ามีปริมาณเพียงพอจะไม่ใช่ปุ๋ยเคมีเลย การใส่ปุ๋ยเคมี ของเกษตรกรจะใส่ระยะข้าวเจริญเติบโต ก่อน 30วันถึง30วัน.(ระยะข้าวแตกกอ) การใช้ปุ๋ยเพื่อเสริมเมื่อพบว่า ลักษณะการเจริญเติบโต ข้าวไม่ดีก็ทำการหว่าน ปุ๋ยที่นิยมใช้ได้แก่ปุ๋ย 16-20-0, 15-15-15 ในระยะหลังข้าวแตกกอ จากการสุ่มเก็บตัวอย่างของเกษตรกร 1 ตารางเมตร พบว่าผลผลิตเปรียบเทียบระหว่างมีการใส่ปุ๋ยและไม่ใส่ปุ๋ย พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีเฉลี่ยประมาณ 20 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย ข้าวพันธุ์ต่างๆมีการตอบสนองปุ๋ยแตกต่างกัน เฉลี่ยผลผลิตข้าวนาดำที่สูงเมื่อไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี 493 กก./ไร่ ซึ่งขณะที่ผลผลิตข้าว ที่ใส่ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 517 กก./ไร่ สัดส่วนของผลผลิตเพิ่มประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ (ตาราง5 )

อย่างไรก็ตามผลผลิตข้าวอาจจะมีความผันแปรตามพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่าง และการตอบสนองปุ๋ยต่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของเกษตรกร
จากการประชุมกลุ่มเกษตรกรเรื่องปัจจัยมีผลต่อความพอเพียงของผลผลิตข้าว พบปัจจัยหลักที่คล้ายคลึ่งกัน ในกลุ่มที่มีข้าวเพียงพอ และข้าวขาดแคลน ได้แก่ รายได้ ขนาดของที่ดินเพื่อทำนา ผลผลิตข้าว ส่วนปัจจัยอื่น เช่น การมีสัตว์เลี้ยง เช่น หมู ไก่ วัว ควาย คุณภาพของที่ดิน ในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเครื่องมืออำนวยความสะดวก เช่น รถไถ ฯลฯ ต่างๆเหล่านี้ช่วยสนับสนุน การที่มีโอกาสในระบบการผลิตต่างๆ

  ตาราง 4 ปัจจัยที่มีผลต่อการพอเพียงของพืชอาหารในครัวเรือนเกษตรกร
  กลุ่มมีข้าวพอกิน-ข้าวเหลือ (มั่นคง) กลุ่มมีข้าวไม่พอเพียง(ไม่มั่นคง)
  รายได้สูง รายได้ต่ำ
  ขนาดที่ดินมาก ขนาดที่ดินน้อย
  ผลผลิตข้าวมาก ผลผลิตข้าวไม่พอ
  มีสัตว์เลี้ยง  
  เครื่องอำนวยความสะดวก  
  ที่ดินมีคุณภาพ  
  ที่มา : ประชุมกลุ่มเกษตรกร 2544  

 

  ตาราง 5 ผลผลติข้าวนาดำที่สูงที่มีการใส่ปุ๋ยและไม่ใส่ปุ๋ย
  พันธุ์ข้าว
ไม่ใส่ปุ๋ย (กก./ไร่)
ใส่ปุ๋ย(กก./ไร่)
 
ผลผลิต
ค่าเบี่ยงเบน
จน.ตัวอย่าง
ผลผลิต
ค่าเบี่ยงเบน
จน.ตัวอย่าง
  บือชอมี
360
1
456
125
2
  บือปอเมาะ
441
140
7
462
163
11
  บือโปโละ
513
128
10
580
140
23
  บือผะโด
560
126
3
  บือโม
659
128
2
528
1
  เฉลี่ย
493
125
20
517
138
40
  ที่มา :ตัวอย่างข้าวในพื้นที่เกษตรกร ต. บ้านจันทร์ 2544

 

 

  (กลับเกษตรบนที่สูง) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)