องค์ประกอบการผลิตทางเกษตรบนที่สูง

 
 

องค์ประกอบการผลิตทางเกษตรบนพื้นที่สูง

1. พืชอาหาร ข้าวและข้าวโพด เป็นธัญพืชหลักสำหรับการบริโภคและการใช้ในครัวเรือน ข้าวประกอบด้วยข้าวนาดำและข้าวไร่ งานวิจัยข้าวนาดำบนที่สูงพบว่าชุมชนบนที่สูงโดยเฉพาะชุมชน ปาเกาะญอ ยังคงใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชุมชน ซึ่งได้รับการคัด การเก็บรักษา และการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน พันธุ์ข้าวนาดำมีความหลากหลายทางพันธุกรรม

2. พืชสวน สภาพภูมินิเวศน์บนที่สูงมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในการผลิตพืชสวนชนิดต่างๆ เช่น ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก ซึ่งมีการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติจำเพาะของสภาพภูมินิเวศน์บนที่สูงนี้ สำหรับการพัฒนาและส่งเสริมพืชสวน เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นของชุมชนบนที่สูง

3. ปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงกันทั่วไปบนพื้นที่สูง ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่ และม้า สัตว์ใหญ่เช่น โค กระบือ และม้า เดิมมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์แรงงาน และเป็นแหล่งสะสมทุนเป็นสำคัญ การนำมาใช้เป็นอาหารไม่ใช่จุดประสงค์สำคัญ

4. ประมง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินตามริมแม่น้ำบนที่สูง คือการเปลี่ยนที่นาบางส่วนมา เป็นระบบเกษตรผสมผสาน โดยมีบ่อปลาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ แต่เดิมชุมชนบนที่สูง เช่น ปาเกาะญอ ซึ่งยึดเหนี่ยวกับวัฒนธรรมการปลูกข้าว และค่อนข้างจะอนุรักษ์นิยม มักจะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะ การลดพื้นที่นาบางส่วนเพื่อสร้างเสริมกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับครัวเรือน

รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือประเภทของฟาร์มบนที่สูง

ชุมชนบนที่สูงที่มีการจัดตั้งหมู่บ้านอย่างถาวรหรือมีศักยภาพที่จะจัดตั้งอย่างถาวร หรือ ชุมชนที่จัดตั้งขึ้นตาม นโยบายทางราชการ จะมีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และรายได้ระดับครัวเรือน และชุมชน จะมีรูปแบบหรือประเภทของฟาร์มที่หลากหลายขึ้นอยู่กับฐานทรัพยากร องค์ความรู้ ขีดความสามารถ ในการจัดการ และโอกาสด้านการตลาด ตลอดจนการมีส่วนเข้าร่วมในโครงการพัฒนาต่าง ๆ

1. ระบบการใช้ที่ดินแบบแผ้วถางและเผา

ซึ่งเป็นระบบการใช้ป่าหมุนเวียนกับการปลูกข้าวไร่เพื่อบริโภค โดยมีระยะพักตัว 5-7 ปี ถือว่าเป็นระบบ ที่ใช้ชีวมวลของไม้ป่าเป็นวัสดุฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสามารถ รักษาเสถียรภาพ ของข้าวได้ ้ดี พอสมควรระบบดังกล่าวนี้ปัจจุบันยังคงปฏิบัติโดยชุมชนปาเกาะญอ ถือว่าเป็นระบบ ที่มีความยั่งยืนทาง นิเวศน์ระบบหนึ่งในเขตร้อนชื้น

เป็นระบบการผลิตข้าวนาพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำบนที่สูง โดยใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกน้อย ผลิตภาพของข้าวนาดำขึ้นอยู่กับสภาพของนา ส่วนใหญ่เป็นนาขั้นบันใด และความสามารถในการรักษา ระดับน้ำของที่นา ชุมชนปาเกาะญอให้ความสำคัญกับการผลิตข้าวนาดำ เป็นลำดับแรก ดังนั้นในพื้นที่ ที่นาลุ่มมีไม่เพียงพอ ปากะญอจะใช้แรงงานแลกเปลี่ยนหรือแรงงานรวมเพื่อพัฒนาที่ดินเป็นนาขั้นบันใด เนื่องจากผลผลิตจากข้าวนาดำจะมีความแน่นอนมากกว่าข้าวไร

3. ระบบการผลิตพืชผักตามข้อแนะนำของโครงการหลวง

เกษตรกรผู้ผลิตผัก "โครงการหลวง" จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพนักงานภาคสนามของมูลนิธิโครงการหลวง ด้านการใช้ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต และการตลาด

4. ระบบการผลิตพืชผักโดยเกษตรกรอิสระ

ระบบนี้ส่วนมากจะเป็นการผลิตผักเชิงพาณิชย์ เช่น กะหล่ำ ในฤดูฝน ซึ่งผู้ผลิตมักจะใช้พื้นที่ลาดชันบนไหล่เขาเป็นแหล่งผลิต เป็นพื้นที่ที่มีคมนาคมสะดวกพอสมควร

5. ระบบการผลิตพืชไร่เชิงพาณิชย์

พืชไร่ที่สำคัญได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง และถั่วแดงหลวง การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อเมล็ดมาเป็นการผลิตเพื่อเมล็ดพันธุ์ลูกผสม โดยทำสัญญาผูกพันกับบริษัทเอกชน

6. ระบบที่มีไม้ผลเป็นพืชหลัก

ชุมชนที่มีการจัดตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรมักจะปรับใช้ระบบการใช้ที่ดินที่มีไม้ผลเป็นพืชหลัก และผสมผสานกับพืชผักอายุสั้นในระยะแรก ๆ ที่ไม้ผลยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เทคโนโลยีการผลิตและพันธุ์ไม้ผลต่าง ๆ ส่วนมากจะได้รับการแนะนำ และสนับสนุนจากมูลนิธิโครงการหลวง และกองเกษตรที่สูง ไม้ผลชนิดหลักได้แก่ พลับ พลัม ท้อ บ๊วย แมกคาเดอเมีย เป็นต้น

 
 
 
(กลับเกษตรบนที่สูง) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)