การถือครองที่ดินและขนาดพื้นที่ทำกิน  
   
 
    การถือครองที่ดิน  
   


กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทดสอบประสิทธิผลของโสนในนาข้าวเป็นพื้นที่เกษตรกรที่ปลูกข้าวในฤดูนาปี พื้นที่ถือครองแต่ละกลุ่ม (อำเภอ) แตกต่างกันโดยเฉพาะที่สันกำแพง กลุ่มเกษตรกรจะมีพื้นที่เฉลี่ย 14 ไร่ (5-30 ไร่) สำหรับปลูกข้าวนาปี ทุกคนมีพื้นที่ถือครองของตนเอง และไม่มีเกษตรกรรายใดเช่าพื้นที่ปลูกข้าว (ตารางที่ 4.5) เกษตรกรทุกคนคุ้นเคยกับการปลูกข้าวพันธุ์คุณภาพ เช่นข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 หรือข้าวเหนียว กข6 แต่หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี โอกาสของการปลูกพืชครั้งที่สองน้อยมาก เนื่องจากโครงการชลประทานแม่กวง ไม่สามารถส่งน้ำไปถึงพื้นที่เพาะปลูก
กลุ่มเกษตรกรที่ร่วมกิจกกรรมนี้จึงพยายามที่จะปลูกข้าวให้ได้ผลตอบแทนสูง และให้ความสนใจกับการปรับปรุงผลผลิต

สำหรับกลุ่มเกษตรกรแม่แตงและสันทราย มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวเฉลี่ย 6.6 และ 7.8 ไร่ (ตารางที่ 4.4) ต่อครอบครัวตามลำดับเกษตรกร มีความคุ้นเคยกับการปลูกข้าวพันธุ์คุณภาพ เช่นเดียวกันกลุ่มสันกำแพง ซึ่งไม่มีเกษตรกรรายใดปลูกข้าวพื้นเมือง ทั้งสองพื้นที่นี้ได้รับน้ำ จากโครงการชลประทานแม่แตงและโครงการชลประทานแม่แฝกตามลำดับ จึงสามารถจัดระบบปลูกพืชหมุนเวียนได้ เช่น ข้าวนาปี - ถั่วเหลือง ข้าวนาปี - ข้าวนาปรัง เป็นต้น เกษตรกรบางรายที่ร่วมทดสอบมีพื้นที่ของตนเองจำกัด ต้องเช่าที่ดินเพิ่มเติมเพื่อปลูกข้าว ซึ่งเจ้าของนาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีฐานะอยู่นอกพื้นที่และไม่ได้ทำอาชีพการเกษตร และการเช่าที่ดินก็ยินยอมให้เกษตรกรเช่าที่ดินปลูกพืชได้นานกว่าหนึ่งปี เช่นในพื้นที่วิจัยแม่แตง เกษตรกรสามารถเช่าที่ทำกินได้นานกว่า 3 ปี และต่อสัญญาได้ โดยเก็บค่าเช่าที่ดิน เป็นข้าวเปลือก 20 ถังต่อไร่ต่อปี ทำให้ผู้ที่มีพื้นที่ถือครองน้อยมีโอกาสที่จะเพิ่มผลผลิตรวมของพืชอาหารและเสริมรายได้จากการปลกพืชฤดูแล้งได้อย่างเต็มที่

เกษตรกรผู้เช่าจึงสามารถร่วมกิจกรรมกับการทดสอบการใช้ปุ๋ยพืชสด เนื่องจากเงื่อนไขของการเช่าที่ดิน ไม่เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนา ความอุดมสมบูรณ์ของดินอันจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตรวมและรายได้

ประมาณร้อยละ 34 ของเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมดไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องเช่าที่ดินผู้อื่นทำการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรกรในอำเภอสันกำแพงมีถึงร้อยละ 43.3 รองลงมาเป็นเกษตรกรในอำเภอแม่แตงและอำเภอสันทรายตามลำดับ ส่วนเกษตรกรที่มีที่ดินเป็นของตนเองบางรายได้ ้เช่าที่ดินผู้อื่นทำการเกษตรด้วยเนื่องจากมีที่ดินน้อย และเมื่อแยกดูตามกลุ่มผู้ปลูกและไม่ปลูกโสน พบว่ากลุ่มผู้ปลูกโสนร้อยละ 43.4 ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ส่วนกลุ่มไม่ปลูกโสนมีเพียงร้อยละ 25 ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง

ขนาดพื้นที่การเกษตรทั้งหมด รวมทั้งที่ดินของตนเองและเช่าผู้อื่น เฉลี่ย 9.2 ไร่ต่อครัวเรือน สูงสุด 38 ไร่ ในอำเภอสันกำแพง และต่ำสุด 1.5 ไร่ ในอำเภอสันทราย ทั้งนี้เกษตรกรในอำเภอสันกำแพงมีที่ดินโดยเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 13 ไร่ต่อครัวเรือน เมื่อเทียบกับประมาณ 7 - 8 ไร่ ในอำเภอสันทรายและอำเภอแม่แตง เมื่อแยกดูตามกลุ่มผู้ปลูกและไม่ปลูกโสน เกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกโสนมีพื้นที่ทำกินโดยสูงกว่ากลุ่มผู้ไม่ปลูกสนเล็กน้อยคือประมาณเฉลี่ย 2.3 กก./ไร่ (ตารางที่ 4.5)

 


 
    ......................................................................................................................................................................................  
    ระบบการปลูกพืช  
    ......................................................................................................................................................................................  
 

 

 

 
  (กลับเกษตรที่ลุ่ม) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)