สรุปโครงการวิจัย

การประมาณผลผลิตอ้อยด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร

ชื่อเรื่อง การประมาณผลผลิตอ้อยด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร

ผลงานวิจัย

โครงการวิจัยนี้ดำเนินการเป็นเวลา 5 ปี ระหว่าง 15 กรกฎาคม 2537 ถึง 14 กรกฎาคม 2542 แบ่งเป็นสองระยะ ระยะแรก 3 ปี ระยะที่สอง 2 ปี ได้บัณฑิตระดับปริญญาโท 2 คน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนแรกจบสาขาพืชไร่ มี ผศ.ดร. ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับพัฒนาการของอ้อย 4 พันธุ์ทั้งที่เป็นอ้อยปลูกและอ้อยตอปีที่หนึ่ง ปัจจุบันเป็นบรรจุเป็นนักวิชาการ กรมวิชาการเกษตร คนที่สองจบสาขาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ มี ผศ.ดร. อรรถชัย จินตะเวช เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการตอบสนองของอ้อยปลูกต่อความหนาแน่นโดยใช้การทดลองรูปพัด ปัจจุบันเป็นบรรจุเป็นนักวิชาการ บริษัท ทีซีซีการเกษตร จำกัด

งานวิจัยของโครงการสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้

งานส่วนที่ 1 ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับงานทดลองระดับแปลงทดลองและการพัฒนาโปรแกรมแบบจำลองอ้อย ThaiCane 1.0 ซึ่งพัฒนาต่อจากแบบจำลองอ้อย CANEGRO 3.0 งานส่วนนี้ได้ผลลัพธ์มากมาย ได้โปรแกรมสนับสนุนการจัดการข้อมูลงานทดลอง ExpData 1.0 เพื่อช่วยให้นักวิชาการเกษตรสามารถจัดการข้อมูลงานทดลองอ้อยและพืชอื่น ๆ ได้ และสามารถส่งออกข้อมูลงานทดลองไปยังแบบจำลองอ้อยและเพื่องานวิเคราะห์ทางสถิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลของ Access MDB

งานส่วนที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับงานพัฒนาวิธีการการผลิตแผนที่แปลงอ้อยจากข้อมูลดาวเทียม LANDSAT 5 TM

งานส่วนที่ 3 ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาการโปรแกรมเชื่อมโยงแบบจำลองอ้อย ThaiCane 1.0 และฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงอรรถาธิบายเพื่อสนับสนุนการประมารการผลผลิตอ้อยในพื้นที่ขนาดใหญ่ คณะผู้วิจัยได้พัฒนางานได้แก่โปรแกรมเชื่อมโยง ThaiSIS 1.0 และ ThaiSIS 2.0 โปรแกรมเชื่อมโยง ThaiSIS 1.0 สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ DOS และ โปรแกรมเชื่อมโยง ThaiSIS 2.0 สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 และ 98 ภาษาไทย ทั้งสองโปรแกรมต้องการข้อมูลเชิงพื้นที่รูปแบบตาราง และโปรแกรมเชื่อมโยง เอราวัณ 1.0 สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 และ 98 ภาษาไทย ต้องการข้อมูลเชิงพื้นที่รูปแบบลายเส้น

งานส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานวิจัยของโครงการวิจัย งานส่วนนี้คณะผู้วิจัยได้พัฒนาเอกสารฝึกอบรมและวิธีการอบรมที่ยืดหยุ่นเหมาะต่อผู้ใช้งานหลายระดับ คณะผู้วิจัยได้พัฒนางาน สหสื่อ (multimedia) ในรูปแบบ CD-ROM เรียกว่า CANE 2000 ซึ่งบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับอ้อยหลายด้าน เพื่อเป็นสื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยและการพัฒนางานผลิตอ้อยและน้ำทรายของประเทศไทย

หลักการและเหตุผล พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการประมาณผลผลิตอ้อยในพื้นที่ขนาดใหญ่ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ประกอบไปด้วย แบบจำลองอ้อย ThaiCane ระบบพิกัดข้อมูลระยะไกล (remote sensing: RS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) และ ระบบพิกัดสากล (Global Positioning System: GPS) พร้อมการศึกษาในแนวลึกเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองของพันธุ์อ้อยไทยต่อสภาพแวดล้อมซึ่งอาจจะมีผลโดยตรงต่อการผลิตอ้อยของประเทศ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

1) พัฒนาและทดสอบแบบจำลองอ้อยในสามพื้นที่ของประเทศ
2) พัฒนาวิธีการทำแผนที่ปลูกอ้อยจากข้อมูลดาวเทียม
3) พัฒนาโปรแกรมเชื่อมโยงฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงอรรถาธิบายเข้ากับแบบจำลองอ้อย และ
4) พัฒนาการฝึกอบรมผลงานวิจัยของโครงการโดยใช้สหสื่อและเอกสารที่สามารถเรียนด้วยตนเอง

เป้าหมายของโครงการ พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการประมาณผลผลิตอ้อยในพื้นที่ขนาดใหญ่

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกับการผลิตอ้อยน้ำตาลในระดับต่าง ๆ สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาได้ในการประเมินผลผลิตอ้อยในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ไร่นาถึงระดับประเทศ สามารถตรวจสอบได้

สถานภาพและองค์ความรู้ในปัจจุบัน

การประมาณผลผลิตอ้อยใช้ความชำนาญของผู้รู้และสมการ แบบเส้นตรงระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ผลการประมาณการมีความคลาดเคลื่อนจากผลผลิตที่ได้รับและไม่สามารถตอบสอบย้อนกลับได้ คณะผู้วิจัยสามารถพัฒนาต้นแบบของแบบจำลองอ้อย ThaiCane 1.0 สามารถพัฒนาโปรแกรมจัดการงานทดลองอ้อย ExpData 1.0 ใช้ส่งออกข้อมูลงานทดลองเพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติและใช้งานร่วมกับแบบจำลองอ้อยและแบบจำลองพืชอื่น ๆ สามารถพัฒนาวิธีการแปลข้อมูลดาวเทียมเพื่อทำแผนที่แปลงอ้อยในพื้นที่ระดับจังหวัด ได้พัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงอรรถาธิบายเพื่อประกอบการประมาณผลผลิตอ้อยอ้อยในพื้นที่ 5 จังหวัด สามารถพัฒนาโปรแกรมเชื่อมโยง ThaiSIS 1.0 และเชื่อมโยงการประมาณผลผลิตอ้อยทั้งจังหวัดได้แบบมีการตอบโต้ ปัจจุบันมีฐานข้อมูลเพียงพอสำหรับจังหวัดขอนแก่น สามารถพัฒนาสหสื่อ (CANE2000) เกี่ยวกับอ้อยของประเทศไทย

ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะที่ 1: 15 กรกฎาคม 2537 - 14 กรกฎาคม 2540
ระยะที่ 2: 15 กรกฎาคม 2540 - 14 กรกฎาคม 2542

ผู้วิจัย

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย ผศ.ดร. อรรถ-ชัย จินตะเวช ผศ.ดร.ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา ผศ.ถาวร อ่อนประไพ กาญจนา พิบูลย์ และศิรินทิพย์ พรหมฤทธิ์
โทรศัพท์ 053-221-275 โทรสาร 053-210-000 email: attachai@chiangmai.ac.th homepage http://mccweb.agri.cmu.ac.th

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบไปด้วย รศ.ดรสุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ ผศ.ดรบุญมี ศิริ และอิสรี เก่งนอก

ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี กรมวิชาการเกษตร เฉลิมพล ไหลรุ่งเรือง นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต ปรีชา พราหมณีย์ อัปสร เปลี่ยนสินไชย และ ผาสุข ลิ้มรุ่งเรืองรัตน

| หน้าหลัก ศวพก.| วิสัยทัศน์ ศวพก .| ระบบเกษตรยั่งยืน |ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตร | ระบบธุรกิจเกษตร |
| หลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบ
| หน่วยสนับสนุนงานวิจัย | เครือข่ายระบบเกษตร | สืบค้นข้อมูล | สิ่งตีพิมพ์ | ข่าวสาร |