สิ่งตีพิมพ์ของ ศวพก.| ฐานข้อมูลวิจัยระบบเกษตร| โปสเตอร์ | ซอฟต์แวร์| แผนที่


  ศวพก.
    หน้าหลัก
    แนะนำ ศวพก
  ระบบเกษตรยั่งยืน
  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
  ระบบธุรกิจเกษตร
  หน่วยสนับสนุนงานวิจัย
  ผลงานวิจัย
  งานบริการวิชาการ
  หลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบ
  บุคลากร
  สารสนเทศภายใน

  เชื่อมโยงเว็บไซด์:
     เครือข่ายระบบเกษตร
     เครือข่ายเกษตรยั่งยืน
     เครือข่ายธุรกิจเกษตร
     การสัมนาทางวิชาการ


ระบบสนับสนุนการวางแผนการจัดการ ทรัพยากรเพื่อการเกษตรและการบริการ ระยะ ที่ 1 ภาคเหนือตอนบน: การจำแนกระบบ นิเวศเกษตรและการเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ที่ดิน




            โครงการวิจัยนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านระบบนิเวศเกษตร และการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่ ตลอดจนถึงการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ของชุดโครงการระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการระยะที่ 1 ภาคเหนือตอนบน โดยมีแนวทางด้านการปรับปรุง ตรวจสอบ และพัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน และเน้นถึงความเชื่อมโยงกับโครงการระบบกลาง และประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรดินและน้ำชลประทาน เพื่อความต่อเนื่องของระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ( รสทก.) โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาและประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลภูมิอากาศ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และหน่วยจัดการที่ดินเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยในลักษณะบูรณาการ 2) การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อระบบการผลิตพืช และ 3) การจำแนกหน่วยจัดการที่ดินการผลิตพืชเชิงพื้นที่ที่สำคัญในพื้นที่ศึกษ า

            ผลจากการพัฒนาฐานข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลภูมิอากาศเชิงพื้นที่ที่ได้ ประกอบด้วยข้อมูลปริมาณน้ำฝน (มม) จำนวนวันที่ฝนตก (วัน) อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด ( ํ c ) การคายระเหยน้ำอ้างอิง (มม) และ ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในเชิงบูรณาการเพื่อการสร้างฐานข้อมูลอื่น เช่น การจัดทำเขตภูมิอากาศ การพัฒนาข้อมูลช่วงฤดูปลูกเชิงพื้นที่โดยวิธีการของ Stern และข้อมูลศักยภาพผลผลิตพืชตามแนวทางของ FAO ของระบบการผลิตพืชในพื้นที่วิจัย ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพด และถั่วเหลืองในฤดูฝน ข้าวนาปรัง ถั่วเหลือง หอมแดง หอม กระเทียม ข้าวโพด มันฝรั่งในฤดูแล้ง เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับระบบการประเมินผลการวิเคราะห์ในโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบการประเมินการใช้ที่ดินเชิงกายภาพและเศรษฐกิจ ระบบการประเมินประสิทธิภาพการใช้น้ำของพืชในพื้นที่ชลประทาน และการประเมินสภาพเสื่อมโทรมของที่ดิน ในโครงการระบบกลาง เป็นต้น

            ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินที่พัฒนาได้จากโครงการนี้ประกอบด้วย 1) ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2543 2) ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2531 และ 3) ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินได้เน้นการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการชลประทานขนาดใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงที่ดินตามนิเวศวิทยาทางเกษตร ผลของข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงอรรถาธิบายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ได้จากโครงการประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรดินและน้ำชลประทาน นอกจากนั้นยังใช้เพื่อการพัฒนาข้อมูลหน่วยจัดการที่ดินการผลิตพืชเชิงพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจากการประเมินที่ดินเชิงกายภาพ และข้อมูลการเสื่อมโทรมของที่ดินจากระบบกลาง

            ผลจากการดำเนินการของโครงการนี้ และโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาการสร้างองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น การพัฒนาข้อมูลช่วงฤดูปลูกเชิงพื้นที่ และข้อมูลศักยภาพผลผลิตพืชในระบบการผลิตพืช เป็นต้น ควบคู่กับการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อประยุกต์กับการใช้งานจริงในพื้นที่โดยเฉพาะระบบ รสทก.

 

 
 


 




ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร(ศวพก.), คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000 Homepage: http://www.mcc.cmu.ac.th
.