สิ่งตีพิมพ์ของ ศวพก.| ฐานข้อมูลวิจัยระบบเกษตร| โปสเตอร์ | ซอฟต์แวร์| แผนที่


  ศวพก.
    หน้าหลัก
    แนะนำ ศวพก
  ระบบเกษตรยั่งยืน
  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
  ระบบธุรกิจเกษตร
  หน่วยสนับสนุนงานวิจัย
  ผลงานวิจัย
  งานบริการวิชาการ
  หลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบ
  สารสนเทศภายใน

  เชื่อมโยงเว็บไซด์:
     เครือข่ายระบบเกษตร
     เครือข่ายเกษตรยั่งยืน
     เครือข่ายธุรกิจเกษตร
     การสัมนาทางวิชาการ


ระบบสนับสนุนการวางแผนการจัดการ ทรัพยากรเพื่อการเกษตรและการบริการ ระยะ ที่ 1 ภาคเหนือตอนบน: ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรดินและน้ำชลประทาน




            โครงการวิจัยนี้ เป็นโครงการหนึ่ง ในชุดโครงการวิจัยระบบสนับสนุนการวางแผนการจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและการบริการ(รสทก.) ระยะที่ 1 ภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดระบบข้อมูลการผลิตทางการเกษตรและการใช้ทรัพยากรดินและน้ำ ประเมินความเหมาะสมและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของการใช้ประโยชน์ในที่ดินและน้ำชลประทาน ศึกษานโยบายทางการเกษตรและผลกระทบที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิต การตลาดการเกษตร และการใช้ทรัพยากรที่ดินและน้ำในพื้นที่ศึกษา และวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และผลที่เกิดขึ้นต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรในระบบการผลิตทางการเกษตรที่อาจเกิดขึ้นได้จากความเปลี่ยนแปลงทางปัจจัยทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม และนโยบายที่เกี่ยวข้อง

            โครงการนี้ได้ผนวกข้อมูลและผลการวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนเกษตรกรเข้ากับข้อมูลและผลการวิเคราะห์เชิงกายภาพและชีวภาพ ที่มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร ์ ( GIS ) เป็นฐาน ในระบบกลางของ รสทก. โดย ได้เก็บรวบรวมข้อมูลระดับครัวเรือนและทุติยภูมิระดับโครงการชลประทานและระดับจังหวัดในพื้นที่ศึกษา 3 จังหวัดคือ เชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน รวมทั้งสิ้นราว 1, 6 00 ครัวเรือน กระจายใน 35 อำเภอ สามารถมีการแสดงผลการใช้ที่ดิน การผลิตพืชในเขตนิเวศเกษตรต่างๆ คือ ที่ราบลุ่มชลประทาน ที่ราบลุ่มอาศัยน้ำฝน ที่ดอน และ ที่สูง ปัจจัยการผลิตที่ใช้ ราคา ต้นทุน ผลตอบแทนและประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจของการใช้ที่ดิน และการใช้ทรัพยากรน้ำ ให้ผลการวิเคราะห์ด้านผลตอบแทนและประสิทธิภาพของพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เก็บข้อมูลมีทั้งหมด 26 ชนิด เป็นข้อมูลในช่วงปีการผลิตพ.ศ. 2544 - 2546 ในด้านข้อมูลอนุกรมเวลา มีข้อมูลราคาปีพ.ศ. 2541-2545 และ ปริมาณน้ำชลประทาน 12 ปี ระหว่างปีพ.ศ. 2535-2546 จัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อแสดงผลและวิเคราะห์เพิ่มเติมในระบบกลาง

            ในด้านการศึกษาถึงผลกระทบจากนโยบายทางการเกษตรต่างๆ ทั้งด้านการผลิต การค้า และทรัพยากรสำคัญ พบว่าในจังหวัดที่ศึกษา นโยบายที่สำคัญที่จะมีผลต่อการผลิตและชีวิตของเกษตรกรคือนโยบายด้านการเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (เช่น ข้อตกลงทวิภาคีการค้าเสรี ( FTA)) เกษตรกรมีความเสี่ยงด้านการตลาดและราคา เป็นหลัก

            การผนวกสัมประสิทธิ์ปัจจัยการผลิต ราคา และผลผลิตที่เกษตรกรได้รับ จำแนกตามพืช วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางชีวภาพกายภาพ เช่น ดินและภูมิอากาศในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ทำให้สามารถวิเคราะห์หาความเหมาะสมการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงเศรษฐกิจจำแนกตามพืช ชนิดและตำแหน่งของที่ดิน และแสดงผลเป็นแผนที่ โดยสามารถให้มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลโดยผู้ใช้ได้ ทั้งในด้านราคาและปริมาณปัจจัยการผลิต ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ความแปรปรวนของผลตอบแทนที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ โครงการนี้ได้ให้ความสำคัญต่อความแปรปรวนของผลผลิตและราคา ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกษตรกรได้รับ การวิเคราะห์เรื่องความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในพืชหลัก 7 ชนิดที่มีข้อมูลในพื้นที่ศึกษา พบว่าเกษตรกรต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงในการผลิตในการเกษตรเกือบทุกพืชที่ผลิตและมีโอกาสขาดทุนมากในกิจการฟาร์มของเกษตรกร

            ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนทรัพยากรการเกษตรที่โครงการนี้และโครงการอื่นในชุดโครงการนี้สร้างขึ้น (รสทก.) สามารถให้ข้อมูลและคำตอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปแก่นักวางแผนระดับท้องถิ่น สามารถใช้ระบบนี้ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงการ แผนงาน แผน และกิจกรรมทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้ที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรได้เป็นอย่างดีและง่ายขึ้น

 
 


 




ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร(ศวพก.), คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000 Homepage: http://www.mcc.cmu.ac.th
.