สิ่งตีพิมพ์ของ ศวพก.| ฐานข้อมูลวิจัยระบบเกษตร| โปสเตอร์ | ซอฟต์แวร์| แผนที่


  ศวพก.
    หน้าหลัก
    แนะนำ ศวพก
  ระบบเกษตรยั่งยืน
  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
  ระบบธุรกิจเกษตร
  หน่วยสนับสนุนงานวิจัย
  ผลงานวิจัย
  งานบริการวิชาการ
  หลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบ
  สารสนเทศภายใน

  เชื่อมโยงเว็บไซด์:
     เครือข่ายระบบเกษตร
     เครือข่ายเกษตรยั่งยืน
     เครือข่ายธุรกิจเกษตร
     การสัมนาทางวิชาการ



โปรแกรม AgZone 3.0




           โปรแกรม AgZone 3.0 ได้รับการออกแบบให้สนับสนุนการจัดเขตการใช้ที่ดินสำหรับการ ผลิตพืชเศรษฐกิจรายพันธุ์ โปรแกรมนี้มีความแตกต่างจากโปรแกรม AgZone 2.0 เป็นอย่างมาก กล่าวคือทำงานบน ระบบภูมิสารสนเทศ ArcView 9 หรือ ArcMap 9.0 ขึ้นไป ใช้ฐานข้อมูล ภูมิสารสนเทศการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จัดทำล่าสุดในปี 2546 โดยกรมพัฒนาที่ดิน ใช้ขอบเขต การปกครองและเขตพื้นที่ชลประทานฉบับปรับปรุงใหม่ ใช้กฎเกณฑ์การกำหนดเขต เหมาะสม สำหรับผลิตพืชเศรษฐกิจแตกต่างจาก AgZone 2.0 โดยอาศัยข้อมูลความต้องการด้านทรัพยากร
ที่ดิน ของพืชรายพันธุ์ที่ได้มีการปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อประเมินระดับความ
เหมาะสม เชิงกายภาพของที่ดิน นอกจากนี้ ยังใช้ข้อมูลผลผลิตพืชรายพันธุ์ที่ได้จากการสำรวจทั่ว ประเทศเพื่อกำหนด เขตที่เหมาะสม สำหรับการผลิตพืชรายพันธุ์เหล่านั้น โปรแกรม AgZone 3.0 ได้รับการพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบไฟล์   Dynamic Library Link (.dll) จึงมีความสะดวก ในการนำไปใช้ร่วมกับ    ArcView 9 โดยสามารถผนวกเป็นเครื่องมือช่วยการวิเคราะห์ ใน
ArcView 9 ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม AgZone 3.0 ร่วมกับเครื่องมืออื่นของ ArcView 9 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      
       โปรแกรม AgZone 3.0 ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถดังนี้
  • อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เลือกพื้นที่เป้าหมายได้ตั้งแต่ระดับประเทศ สำนักงาน
    พัฒนาที่ดินเขต จังหวัด อำเภอ ถึงตำบล
  • อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเลือกชนิดพืชและพันธุ์พืชที่ต้องการจัดเขตการใช้ที่ดิน
    พืชเศรษฐกิจรายพันธุ์
  • ใช้ในการประเมินคุณภาพที่ดินและระดับความเหมาะสมเชิงกายภาพของที่ดิน
  • เปลี่ยนแปลงช่วงค่าในแต่ละชั้นความเหมาะสมของคุณภาพที่ดินตามความต้องการของ
    พืชแต่ละพันธุ์
  • เปลี่ยนแปลงค่าถ่วงน้ำหนักของกลุ่มคุณภาพที่ดิน ปัจจัยวินิจฉัย และสมบัติที่ดินที่ใช้เป็นปัจจัยวินิจฉัยย่อย
  • แสดงแผนที่รายคุณภาพที่ดินและระดับความเหมาะสมเชิงกายภาพของที่ดิน
  • แสดงชั้นข้อมูลเชิงพื้นที่อ้างอิงที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น ขอบเขตการปกครอง
    ถนน ทางน้ำ หมู่บ้าน วัด โรงเรียน ตลาดรับซื้อผลิตผล เป็นต้น
  • แสดงชั้นข้อมูลจุดสำรวจผลผลิตพืชเศรษฐกิจรายพันธุ์ พร้อมข้อมูลต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนของแปลงสำรวจ
  • จัดเขตการผลิตพืชเศรษฐกิจรายพันธุ์ทั้งแบบเฉพาะพันธุ์พืชและรวมทุกชนิดและพันธุ์พืช
  • เปลี่ยนแปลงค่าลำดับความสำคัญและผลผลิตเป้าหมายสำหรับพืชเศรษฐกิจ รายพันธุ์ เพื่อใช้จัดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจแบบรวมทุกพันธุ์พืชทั่วประเทศ
  • ทำงานร่วมกับระบบภูมิสารสนเทศในการแสดงผลในรูปแผนที่บนหน้าจอภาพ และพิมพ์เป็นแผนที่ตามการออกแบบเฉพาะของผู้ใช้
 
   


 




ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร(ศวพก.), คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000 Homepage: http://www.mcc.cmu.ac.th
.