การประชุมสัมมนาวิชาการ ศวพก. ประจำปี 2550


ความเป็นมา

           ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร(ศวพก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานวิจัยเพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้สำหรับชี้นำ ให้ข้อมูลข่าวสาร และตอบสนองต่อการพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ของภาคเหนือและของประเทศ โดยอาศัยหลักการวิจัยเชิงระบบและเชิง พหุวิทยาการ ในปัจจุบัน ศวพก. ได้ผลิตงานวิจัยที่มี ประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคเหนือและประเทศเป็นจำนวนมากซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวล้วนเป็นผลงานที่ควรนำเสนอต่อเพื่อนนักวิจัย  เพื่อรับทราบ และแสดง ความคิดเห็นต่อผลงานวิจัยของแต่ละหน่วยวิจัย รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้นำเสนอแนวทางการวิจัย ที่มีประโยชน์เพื่อขอการสนับสนุนทางความคิดและข้อคิดเห็นจากเพื่อนนักวิจัยด้วยกัน  ด้วยเหตุนี้ ศวพก. จึงเห็นความสำคัญ ของการเสนอผลงานทางวิชาการของศวพก.ว่าเป็นกิจกรรมที่พึงปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างมาตรฐาน ในการดำเนินงานทางด้านวิชาการ ดังนั้น จึงเห็นสมควรจัดการประชุมเสนอผลงานทางวิชาการ ศวพก. ประจำปี 2550 ขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2550 เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการเกษตร และข้าราชการประจำศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร ได้รับทราบความ ก้าวหน้าและทิศทางของวิจัยของกลุ่มต่างๆ โดยเน้นงานที่ดำเนินการในปัจจุบันที่มีบทบาทต่อการพัฒนาวิชาการทางเกษตร ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับในสังกัด ศวพก. ได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับทิศทางงานวิจัยของ ศวพก.และให้ข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยและการบริหารงานวิจัยของ ศวพก. ในอนาคต

วัตถุประสงค์

เพื่อเสนอผลงานวิจัยและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการวิจัยของนักวิจัยและนักวิชาการประจำศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร
เพื่อเสนอผลงานการเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรและผลงานอื่นๆ ของ ศวพก.
เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นเยาว์และผู้ช่วยนักวิจัยได้เห็นศักยภาพและทิศทางการวิจัยของ ศวพก.
เพื่อวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มของงานวิจัยที่แต่ละหน่วยวิจัยกำลังดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อรวบรวมผลงานทางด้านงานวิจัย และกิจกรรมต่างๆ ของ ศวพก. 
เพื่อนำเข้าสู่ระบบการตรวจสอบและประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการวิจัยและสร้างความสัมพันธ์ของบุคลากรในสังกัด ศวพก.










ผู้เข้าร่วมประชุม

  
คณาจารย์ และนักวิชาการเกษตร จำนวน 25   คน
  
นักวิจัย และผู้ช่วยนักวิจัย    จำนวน  40  คน 
  
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยและงานบริการวิชาการ จำนวน  25  คน
  รวมทั้งสิ้น จำนวน  90  คน


วันเวลาและสถานที่

        วันที่ 7-8 กันยายน 2550 ณ โรงแรมอิมพิเรียลเชียงใหม่รีสอร์ท สปาแอนด์สปอร์ตคลับ อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณาจารย์ นักวิชาการเกษตรและข้าราชการประจำศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร  ได้รับทราบความก้าวหน้า และทิศทางของวิจัยของกลุ่มต่างๆ โดยนักวิจัยรุ่นเยาว์ได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อก้าวไปสู่นักวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ ศวพก. เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรสามารถวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกับนโยบาย
และเป้าหมายหลักของ ศวพก.  ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ศวพก. สามารถรวบรวมผลงานทางด้านงานวิจัยและกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการโดยคณาจารย์และนักวิชาการ ประจำศูนย์วิจัยฯ ได้อย่างสมบูรณ์ และเข้าสู่ระบบการตรวจสอบและการประเมินระบบประกันคุณภาพได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
นักวิจัยรุ่นเยาว์และผู้ช่วยนักวิจัยได้รับทราบแนวปฏิบัติการเป็นบุคคลากรทางวิชาการที่มีคุณภาพของมหาวิทยาลัย



กำหนดการประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2550
ระหว่างวันที่  7-8 กันยายน 2550
ณ โรงแรมอิมพิเรียลเชียงใหม่รีสอร์ท สปาแอนด์สปอร์ตคลับ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

วันที่  7   กันยายน  2550

08.30 – 09.00 น.           ลงทะเบียน 
09.00 – 09.15 น.           กล่าวรายงาน   โดย  รองศาสตราจารย์ ดร. เบญจพรรณ  เอกะสิงห์
                                                               รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร
                                        พิธีเปิด             โดย รองศาสตราจารย์ ดร. บุญเสริม  ชีวะอิสระกุล
                                                                ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร

การนำเสนอผลงานวิจัยด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตร


        ประธาน                 อ.พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ

09.15 – 09.30 น.          การประยุกต์ใช้ระบบท้องทุ่งไทยในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                    พันธุ์ทิพย์ นนทรีย์, รัชภูมิ ใจกล้า และอรรถชัย จินตะเวช
09.30 – 09.45 น.           การทำนายผลผลิตข้าวโดยวิธีชัพพอร์ทเวกเตอร์แมชีน
                                        รัชภูมิ ใจกล้า, พันธุ์ทิพย์ นนทรีย์ และอรรถชัย จินตะเวช
09.45 – 10.00 น.           การจัดการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
                              
           ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา
10.00 – 10.15 น.           การใช้วิธีสวมบทบาทและแบบจำลองเพื่อการร่วมเรียนรู้และจัดการทรัพยากรบนที่สูง
                                        พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์
10.15– 10.30 น.           อภิปราย - ซักถาม 10.30 - 10.45 น.            รับประทานอาหารว่าง

       
ประธาน                 รศ. ดร. อรรถชัย จินตะเวช

10.45 - 11.00 น.           การประเมินความเสี่ยงเชิงกายภาพเชิงพื้นที่
           ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ และ วรวีรุกรณ์ วีระจิตต์
11.00 - 11.15 น.            โปรแกรมร่วมตัดสินใจ(รตส.) และการใช้ประโยชน์ในการจัดทำดัชนีรวมการเข้าถึงข้อมูลของเว็บไซต์
         เมธี เอกะสิงห์, เฉลิมพล สำราญพงษ์ และ เทวินทร์ แก้วเมืองมูล
11.15 - 11.30 น.          
 การพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์เชิงพื้นที่ : กรณีศึกษาการประเมินคุณภาพดิน
                                       
เฉลิมพล สำราญพงษ์,  ประภัสสร พันธ์สมพงษ์ และ เมธี เอกะสิงห์
11.30 - 11.45 น.           การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เป็นลำดับชั้น (AHP) ในการตัดสินใจเลือกปลูกผัก
                                        ปลอดสารพิษของเกษตรกร
                                         เมธี เอกะสิงห์, เบญจพรรณ เอกะสิงห์, กมล งามสมสุข และ กุศล ทองงาม
11.45 - 12.15 น.            อภิปราย - ซักถาม : DSS
12.15 - 13.30 น.          รับประทานอาหารกลางวัน


       
ประธาน                    ผศ. ดร. ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์

13.30 – 13.45 น.          ระบบวิเคราะห์ทางเลือกสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามฐานทรัพยากรในลุ่มน้ำ
          ถาวร อ่อนประไพ, เมธี เอกะสิงห์, เบญจพรรณ เอกะสิงห์, ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์, เฉลิมพล
                                        สำราญพงษ์ และ มาลีรัตน์ นิ่มนวล

การนำเสนอผลงานวิจัยด้านเกษตรยั่งยืน

        ประธาน                    ผศ. ดร. ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์

13.45 - 14.00 น.            ความเสี่ยงและวิธีการจัดการความเสี่ยงในมุมมองของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจังหวัดพะเยา
                                         เบญจพรรณ เอกะสิงห์, กมล งามสมสุข, กุศล ทองงาม, ศุภกิจ สินไชยกุล , วราภรณ์ งามสมสุข และธัญญรัตน์ พรมภิชัย
14.00 - 14.15 น.            การจัดการความเสี่ยงเชิงชีวภาพในระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร จ.พะเยา
                                        จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี, ธวัชชัย รัตน์ชเลศ, พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์
14.15 - 14.30 น.            การจัดการความเสี่ยงเชิงชีวภาพในระบบการผลิตลิ้นจี่ของเกษตรกร จ.พะเยา
                                        รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์, ธวัชชัย รัตน์ชเลศ, พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี
14.30 - 14.45 น.            การพัฒนาระบบตลาดสินค้าอาหารปลอดภัย: กรณีเครือข่ายสินค้าเกษตรปลอดพิษ
                                        กุศล ทองงาม, ประทานทิพย์ กระมล, จตุรงค์ พวงมณี, ชินกฤษ สุวรรณคีรี, กุหลาบ อุตสุข และ คชาภรณ์ วงศ์พรหมศิลป์
14.45 - 15.00 น.            การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเข้าถึงทรัพยากรน้ำ กลยุทธ์การดำรงชีพและความยากจน กรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่ศึก
                                        อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
                                        จิรวรรณ กิจชัยเจริญ, เบญจพรรณ เอกะสิงห์ และ วราภรณ์ ชัยวินิจ
15.00 - 15.15 น.            อภิปราย - ซักถาม
15.15 - 15.30 น.            รับประทานอาหารว่าง

      ประธาน                   อ.ดร. กมล งามสมสุข

15.30 - 15.45 น.            การตอบสนองต่อการขาดโบรอนในข้าวโพด
                                        สิทธิชัย ลอดแก้ว
15.45 - 16.00 น.            รายงานความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศรับประทานสด
                                        จตุรงค์ พวงมณี และกุหลาบ อุตสุข
16.00 - 16.15 น.            การคัดสายพันธุ์ส้มโอที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่
                                        ชินกฤต สุวรรณคีรี,จตุรงค์ พวงมณี และกุหลาบ อุตสุข
16.15 - 16.30 น.            เปรียบเทียบวิธีการผลิตยอดมะระหวานปลอดสารพิษนอกฤดู
                                        จตุรงค์ พวงมณี, กุหลาบ อุตสุข, พิมพรรณ นันต๊ะภูมิ และ กรรณิการ์ มณีหาญ
16.30 - 16.45 น.            ประสิทธิภาพของน้ำสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองสายพันธุ์ดี
                                        ชินกฤต สุวรรณคีร,จตุรงค์ พวงมณี และกาญจนาภรณ์ ลอดแก้ว
16.45 - 17.00 น.            การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของสีที่ใช้เป็นกับดักแมลงในการผลิดผักปลอดสารพิษ
                                        จตุรงค์ พวงมณี, ระพีพงศ์ เกษตรสุนทร, กุหลาบ อุตสุข, พิมพรรณ นันต๊ะภูมิ และ กรรณิการ์ มณีหาญ
17.00 - 17.30 น.            อภิปราย - ซักถาม : เกษตรยั่งยืน                                        
17.30 - 18.00 น.            อภิปราย - ซักถามทั่วไป                                        
18.00 - 19.00 น.           รับประทานอาหารว่าง                                    

                                       
วันที่  8   กันยายน  2550      

การนำเสนอผลงานวิจัยด้านเกษตรยั่งยืน  (ต่อ)

        ประธาน                   ผศ. ดร. ถาวร อ่อนประไพ

09.00 - 09.15 น.            พลวัตทางเศรษฐกิจ สังคม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนภาคเหนือ (พ.ศ. 2500 - ปัจจุบัน)
                                        เบญจพรรณ เอกะสิงห์ และโสรักษ์ ดิษฐประยูร
09.15 - 09.30 น.            กลไกทางสังคมต่อการพัฒนาและขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชาวนารายย่อย 
                                        บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
09.30 - 09.45 น.            รูปแบบการจัดการความหลากหลายชีวภาพที่สนับสนุนวิถีชีวิตที่ยั่งยืนของชุมชน 
                                       บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล, พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ ช่อผกา ม่วงสุข
09.45 - 10.00 น.            ความหลากหลายทางชีวภาพในน้ำสกัดชีวภาพที่ใช้ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
                                        ชินกฤต สุวรรณคีรี, จตุรงค์ พวงมณี และ กาญจนาภรณ์ ลอดแก้ว
10.00 - 10.15 น.            Conversation of Endemic and Endangered Freshwater Fishes of Western Ghats
             Biodiversity Hotspot, Kerala, India-Concept of Protected Areas and Ecotourism
                                        Lavanchawee Sujarittanonta, R. Raghavan, G. Prasad, B. Pereira and Anvar Ali
10.15 - 10.30 น.            The Comparative Analysis of Technical Efficiency of Jasmine Rice Production in Thailand
                                        Using Survey and Measurement Data
                                        Yaovarate Chaovanapoonphol, Aree Wiboonpongse and Songsak Sriboonchitta
10.30 - 10.45 น.            อภิปราย - ซักถาม 
10.45 - 11.00 น.           รับประทานอาหารว่าง
                                    

การนำเสนอผลงานวิจัยด้านธุรกิจเกษตร

        ประธาน                   ดร. บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล

11.00 - 11.15 น.            การวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่า: กรณีศึกษา ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
                                        (Value Chain analysis: A Case Study of Rice Maize Cassava and Sugar Cane in the Northeast of Thailand)
                                        พรสิริ สืบพงษ์สังข์, เบญจพรรณ เอกะสิงห์, ชพิกา สังขพิทักษ์, จิรวรรณ กิจชัยเจริญ, มาลีรัตน์ นิ่มนวล, สุรัสวดี พูลทาจักร,
                                        กมลรัตน์ ช้างทอง และ สุดารัตน์ นันทะน้อย

11.15 - 11.30 น.            กลุ่มยุทธศาสตร์มะม่วง: การวิเคราะห์กลุ่มเกษตรกรเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนามะม่วงส่งออก

                                        ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ
11.30 - 11.45 น.            การวิเคราะห์การประเมินตนเองของกลุ่ม/สหกรณ์ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
                                        พิมพิมล แก้วมณี, กฤษฎา แก่นมณี, พีรพงษ์ ปราบริปู, อารี วิบูลย์พงศ์ และ ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์
11.45 - 12.00 น.            การใช้ Role-Play เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความสามารถของกลุ่มวิสาหกิจ/สหกรณ์การเกษตร
                                        พีรพงษ์ ปราบริปู, วรรณศิริ ชุติมา, รัตนา แก้วเสน, พนิตนาถ ทันใจ, อารี วิบูลย์พงศ์ และ ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์
12.00 - 12.15 น.            อภิปราย - ซักถาม
                                    
12.15 - 13.30 น.            รับประทานอาหารกลางวัน

                                       
     ประธาน                    อ. กุศล ทองงาม

13.30 - 13.45 น.            "เวทีการตลาด: เพื่อยกระดับการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร"
                                     สุพรรณิการ์ สิทธิไตรย์ ,กฤษฎา แก่นมณี, ฐานิตา ถุงแก้ว, ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ และ อารี วิบูลย์พงศ์
13.45 - 14.00 น.            An Alternative Deal for Potato Growers in the Contract Farming System
                                       
Aree Wiboonpongse Songsak Sriboonchitta and Puttawan Khuntonthong
14.00 - 14.15 น.           พฤติกรรมการบริโภค และทัศนคติของผู้บริโภคต่อคุณภาพข้าวหอมมะลิ จังหวัดพะเยา
                                        อารี วิบูลย์พงศ,์ เยาวเรศ เชาวนพูนผล, ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์ และ ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์

14.15 - 14.30 น.            พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคส้มอินทรีย์
                                        รัตนา แก้วเสน, พิมพิมล แก้วมณี, รัชนก วิริยะอารีธรรม, อารี วิบูลย์พงศ์ และทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์
14.30 - 15.00 น.            อภิปราย - ซักถาม : ธุรกิจเกษตร                                       
15.00 - 15.15 น.            รับประทานอาหารว่าง
  
                                   

การนำเสนอผลงานด้านบริการวิชาการและการบริหาร

        ประธาน                   อ.ดร. เมธี เอกะสิงห

15.15 - 15.30 น.            การพัฒนาแนวทางบริการวิชาการเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการศึกษาด้านความหลากหลายและเกษตรยั่งยืน ปี 2549
                                        บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล, พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ ช่อผกา ม่วงสุข
15.30 - 15.45 น.            การบริการวิชาการสถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทาน
(การจัดทำแปลงสาธิตในสถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทาน การสนับสนุนงานวิจัย การปรับปรุงภูมิทัศน์) ปี 2549                                       
                                        จตุรงค์ พวงมณี, ชินกฤต สุวรรณคีรี, กุหลาบ อุตสุข, พิมพรรณ นันต๊ะภูมิ และ กุศล ทองงาม
15.45 - 16.00 น.           การพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร ปี 2549
                                        นรารัตน์ วงษ์ไชยมูล และ ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์
16.00 - 16.15 น.            การจัดการ องค์ความรู้ (Knowledge Management ) สู่การพัฒนา ศวพก. ปี 2549
                                        ฉัตรนภา พรหมานนท์, ปรารถนา ใจมานิตย์, มาลินี รัตน์ชเลศ, ภารดี ลิ้มวิทยากร, สมจิต ธารารักษ์, วนิดา ดวงสร้อย, ภาวิดา จำปา,
กัญนิตย์ ศศิพงศ์พนา นรารัตน์ วงษ์ไชยมูล ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ และ เบญจพรรณ เอกะสิงห์

16.15 - 16.30 น.           เรื่องเล่าจากประสบการณ์การบริหาร: มุมมองของผู้บริหารยุคการเปลี่ยนแปลง
                                        นคร ณ ลำปาง

16.30 - 17.30 น.            อภิปราย - ซักถาม                                       
17.30 - 17.35 น.            สรุปการนำเสนอผลงานและกล่าวปิดการประชุม โดย รศ.ดร. เบญจพรรณ เอกะสิงห์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร

17.35 - 18.00 น.            พักผ่อนตามอัธยาศัย                                       
18.00 - 20.00 น.            งานเลี้ยงรับรอง                                       
 



วิสัยทัศน์ ศวพก. | งานวิจัย ศวพก. | หลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบ | สารสนเทศภายใน ศวพก. |


ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร(ศวพก.), คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000 Homepage: http://www.mcc.cmu.ac.th .