โครงสร้างหลักสูตร| วิทยานิพนธ์|
 
หน้าแรก
 ระบบเกษตรยั่งยืน
 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตร
 ระบบธุรกิจเกษตร
 หน่วยสนับสนุนงานวิจัย
 ผลงานวิจัย
 หลักสูตรปริญญาโท
 บุคลากร
 นักศึกษา
 สารสนเทศภายใน ศวพก.
 งานบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

วิทยานิพนธ์
 
       

   หลักสูตรฯสนับสนุนให้นักศึกษาพัฒนากระบวนการวินิจฉัยปัญหา เลือกประเด็นปัญหาที่สนใจ และพัฒนาโครงการวิจัยที่ใช้แนวทางเชิงระบบในการทำวิทยานิพนธ์ โดยมีอาจารย์ทีปรึกษาและอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานพร้อมมูล ขอบเขตของงานวิทยานิพนธ์อาจจำกัดอยู่ที่ระดับแปลงและฟาร์ม หรือครอบคลุมถึงชุมชน ลุ่มน้ำ หรือภูมิภาค ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักศึกษาและธรรมชาติของประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศที่นักศึกษาต้องการดำเนินการวิจัย

 
 
 

ด้านระบบเกษตรยั่งยืน
• การพัฒนาและประเมินทางเลือกสำหรับระบบการเกษตรแบบแผ้วถางและเผาบนที่สูง
• การพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืนโดยมีไม้ผลเป็นพืชหลักบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน
• การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในการผลิตพืชผักโดยไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช ในพื้นที่เกษตรชานเมือง
• การวิเคราะห์ปัจจัยที่นำไปสู่ “ความสำเร็จ” ของระบบเกษตรยั่งยืน
• การพัฒนาและประเมินตัวชี้วัดเกษตรยั่งยืนที่ระดับต่าง ๆ ของระบบ
• การพัฒนาวิธีการจัดการธาตุอาหารแบบผสมผสานโดยเน้นปุ๋ยพืชสดและพืชคลุมดินเพื่อรักษาผลิตภาพของระบบพืช
• การใช้แนวทางเชิงระบบเพื่อศึกษารูปแบบเกษตรผสมผสานที่เหมาะสม
• การประเมินทางเลือกและเทคโนโลยีการเกษตรของเกษตรกรรายย่อยในสภาพเขตแล้งซ้ำซาก
• บทบาทสตรีและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อการพัฒนาเกษตรเพื่อความมั่นคงทางอาหารและรายได้
• สิทธิและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน
                                               ฯลฯ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
• การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อจัดการทรัพยากรทางเกษตรและการบริการ
• การใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการเกษตรและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
• การใช้ข้อมูลระยะไกลเพื่อจำแนกระบบการผลิตและระบบนิเวศเกษตร
• การประเมินคุณภาพที่ดินแบบอัตโนมัติเพื่อสนับสนุนการจัดเขตพืชเศรษฐกิจ
• การพัฒนาและทดสอบแบบจำลองเพื่อปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพของพืชเศรษฐกิจ
• การใช้แบบจำลองพืชเพื่อพยากรณ์ผลผลิตพืชเศรษฐกิจ
• พัฒนาระบบการจำลองระบบฟาร์มแบบผสมผสาน
• การใช้วิธีการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ในทางการเกษตรและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
                                                ฯลฯ
ระบบธุรกิจเกษตรและการจัดการ
• การปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปพื้นบ้าน
• ธุรกิจอาหารแปรรูปพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบเกษตร
• ประสิทธิภาพการจัดการของธุรกิจชุมชน และองค์กรการเกษตร
• ระบบขนส่งและคลังสินค้าทางการเกษตร
• ศักยภาพการผลิตมะม่วงนอกฤดูของเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทย
• ประสิทธิผลของการร่วมกลุ่มของเกษตรกรลำไยและการผลิตแบบมีตลาดนำ
• กลยุทธ์การพัฒนาการเกษตรในระบบข้อตกลง
• การผลิตและการตลาดแบบเปิดและแบบมีสัญญาข้อตกลง
• ธุรกิจการผลิตเกษตรกรรมทางเลือก
• โอกาสและทางเลือกทางการตลาด
                                                  ฯลฯ

ค้นหาบทคัดย่อวิทยานิพนธ์
Download AGS Reference format
Download Thesis Format



ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร(ศวพก.), คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000 Homepage: http://mccweb.agri.cmu.ac.th
.