แนะนำ ศวทก
วิสัยทัศน์
ระบบเกษตรยั่งยืน
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบธุรกิจเกษตร
หน่วยสนับสนุนงานวิจัย
ผลงานวิจัย
งานบริการวิชาการ
เกษตรศาสตร์เชิงระบบ
สารสนเทศภายใน
ระบบบริการศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร
สถานีวิจัยระบบทรัพยากรเกษตร
สัมมนาวิชาการ ศวทก.
   

เว็บไซต์เชื่อมโยง :
เครือข่ายระบบเกษตร
เครือข่ายเกษตรยั่งยืน
เครือข่ายธุรกิจเกษตร
รวมเว็บสัมนาวิชาการ
   


update

ประชุมสัมมนาวิชาการ

ASIMMOD2007
 

การบริหารจัดการ


     
   

          พันธกิจที่ได้กำหนดมาข้างต้นจะดำเนินการประสบความสำเร็จได้จะต้องมีบุคลากรที่เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ มีงบประมาณ มีอาคารสถานที่ มีวัสดุอุปกรณ์และสิ่งเกื้อหนุนต่าง ๆ นอกจากนี้แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นและสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรจำเป็นต้องได้รับการดูแลควบคู่กันไป เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร

13. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้าง ระบบงาน และความเป็นผู้นำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร

  • ทบทวนชื่อ ปรับโครงสร้างองค์กรให้ตอบสนองต่อภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ท จัดให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษา (Advisory Board) งานวิจัย
  • ปรับปรุงระบบงานให้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
  • สร้างกลไกเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทีมงานที่เข้มแข็ง
  • ลดบทบาทของการควบคุม สั่งการ ไปสู่บทบาทของความเป็นผู้นำหรือเป็นผู้ฝึกสอนงาน
  • สร้างระบบการสื่อสารที่ให้ทุกคนได้เข้าใจในเหตุผลการตัดสินใจของบุคลากรในองค์กร
  • กำหนดภารกิจหลักของนักวิชาการประจำศูนย์วิจัยให้ชัดเจน และสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานได้

14. สร้างความผูกพันและจูงใจให้คณาจารย์ นักวิชาการและผู้สนับสนุนงานวิชาการเพื่อร่วมมือกันพัฒนาให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ

  • จัดหางบประมาณเพื่อให้โอกาสนักวิจัยนำเสนอผลงานและร่วมประชุมทางวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ
  • สร้างกลไกที่จะชักจูงให้อาจารย์ในคณะเกษตรศาสตร์และคณะอื่น ๆ เข้าร่วมโครงการวิจัย
  • ผลักดันให้คณะเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สร้างกลไกในการคิดภาระงานเพื่อจูงใจให้คณาจารย์และนักวิชาการเข้าร่วมงานในศูนย์วิจัยมากขึ้น
  • ประสานงานเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรในองค์กร

15. สร้างและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

  • จัดให้มีแผนทดแทนกำลังคน โดยเฉพาะแผนทดแทนกำลังคนทางวิชาการ
  • ส่งเสริมและจัดหาทุนให้แก่นักวิชาการและอาจารย์ที่เข้ามาร่วมทำงานได้เพิ่มพูนความรู้โดยการศึกษา ดูงาน และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

16. สร้างความเท่าเทียมและสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน

  • แบ่งงานและมอบหมายงานให้นักวิจัย นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบปีเป็นระยะ ๆ
  • กำหนดสัดส่วนภาระงานที่เหมาะสมแก่นักวิจัยและนักวิชาการที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการ เอกชนและมูลนิธิ
  • ให้รางวัลแก่ผู้ที่มีผลงานดีเด่น นอกเหนือจากการพิจารณาให้ความดีความชอบประจำปี

17. สร้างกลไกในการบริหารงบประมาณและการจัดหารายได้เพื่อความมีประสิทธิภาพ และการพึ่งตนเองได

  • วางหลักเกณฑ์การบริหารเงินทุนวิจัย ท จัดทำแผนหารายได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • ใช้ประโยชน์ขององค์ความรู้และทรัพยากรเพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กร

18. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบัน องค์กรความช่วยเหลือ และภาคเอกชนให้เข้มแข็ง

  • สร้างเครือข่ายในการร่วมมือกับรัฐบาลและเอกชนที่ใช้ผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยทั้งในและต่างประเทศ
  • ขยายความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่องานบริการทางเกษตรและธุรกิจเกษตร
  • ติดต่อแหล่งทุนทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้การสนับสนุนการวิจัย การศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • จัดให้มีการประชุมวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

19. ปรับปรุงระบบการประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูลข่าวสารทางวิชาการ

  • สร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน กลุ่มวิชาการ กลุ่มธุรกิจ กลุ่มนักพัฒนาและกลุ่มวิชาชีพ อื่น ๆ โดยเน้นบทบาทของศูนย์วิจัยในการพัฒนาภาคเหนือ
  • ประชาสัมพันธ์ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่เป็นเอกลักษณ์ของแนวคิดเชิงระบบออกสู่สาธารณชนและนักศึกษาเก่าในหลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบ โดยผ่านสื่อรูปแบบต่าง ๆ

20. พัฒนาตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานในเชิงความพอใจของผู้ใช้บริการ ประสิทธิภาพ คุณภาพและปริมาณ

  • ให้ทุกพันธกิจขององค์กรมีเครื่องมือชี้วัดผลการปฏิบัติงาน




วิสัยทัศน์
วัตถุประสงค์
แนวทางปฏิบัติ

  ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000   http://www.mcc.cmu.ac.th .
 ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ.2550