1 วิทย์ อนุศาสนะนันทน์ รหัส 4428134
หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมามีการพัฒนาการเกษตรโดยเน้นการเพิ่มผลผลิตให้ได้สูงสุด มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องจักรกลและ สารเคมีต่างๆ
แม้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะให้ผลผลิตสูง ลดอัตราการเสี่ยงในหลายๆเรื่อง แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่นปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมี ยากำจัดแมลงศัตรูพืชในแหล่งน้ำ ดิน อากาศ การพังทลายและการสูญเสียหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินรวมถึงจุลินทรีย์ในดิน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาด้านแรงงาน เกิดการว่างงาน การลดลงของจำนวนครอบครัวที่ประกอบอาชีพการเกษตร โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนไป
ตัวอย่างล่าสุดของการถางป่าทำไร่เลื่อนลอยจนมีผลต่อสภาพแวดล้อมคือรายงานทางวิทยาศาสตร์จากวิทยุ BBC ออกอากาศในวันนี้ (8พฤศจิกายน 2545)ว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการเก็บข้อมูลการเกิดไฟป่าครั้งใหญ่บนเกาะกะริมันตันของอินโดนิเซียเมื่อปี2540 กินเนื้อที่ประมาณหนึ่งในสิบของพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร นอกจากนื้ความร้อนที่เกิดขึ้นยังทำให้ถ่านหินร่วน(เกิดจากการทับถมของซากไม้ในแหล่งน้ำเป็นเวลานานๆจนกลายเป็นถ่านหินร่วน) ติดไฟลึกลงไปถึง 2 ฟุตและไหม้ติดไฟกินเวลานานกว่า 1 เดือน ทำให้เกิดความร้อน และควันไฟ รวมถึงก๊าซคาร์บอน เป็นปริมาณถึง 40% ของปริมาณที่เกิดก๊าซคาร์บอนจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในโลก ก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นจะไปห่อหุ้มบรรยากาศโลก รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านชั้นคาร์บอนเข้ามาได้แต่เมื่อตกกระทบพื้นผิวโลกจะสะท้อนกลับกลายเป็นเป็นรังสีคลื่นยาวไม่สามารถออกจากชั้นคาร์บอนได้ทำให้บรรยากาศโลกร้อนขึ้นเรียกสภาวการณ์นี้ว่าสภาวการณ์เรือนกระจกก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง
ในการลดปัญหาที่เกิดขึ้น แนวทางการเกษตรแบบยั่งยืนได้ถูกนำมาใช้โดยเฉพาะประเทศที่มีการเกษตรแบบอุตสาหกรรมที่เน้นการให้ผลผลิตสูงสุดจนเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง
เป็นการยากที่จะให้คำจำกัดความของคำว่าการเกษตรแบบยั่งยืน(Sustainable Agriculture)แต่สามารถดูได้จากลักษณะการทำการเกษตรแบบยั่งยืนโดยมีลักษณะที่สำคัญคือ

1.เป็นการเกษตรที่มีการรบกวนต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์น้อยที่สุดเช่นไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำจากสารเคมีทางการเกษตร

2.เป็นการเกษตรที่เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน ป้องกันการสูญเสียหน้าดินจากการพังทลายของดิน ป้องกันการเกิดสภาพดินเค็ม

3.มีการใช้การจัดการต่อแมลงศัตรูพืชอย่างระมัดระวังโดยนำการควบคุมโดยชีววิธี(Biological Control)ทดแทนการใช้สารเคมี ยากำจัดศัตรูพืชตลอดจนปุ๋ยเคมี เช่นการใช้จุลินทรีย์พวก Mycorrhiza,Rhizobia และFree living Nitrogen fixing Bacteria

4.การใช้ระบบปลูกพืชหมุนเวียน ลดการไถพรวน ปลูกพืชให้เหมาะสมตามสภาพดินและภูมิอากาศ

5.การใช้วัสดุคลุมดินเช่นฟางข้าวเพื่อลดการสูญเสียความชื้นจากดิน การปลูกไม้ใหญ่เป็นการลดความเร็วของลมป้องกันการเกิดมลภาวะในอากาศ

การเกษตรแบบยั่งยืนไม่ได้เน้นความต้องการของผู้ทำเป็นหลักแต่เน้นการรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมทั้งต่อชุมชน สุขภาพของผู้บริโภค ความปลอดภัยทั้งในปัจจุบันและอนาคตทั้งนี้ต้องทำให้ครอบครัวเกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้
การทำการเกษตรแบบยั่งยืนมีหลายรูปแบบเช่นการทำการเกษตรผสมผสาน(Mixed Farming)โดยมีการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ในพระราชดำริฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มูลสัตว์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และยังเป็นการเปลี่ยนวัตถุดิบราคาถูกคือพืชไปเป็นผลผลิตราคาแพงคือเนื้อสัตว์
Organic farmกับ Sustainable Agriculture
การเกษตรอินทรีย์(Organic Farming) เป็นการเกษตรที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยสังเคราะห์(Synthetic Fertilizer) ยาฆ่าแมลงและสารเคมีกำจัดวัชพืช การใช้ยารักษาสัตว์เฉพาะที่เป็นโรคที่เกิดขึ้นและจำเป็นเท่านั้น แต่จะเน้นด้านการรักษาสุขภาพสัตว์ อาหารสัตว์ การป้องกันโรคสัตว์เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ให้ผลผลิตสูง
การเกษตรแบบยั่งยืน(Sustainable Agriculture) เป็นการเกษตรที่เน้นความรู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ปกปักรักษาทรัพยากรเพื่อให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืนมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ดังนั้นการเกษตรอินทรีย์ซึ่งหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทำให้ไม่มีผลต่อสภาพแวดล้อมและต่อผู้บริโภค จึงสามารถจัดอยู่ในการเกษตรแบบยั่งยืนได้
การเกษตรที่ใช้ทั้งแบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรยั่งยืนจะระมัดระวังไม่ให้สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการใช้ระบบปลูกพืชหมุนเวียน มีการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับพืชในสัดส่วนที่เหมาะสมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ลดการใช้เครื่องจักรกล ลดการใช้น้ำมันซึ่งจัดเป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้(Non Renewable Resource) นอกจากนี้มูลสัตว์ยังช่วยสร้างจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายดิน(Decayed Organic Material) หลีกเลี่ยงการไถพรวนที่ทำให้โครงสร้างของดินเสียจน เกิดการพังทลายของดิน
ระบบการตลาดที่คนภายในชุมชนซื้อผลผลิตจากฟาร์มของชุมชนโดยระบบสหกรณ์ นอกจากจะได้ของสด ปลอดสารพิษแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือทำให้ฟาร์มขนาดเล็กสามารถเลี้ยงตัวเองอยู่ได้
การเกษตรอินทรีย์และ การเกษตรแบบยั่งยืนจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยไม่รบกวนต่อสิ่งแวดล้อม

 

2 จักรกฤษณ์ ขันทอง
เกษตรที่ยั่งยืนนั้น มีความหมายว่า แนวทางการใช้วิชาการเกษตรเพื่อสามารถที่จะจัดการตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยาการธรรมชาติ และการพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนการปรับปรุงนโยบายของรัฐหรือสถาบันในลักษณะที่จะให้เกิดการคงไว้ และสามารถนำไปใช้ต่อไปได้เรื่อยๆ ตามความต้องการของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่นการเกษตรยั่งยืน ป่าไม้ยั่งยืน หรือประมงยั่งยืนนั้นล้วนแต่จะต้องอาศัยการอนุรักษ์ดินและที่ดิน ทรัพยากรด้านพันธุกรรมของพืชและสัตว์ เทคโนโลยีที่จะใช้ในการนี้ จะต้องเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ก่อให้เกิดผลด้านเศรษฐกิจ และการยอมรับในสังคมนั้นๆ

หากพิจารณาถึงความหมายของเกษตรยั่งยืนนั้น จะเห็นได้ว่ามีเงื่อนไขต่างๆ หลายต่อหลายประการ ประการแรกคือ การที่จะต้องใช้วิชาการเกษตรซึ่งพัฒนาขึ้นจากงานวิจัย ดังนั้นในการค้นคว้าหาแนวทางเพื่อให้ได้มาซึ่งเกษตรยั่งยืนจึงจำเป็นจะต้องทำงานวิจัย อีกประการหนึ่งก็คือ เกษตรยั่งยืนไม่ได้หมายความถึงการปฏิเสธเทคโนโลยีต่างๆไม่ได้ปฏิเสธสารเคมี ปุ๋ยเคมี หรือพันธุ์ใหม่ๆ ก็หาได้ไม่ เพียงแต่การให้ได้มาซึ่งเกษตรยั่งยืนนั้น จะต้องใคร่ครวญว่าเทคโนโลยีเหล่านั้น หากนำมาใช้ในอัตราและปริมาณที่มากเกินไป หรือนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ๆ ไม่เหมาะสมแล้วจะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมให้แก่ทรัพยากรหรือสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรหรือไม่ ประเด็นต่อมาที่จะต้องนำมาใคร่ครวญได้แก่ ความเหมาะสมของสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรว่า จะสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้หรือไม่ และเมื่อใช้แล้วจะสามารถผลิตสินค้าเกษตรออกมาเพื่อเพิ่มรายได้ให้เขาเหล่านั้นได้หรือไม่ และในประเด็นสุดท้ายได้แก่การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร จะสามารถกระทำในลักษณะใดที่เกษตรกรจะสามารถเข้าใจถึงเทคโนโลยีการเกษตรว่ามีความเหมาะสมและจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในการที่จะนำไปปรับใช้ได้ต่อไป

เกษตรอินทรีย์ (ORGANIC FARMING) ในความหมายของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ในขณะเดียวกันก็ พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติใน การเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทางต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้ เป็น หลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศและ วัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย

การที่เกษตรอินทรีย์นั้นจะเป็นเกษตรที่ยั่งยืนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะปัจจัยของสภาพแวดล้อม และการจัดการของตัวเกษตรกรเองว่าจะสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเพียงไร การที่สภาพแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์มากย่อมทำให้มีความได้เปรียบในด้านการจัดการ การดูแลรักษาพืช แต่หากตัวเกษตรกรนั้นจัดการได้ไม่ดีแล้วย่อมส่งผลถึงการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้อย่างไม่เป็นประโยชน์ สภาพแวดล้อมเสียสมดุล ทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมาคือความไม่ยั่งยืนในการทำการเกษตรอินทรีย์ หากว่ามีการจัดการที่ ดีสภาพแวดล้อมมีความสมดุลเกษตรอินทรีย์นั้นย่อมมีความยั่งยืน

 

3 ณัฐชยา ปิงอินถา
การเกษตรแบบยั่งยืน (sustainable agriculture) หมายถึง ระบบการบริหาร เพื่อทำการผลิตทางการเกษตรที่ตอบสนองต่อความจำเป็นและต้องการของมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็ธำรงรักษาและฟื้นฟูคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือแนวทางการเกษตรใหม่ที่ใช้ความรู้ทางนิเวศวิทยาเพื่อการเกษตร โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจ เกื้อหนุนให้เกิดความยุติธรรมทางสังคม รวมทั้งเพิ่มพูนคุณธรรมและคุณค่าของมนุษย์ การเกษตรแบบยั่งยืนนั้นได้แก่การสร้างความยั่งยืนในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
" สร้างความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ
การเกษตรยั่งยืนเป็นระบบที่ส่งเสริมให้ทำการผลิตส่วนหนึ่งเพื่อการยังชีพในครอบครัว เป็นการเพิ่มรายได้ด้วยการลดรายจ่ายในด้านค่าอาหาร และอื่นๆที่อาจได้จากการทำการเกษตรซึ่งเน้นระบบการทำเกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming) อันจะช่วยลดความผันผวนของผลผลิตและรายได้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรในการพึ่งตนเอง

" สร้างความยั่งยืนด้านสังคม
ทุกวันนี้เกษตรกรไทยจำนวนมากต้องเดินทางไปขายแรงงานตามเมืองใหญ่ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย การทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนช่วยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องอพยพไปทำงานในพื้นที่อื่น ได้อยู่กับครอบครัวและชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น สร้างความยั่งยืนให้กับสังคมที่ตนอาศัยอยู่ อีกทั้งไม่ก่อเกิดปัญหาขึ้นในสังคมเมืองด้วย

" สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากการเกษตรยั่งยืน เน้นการสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งช่วยสร้างความสมดุลของระบบนิเวศ ประกอบกับแนวทางที่พยายามลดการใช้สารเคมี หรือไม่ใช้สารเคมีเลย นับเป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ลดการเกิดมลภาวะ
หลักการสำคัญพื้นฐานของเกษตรยั่งยืน
1. ระบบเกษตรยั่งยืนดำเนินงานโดยใช้ทรัพยากรภายในไร่นาอย่างมีประสิทธิภาพ มีรูปแบบการผลิตและการจัดการหมุนเวียนทรัพยากรได้อย่างสมดุล โดยหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรจากภายนอก
2. ให้ความสำคัญอย่างสูงต่อดิน เพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนของการทำเกษตร การฟื้นฟูและอนุรักษ์ดินนั้นหมายถึง การป้องกันมิให้มีการใช้ประโยชน์จากดินจนเกินความสามารถตามธรรมชาติของผืนดิน ตลอดจนการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3. ปกป้องมลภาวะที่เกิดเนื่องจากวิธีการทำการเกษตร เกษตรยั่งยืนงดการใช้ปุ๋ยเคมี ยาควบคุมวัชพืชและแมลง ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต ตลอดจนวัคซีนและสารเคมีอื่นๆโดยสิ้นเชิง โดยหันมาใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ต้านทาน การใช้สมุนไพรควบคุมแมลง การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี เป็นต้น
4. เกษตรยั่งยืนมุ่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการ มีธาตุอาหารครบถ้วนตามธรรมชาติของผลผลิต
5. ลดการใช้น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์ทุกรูปแบบ ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์ที่ใช้อยู่ในวงการเกษตรในปัจจุบันก็คือปุ๋ยและยาฆ่าแมลงนั่นเอง การลดการใช้ปุ๋ยและยานั้นเป็นวิธีปฏิบัติพื้นฐานของฟาร์มเกษตรยั่งยืนเหมือนกันทั่วโลก แต่การใช้น้ำมันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรนั้นยังมีระดับที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่โดยทั่วๆไปแล้วฟาร์มเกษตรยั่งยืนจะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยหันมาใช้แหล่งพลังงานที่สามารถใช้หมุนเวียนแทน
6. มีวิธีการปฏิบัติต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตภายในฟาร์มโดยยึดหลักมนุษยธรรม การเลี้ยงสัตว์ตามแนวทางเกษตรยั่งยืน ต้องจัดพื้นที่การเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม สัตว์สามารถออกกำลังกาย และได้รับอาหารที่ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
7. เกษตรยั่งยืนมิใช่การเกษตรที่มีเป้าหมายการผลิตเพื่อการตลาดแต่เพียงประการเดียว หากแต่ต้องตอบสนองต่อความต้องการด้านอาหาร สุขภาพและวิถีชีวิตที่ดี รวมทั้งเอื้อให้เกษตรกรตระหนักต่อความสำคัญและประโยชน์ของการใช้แรงงานไปพร้อมๆกันด้วย
8. เอื้อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาระบบนิเวศของชนบทและชุมชน

รูปแบบต่างๆของเกษตรยั่งยืน
รูปแบบของการทำเกษตรยั่งยืนมีหลายระบบ แตกต่างกันออกไป อาทิเช่น เกษตรผสมผสาน ( Integrated Farming), เกษตรธรรมชาติ (Natural Farming), เกษตรชีวพลวัตร (Biodynamic Agriculture), เกษตรกรรมนิเวศวิทยา (Ecological Agriculture), เกษตรกรรมชีวภาพ (Biological Agriculture) ,วนเกษตร (Agroforestry) และรวมถึงเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture )

เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) เป็นระบบผลิตทางการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ และฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง เกษตรอินทรีย์อาศัยการปลูกพืชหมุนเวียนจากเศษพืช มูลสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ปุ๋ยพืชสด เศษซากพืชซากเหลือทิ้งต่างๆ การใช้ธาตุอาหารจากการผุพังของหินแร่ รวมไปถึงการใช้หลักการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน สำหรับเป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช รวมทั้งการควบคุมศัตรูพืชต่างๆเช่น แมลง โรคพืช และวัชพืช หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย
บทบาทของระบบการทำเกษตรอินทรีย์ต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ
สิ่งแวดล้อม

1. ด้านสิ่งแวดล้อม
1.1 ฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับคืนสู่สภาพสมดุล เพราะพฤติกรรมและรูปแบบทางการผลิตจะลดหรืองดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
1.2 สร้างความหลากหลายทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบทางการผลิตเชิงเดี่ยวมาสู่การปลูกพืชมากมายหลายชนิด ผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
1.3 ประหยัดพลังงานและมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งแปรรูปจากน้ำมันปิโตรเลียม และลดการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป

2. ด้านเศรษฐกิจ
เกษตรอินทรีย์มีจุดมุ่งหมายให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งด้านรายได้อาหารและปัจจัยการผลิต และมีอิสระในการเลือกปัจจัยการผลิต การใช้เทคนิคการผลิต การจัดสรรผลผลิตและการกระจายผลผลิต
2.1 รายได้ ในระยะเริ่มต้น เกษตรอินทรีย์อาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านผลผลิตและรายได้ แต่ในระยะยาวความมั่นคงด้านอาหารและรายได้เป็นตัวเงินจะมีอย่างสม่ำเสมอ เพราะเทคนิค วิธีการผลิต และการจัดการทรัพยากรแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ช่วยให้เกษตรกรลดภาระค่าใช้จ่ายอีกด้วยเช่น ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมีต่างๆ ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร เป็นต้น ส่วนรายได้จะมาจากการขายผลผลิตที่เกินความต้องการบริโภคในครอบครัว และเกษตรกรมีอิสระในการกำหนดชนิดสินค้าและราคาที่จะขายไม่ต้องอาศัยพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรรมอินทรีย์อาจให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่ำกว่าในบางพื้นที่ ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากมีการปลูกพืชตระกูลถั่วไว้คลุมดินไว้ แต่ถ้าหากคิดต้นทุนและความเสียหายที่เกิดจากการชะล้าง และการเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ของดิน มลพิษที่เกิดจากสารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรกรรมอินทรีย์ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ยิ่งในบางสถานการณ์เช่นในกรณีเกิดความแห้งแล้งขึ้นเกษตรกรรมอินทรีย์ในผลดีกว่า (เนื่องจากมีวัสดุปกคลุมดิน ทำให้โครงสร้างของดินสามารถต้านทานการขาดน้ำได้ดีกว่า)
2.2 อาหาร เกษตรอินทรีย์ปฏิเสธการผลิตเพื่อขายเพียงอย่างเดียวแต่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนและตลาดท้องถิ่นเป็นสำคัญ รูปแบบการผลิตจึงเป็นการปลูกพืชหลายชนิดที่ให้ผลผลิตหมุนเวียนไปตลอดปีเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัวและชุมชน
2.3 ปัจจัยการผลิต มีการใช้ปัจจัยการผลิตที่จัดหารได้ในครอบครัวและชุมชน ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกชุมชน ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมและการตัดสินใจของเกษตรกร

3. ด้านสังคม
เกษตรอินทรีย์มุ่งสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมถึงสร้างความเท่าเทียมกันและความยุติธรรมทางสังคม
3.1 การบริโภค ผู้บริโภคจะต้องปรับเปลี่ยนแบบแผนการบริโภค ควบคู่กับผู้ผลิตที่ต้องปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิต เช่น การปรับเปลี่ยนค่านิยมการบริโภคเนื้อสัตว์มาเป็นการบริโภคผักและธัญพืช เนื่องจากสัตว์มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์และแปรรูปธาตุอาหารต่ำกว่าพืช ดังนั้น การผลิตอาหารที่มีปริมาณพลังงานเท่ากัน การเลี้ยงสัตว์จะต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าการผลิตพืชอาหารหรือการปรับเปลี่ยนค่านิยมการบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมมาเป็นการบริโภคอาหารจากธรรมชาติโดยตรง
3.2 วิถีชิวิต รูปแบบการดำรงชีวิตจะต้องสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ รู้จักบริโภคทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาของตนอย่างมีประสิทธิภาพ มีความขยันขันแข็งในการทำงาน หมั่นหาความรู้ในการเกษตรและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ลดความต้องการด้านวัตถุที่เกินความจำเป็นลง
3.3 การพึ่งพาอาศัยกัน วิธีการผลิตของเกษตรอินทรีย์ให้ความสำคํยกับการดำรงอยู่ร่วมกันของชาวบ้าน เกษตรกรจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน หรือรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นองค์กรท้องถิ่นของเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จของการพัฒนาเกษตรกรรมแนวนี้ในระยะยาว ช่วยให้ฐานทรัพยากรของชุมชนมั่นคงเศรษฐกิจดีขึ้น เกษตรกรพึ่งตนเองได้และมีสุขภาพแข็งแรง
3.4 การจัดการทรัพยากร ลักษณะการกระจายผลผลิตในไร่นาช่วยลดความจำเป็นในการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ของเกษตรกรแต่ละราย จึงสามารถกระจายการถือครองที่ดินให้เกษตรกรที่ไร้ที่ดินทำกินได้ การบริหารจัดการทรัพยากรในระดับครอบครัวเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคน และบทบาทที่เท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง ส่วนการบริหารจัดการทรัพยากรในระดับชุมชนก็ส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน
3.5 อุดมการณ์ การทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวงในช่วง 200 ปีที่ผ่านมานี้ มีต้นเหตุมาจากความคิดที่มองสิ่งแวดล้อมมีค่าเป็นเพียงวัตถุ และคิดว่ามนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อม เพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยคอยอำนวยความสะดวกอยู่แล้ว จุดมุ่งหมายขั้นสูงสุดของเกษตรกรรมแบบยั่งยืน คือ การแก้ปัญหาวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่ต้นเหตุเหล่านี้ โดยการปรับเปลี่ยนแนวความคิดที่มองโลกแบบแยกส่วนมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางและเป็นผู้ควบคุมธรรมชาติมาสู่แนวความคิดแบบองค์รวมอ่อนน้อมถ่อมตนต่อธรรมชาติยอมรับว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ ซึ่งจะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการทำเกษตรอินทรีย์ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือรูปแบบหนึ่งของการเกษตรแบบยั่งยืน เนื่องจากการทำการเกษตรอินทรีย์นั้นก่อให้เกิดหรือสร้างความยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับการเกษตรแบบยั่งยืน

 

4 ชุติมา สุรีพิทักษ์
Sustainable Agriculture
Sustainable Agriculture หรือ เกษตรยั่งยืน (วัฒนเกษตร หรือ เกษตรทางรอด) เป็นหลักชี้นำการผลิตทางเกษตรในอนาคต โดยเน้นที่การจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตทางเกษตรอันประสบความสำเร็จ เพื่อสนองตอบความต้องการของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลง (ไม่คงที่) โดยขณะเดียวกันสามารถดำรงหรือบำรุงสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้
คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเทคนิคของกลุ่ม CGIAR (Consultative Group on International Agricul-tural Research) ได้ให้ความหมายว่า เกษตรยั่งยืน คือระบบการบริหารทรัพยากร เพื่อทำการผลิตทางการเกษตรที่ตอบสนองต่อความจำเป็นและต้องการของมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็ธำรงรักษาและฟื้นฟูคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การเกษตรยั่งยืน จึงเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างขีดความสามารถของระบบการผลิต ความสามารถของผู้ผลิตในการผลิตสินค้าเกษตร ภายใต้การจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการกินดี อยู่ดี มีเสถียรภาพและสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมถึงประเพณี วัฒนธรรม และคุณธรรมของสมาชิกในชุมชน
อภิพรรณ (2542) กล่าวว่า การเกษตรยั่งยืนไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ได้ปฏิเสธสารเคมี ปุ๋ยเคมี หรือพันธุ์ใหม่ๆ ก็หาได้ไม่ เพียงแต่การให้ได้มาซึ่งเกษตรยั่งยืนนั้น นักวิชาการจะต้องใคร่ครวญว่าเทคโนโลยีเหล่านั้น หากนำมาใช้ในอัตราและปริมาณที่มากเกินไป หรือนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ๆ ไม่เหมาะสมแล้วจะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมให้แก่ทรัพยากรหรือสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรหรือไม่ ประเด็นต่อมาที่จะต้องนำมาใคร่ครวญได้แก่ ความเหมาะสมของสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรว่า จะสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้หรือไม่ และเมื่อใช้แล้วจะสามารถผลิตสินค้าเกษตรออกมาเพื่อเพิ่มรายได้ให้เขาเหล่านั้นได้หรือไม่ และในประเด็นสุดท้ายได้แก่การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร จะสามารถกระทำในลักษณะใดที่เกษตรกรจะสามารถเข้าใจถึงเทคโนโลยีการเกษตรว่ามีความเหมาะสมและจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในการที่จะนำไปปรับใช้ได้ต่อไป

ตามหลักของเกษตรยั่งยืนนี้ การผลิตทางเกษตรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยประกอบต่างๆ อาทิ ระบบนิเวศเกษตร ภาวะเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคมของเกษตรกรวิทยาการและเทคโนโลยี
ก. ระบบนิเวศเกษตร การเกษตรทางรอดจะต้องพิจารณาปัจจัยเกี่ยวกับนิเวศวิทยา เลือกทำการเกษตรในแขนงที่เหมาะสมที่จะได้ผลดีโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศวิทยา ยกตัวอย่างเช่น ควรจะต้องพิจารณาว่า บนที่สูงและลาดชัน ควรทำการเพาะปลูกแบบใด หรือควรจะเลี้ยงสัตว์ประเภทใด โดยไม่ทำให้ที่ดินเกิดการชะล้างพังทลาย ไม่ทำลายพืชพรรณในป่ารอบๆ ไม่ทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากการเกษตรนั้นๆ
ข. ภาวะเศรษฐกิจ ระบบการเกษตรที่ควรเลือกใช้นั้นให้ผลดี คุ้มค่าการลงทุน แต่ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ยกตัวอย่าง เช่น การเพาะเลี้ยงกุ้งตามชายฝั่งจะต้องไม่เป็นการทำลายป่าชายเลน และไม่ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสีย และมลภาวะต่างๆ เป็นต้น
ค. ปัจจัยทางสังคมเกษตร ระบบการเกษตรที่ส่งเสริมให้ใช้ ควรสอดคล้องกับวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ ระดับการศึกษา ความจำเป็นในชีวิต สวัสดิภาพ และความมั่นคงของครอบครัว ฯลฯ ของเกษตรกร
ง. เทคนิคและวิชาการ เทคนิคและระบบการผลิตทางเกษตรที่นำมาใช้ ได้รวมเอาพื้นความรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประกอบเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคนิคทางเกษตร เทคนิคการผลิตต่างๆ ไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมากเกินไป แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น โดยไม่สิ้นเปลืองหรือสูญเปล่า ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงโคนม โดยนำเอาต้นข้าวโพดฝักอ่อน ฟางข้าว เถามันเทศ เปลือกสับปะรด ฯลฯ มาใช้เป็นอาหารโค ในขณะที่พยายามลดส่วนประกอบของอาหารโคที่ใช้เป็นอาหารคนได้ อาทิ ปลา (ปลาป่น) ถั่วเหลือง (กากถั่วเหลือง) ข้าวโพด เป็นต้น

Organic Agriculture
Organic Agriculture หรือเกษตรอินทรีย์ ในความหมายของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ในขณะเดียวกันก็ พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติใน การเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทางต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้ เป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศและ วัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย.
นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดลชัย อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้คำจำกัดความไว้ว่าเกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างไม่ว่าสารพิษดังกล่าวจะมาจากทางดิน ทางน้ำ ทางอากาศ หรือแม้แต่จากการตัดต่อพันธุกรรมพืชเพื่อให้ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมปลอดภัยจากสารพิษ เป็นการช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติและลดต้นทุนการผลิต แล้วหันมาใช้สารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืช หรือใช้สกัดจากชีวภาพบำรุงพืชแทน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยว

หลักการสำคัญของเกษตรอินทรีย์ คือ
1. ทำการเกษตรโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ เช่นปลูกพืชตามฤดูกาล
2. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทางการเกษตร และสารพิษทุกชนิด
3. บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่ว พืชคลุมดิน และใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างผสมผสาน
4. รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ปลูกพืชหลายชนิดร่วมกันในฟาร์ม สัตว์เลี้ยงได้รับการดูแลที่เหมาะสม ไม่กักขัง และทำทารุณ
5. เกษตรกรมีความสุข เสรีภาพ และรายได้ที่เป็นธรรม

เกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์
จากการขยายตัวของภาคเกษตรกรรมที่ผ่านมา ส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างแพร่หลาย และ ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นเพื่อเร่งรัดการผลิต มีการใช้สารเคมีต่างๆ ทั้งปุ๋ยเคมี สารป้องกันศัตรูพืช สารเร่งบังคับการเจริญเติบโต โดยขาดความรู้ทำให้มีสารตกค้างและสะสมอยู่ในผลผลิตทางการเกษตร เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อตัวของเกษตรผู้ผลิตและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอย่างหนึ่งในมาตรการกีดกันการค้าผลผลิตการเกษตรและสินค้าอาหารระหว่างประเทศด้วย
ทั้งนี้เพราะปัจจุบันกระแสความต้องการของผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพอนามัยของตนมากขึ้น หากประเทศไทยยังใช้วิธีทำการเกษตรแบบเดิมๆ อนาคตอาจต้องสูญเสียตลาดสินค้าทางการเกษตรที่สำคัญให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านไปได้ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้ในเรื่องของราคา จึงควรหันมาพัฒนาและส่งเสริมการทำการเกษตรในรูปแบบใหม่คือ การทำเกษตรยั่งยืนให้เป็นทางเลือกใหม่ หรือวิธีคิดแบบใหม่กับเกษตรกร
จากที่กล่าวมานี้ เกษตรอินทรีย์มีหลักการที่คล้ายคลึงกับเกษตรยั่งยืน คือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญอย่างสูงต่อดิน ป้องกันมลภาวะที่เกิดเนื่องจากวิธีการทำการเกษตร รวมถึงการรักษาระบบนิเวศน์ของชุมชน ตอบสนองต่อความต้องการด้านอาหารสุขภาพและวิถีชีวิตที่ดี รวมทั้งเอื้อให้เกษตรกรตระหนักต่อความสำคัญและประโยชน์ของการใช้แรงงานไปพร้อมๆกันด้วย ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรยั่งยืน ซึ่งรูปแบบของการเกษตรยั่งยืนมีหลายระบบ แตกต่างกันไป เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรชีวพลวัตร เกษตรกรรมนิเวศวิทยา เกษตรกรรมชีวภาพ และวนเกษตร

 

5 จิราวัฒน์ ปัญญาเทียม
การเกษตรแบบยั่งยืน ( sustainable ) หมายถึง ความสามารถของระบบที่จะรักษาอัตราของการผลิตให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาวติดต่อกันภายใต้ สภาพแวดล้อมที่เลว หรือไม่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำจนเป็นลักษณะประจำของท้องถิ่น เช่นดินเป็นกรด หรือ ดินเค็ม พื้นที่ที่มีสภาพน้ำท่วมทุกปี หรือเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวไม่สม่ำเสมอ เช่น ฝนแล้ง หรือเกิดศัตรูพืชระบาด
ในความหมายตรงกันข้ามคือ สภาพไร้ความยั่งยืนนั้นคือการที่ระบบมีความอ่อนแอต่อความเสียหายในระบบได้ง่าย เช่น ข้าวพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศให้ผลผลิตสูง แต่อ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูพืชย่อมมีความยั่งยืนน้อยกว่าข้าวพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งถึงแม้จะให้ผลผลิตต่ำกว่าแต่มีความทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช
ในปัจจุบันได้มีการพูดถึงการพัฒนาแบบยั่งยืน กันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศไทยและนานาชาติ คงจะต้องยอมรับกันว่าสาเหตุสำคัญในช่วงของการพัฒนาประเทศรวมถึงทั่วโลกที่ผ่านมานั้นได้กระทำการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาโดยขาดการระมัดระวังผลกระทบที่มีต่อธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ในขณะเดียวกันธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาจนมีสภาพเสื่อมโทรมนั้นก่อให้เกิดผลต่อมนุษย์ ในด้านต่างๆ เช่น ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ
การพัฒนาแนวนิเวศนี้ได้ว่า เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการพัฒนาแบบยั่งยืน การพัฒนาจะดำเนินควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่เสียหาย ต่อระบบนิเวศทั้งหมดในระยะยาว ความยั่งยืนทางนิเวศไม่อาจจะเกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยวได้เลย หากแต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆ ในที่นี้ ความยั่งยืนทางสังคมและวัฒนธรรมดูเหมือนจะมีความสำคัญสูงสุด แนวคิดนี้บ่งว่าหลักการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดรวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
เกษตรอินทรีย์ ( organic farming) คือระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนในทางสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อใช้หลักการในทางธรรมชาติ ของพืช สัตว์ และนิเวศทางการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลด การใช้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ในขณะเดียวกัน ใช้สิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติ ในการเพิ่มผลผลิตและพัฒนาของที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
หลักกการเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทงที่สอดคล้องกับเกษตรธรรมชาติที่ เป็นไปในวิธีการพัฒนาในรูปของการเกษตรแบบยั่งยืนที่สามารถผสมผสาน กลมกลืนระหว่างเพิ่มผลผลิตกับนิเวศแวดล้อมในแหล่งผลิตพืชดดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาทำลายธรรมชาติ เช่น เครื่องจักรกล ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช ต่าง ๆ

 

 

6 อัตถ์ อัจฉริยมนตรี
เกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน
ในปัจจุบันประเทศไทยและทั่วโลกได้ให้ความสนใจกับระบบเกษตรที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีมากขึ้น และยังตระหนักถึงสุขอนามัยของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ทางเลือกในการทำการเกษตรแบบหนึ่งก็คือ การทำระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลย์ทางธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ที่อาจก่อให้เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมรวมทั้งการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ในประเทศไทยเองซึ่งมีฐานะเป็นผู้ผลิต และส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกมีความเหมาะสม และมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งผลิตอาหารในระบบเกษตรอินทรีย์ แนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งใน และต่างประเทศเริ่มมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปี ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิต และผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเริ่มคำนึงถึงสุขอนามัยความปลอดภัยและมลพิษในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล และใช้ข้อบังคับอยู่แล้วในหลายประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ (OrganicFood Production Act - OFPA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 และแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2539 ตลาดร่วมยุโรป (European Union - Eu) ได้รวบรวมข้อกำหนดของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ไว้ในข้อกำหนดของสภายุโรป (EEC No. 2092 / 91) และฉบับแก้ไของค์การการค้าโลกยังไม่มีข้อกำหนดการผลิตเกษตรอินทรีย์ แต่ใช้การปฏิบัติตามข้อแนะนำของ Codex Alimentarius สมาพันธ์ผู้ผลักดันสินค้าเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement -IFOAM) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่มีสมาชิกทั่วโลกมากกว่า 100 ประเทศ ในตลาดและผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการผลิตภัณฑ์อินทรีย์กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเหตุเพราะประเทศเหล่านั้นขาดการผลิตเป็นของตนเอง อย่างเช่น สหราชอาณาจักรต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์อินทรีย์มากกว่า 70 % ตลาดในสหรัฐอเมริกาก็มีมูลค่ากว่า 5 พันล้านเหรียญต่อปี และคาดว่าจะเป็นสองเท่าในอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า ในเยอรมันผลิตภัณฑ์อินทรีย์กำลังรุกคืบเข้าสู่ตลาด ความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้มีรายงานจากประเทศต่าง ๆ เช่น อียิปต์ อาร์เจนติน่า ญี่ปุ่นโปแลนด์ และออสเตรเลีย และปัจจุบันบริษัทมีชื่ออย่าง แมคโดแนลด์ (กับนมอินทรีย์ในสวีเดน) เนสเล่ แซนดอช และสายการบินอย่าง ลุฟท์ แฮนซ่า และสวิตแอร์ก็ได้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
ปัจจุบันกระแสของการบริโภคสินค้าเกษตรปลอดภัยจากสารพิษมีมากขึ้น โดยมีสินค้าที่บ่งบอกถึงการผลิตอย่างปลอดภัยจากสารพิษในท้องตลาดเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคหลายชนิดผู้บริโภคจึงมักพบสินค้าเกษตรที่ระบุว่า เกษตรอินทรีย์ ผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ผักอนามัย ซึ่งคำต่าง ๆ เหล่านี้มีคำจำกัดความ มีขั้นตอนการผลิตแตกต่างกัน คือ เกษตรอินทรีย์ คือการเกษตรที่สร้างสรรค์ให้ระบบนิเวศน์การเกษตรได้ก่อให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยใช้หลักการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และทำให้เกิดการผสมผสานเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมน เน้นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลผลิตที่ได้เป็น Organic food อาหารที่ไร้สารพิษ คือ อาหารที่ได้จากระบบการผลิตที่ไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันและปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมดและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีพิษใด ๆ ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือ ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืชรวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ผักอนามัย คือ ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืชรวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวตลอดจนการขนส่งและการบรรจุหีบห่อได้ตามคุณลักษณะตามมาตรฐาน
เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เกษตรธรรมชาติ (Natural Agriculture) ตามแบบของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะของนายยาซาโนมุ ฟูกุโอกะ นักธรรมชาติวิทยาที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์มาก ได้ทำฟาร์มเกษตรธรรมชาติ โดยมีหลักการใช้คำว่า "ไม่ 4 ตัว" คือ "ไม่ไถพรวน" "ไม่ใส่ปุ๋ย" "ไม่ป้องกันกำจัดศัตรูพืช" "ไม่กำจัดวัชพืช" โดยหยุดการแทรกแซงธรรมชาติโดยสิ้นเชิง กระทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เองก็มี " 4 ไม่" เช่นกัน คือ "ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี" "ไม่ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช" "ไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช" และไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นความเจริญเติบโตของพืช

วิธีการของเกษตรอินทรีย์
1. ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และยาปราบศัตรูพืช
2. มีการไถพรวนระยะเริ่มแรก และลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนาน ๆ เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน
3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างของดินตามธรรมชาติ คือมีการคลุมดินด้วยใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อรักษาความชื้นของดิน
4. มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด
5. มีการเติมจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์
6. มีการเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วย เช่น เทคนิคการปลูก การดูแลเอาใจใส่ การขยายพันธุ์พืช การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ ตลอดจนการเก็บเกี่ยว
7. มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า แห้งแล้ง ทำให้โครงสร้างของดินเสีย จุลินทรีย์ จะตาย อย่างน้อยให้ปลูกพืชคลุมดินชนิดใดก็ได้
8. มีการป้องกันศัตรูพืช โดยใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ ยาสูบ โล่ตี้น และพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น


สำหรับข้อแตกต่างอย่างชัดเจนของการผลิตสินค้าเกษตรตามข้างต้นสรุปได้คือ เกษตรอินทรีย์ ในด้านปัจจัยการผลิต โดยห้ามใช้พืชหรือสัตว์ที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม GMO ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนสังเคราะห์ คำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ต่อสิ่งแวดล้อม และความสมดุลย์ทางธรรมชาติ โดยมีมาตรฐานการผลิตและการตรวจสอบรับรอง จากสำนักมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานระหว่างประเทศ ตัวอย่างสินค้าที่เป็นเกษตรอินทรีย์ในท้องตลาด เช่น ทิพวัลย์ เบสต์ฟู้ด รังสิตฟาร์ม เป็นต้น ปัจจุบันมีชมรมกสิกรรมไร้สารพิษ ชมรมเกษตรธรรมชาติเป็นผู้รับรองคุณภาพสินค้า ผักปลอดภัยจากสารพิษ ด้านปัจจัยการผลิต แต่ยังไม่ได้ระบุถึงการห้ามใช้ GMO ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช แต่คำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นหลัก (สารตกค้างไม่เกินค่าความปลอดภัยต่อผู้บริโภค) โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานที่ดูแลและตรวจสอบคุณภาพสินค้า ผักอนามัย การผลิตเหมือนกับผักปลอดภัยจากสารพิษ แต่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร

เกษตรอินทรีย์ในแนวทางยั่งยืน
ในแนวทางของการทำเกษตรแบบยั่งยืนนั้น ได้ถูกใช้ในทางการผลิตการเกษตรที่ยั่งยืน หมายความว่า การใช้แนวทางวิชาการการเกษตรเพื่อสามารถที่จะจัดการตลาดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถนำไปใช้ต่อไปได้เรื่อยๆ ตามความต้องการของมนุษย์ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต การทำให้เกษตรอินทรีย์นั้นยั่งยืนได้ประกอบด้วยปัจจัยหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ทั้งด้านการผลิต และด้านเศรษฐกิจ และสังคม
ในด้านการผลิตให้ยั่งยืน นั้นในปัจจุบันมีการใช้ปัจจัยในการผลิตโดยใช้สารเคมี และเทคโนโลยีมาก แต่ในการเกษตรยั่งยืนนั้นเราก็มิได้ปฏิเสธการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี หรือพันธุ์ใหม่ ๆ เพียงแต่นำมาใช้ในอัตราที่เหมาะสมหรือนำมาใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ และไม่สร้างความเสื่อมโทรมให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติทั้งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามธรรมชาติ และการใช้เทคโนโลยีการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) แต่บางครั้งก็ต้องนำสารเคมีมาใช้บ้าง ซึ่งเกษตรกรต้องมีการบันทึก และวางแผนในการใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบใหม่ในขั้นตอนการผลิตเดิมเกษตรกรต้องทำ ประวัติฟาร์ม ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาในการใช้สารเคมี การวิเคราะห์ผลตกค้างของสารเคมีในดิน ประวัติการใช้สารเคมี ประวัติการใช้ดิน และระยะเวลาที่ปรับเปลี่ยน เช่น พื้นที่ทำการเกษตรอยู่ก่อนแล้วใช้เวลาปรับเปลี่ยน 1 ปี สำหรับพืชล้มลุก และ 3 ปี สำหรับพืชยืนต้น รวมทั้งพื้นที่เปิดใหม่ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีระยะเวลาปรับเปลี่ยน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์ผลตกค้างของสารเคมีในดิน และในผลผลิต และให้อยู่ในดุลยพินิจของหน่วยงานรับรองผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยน และได้ปฏิบัติตามวิธีการของเกษตรอินทรีย์เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี เรียกว่า "ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์กำลังปรับเปลี่ยน
ส่วนในด้านเศรษฐกิจให้ยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการตลาด และการจำหน่ายผลผลิตโดยในปัจจุบันผู้บริโภคหันมาสนใจในสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น และหน่วยงานภาครัฐได้มีส่วนเข้ามาสนับสนุนการส่งเสริมการผลิต และการตลาดให้แก่เกษตรกร ที่ผ่านมามีหลายโครงการด้วยกันเพราะเห็นว่าเป็นแนวทางที่ยั่งยืน นอกจากนี้การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำเกษตรอินทรีย์ที่ให้แน่ใจว่าผู้บริโภคจะปลอดภัยจากสารเคมีจริง โดยให้การรับรองคุณภาพของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อินทรีย์นั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีวิเคราะห์ทางเคมีตรวจสอบสารพิษตกค้างในผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ ถ้าผลิตขึ้นจากขบวนการผลิตที่ผ่านการรับรองและตรวจสอจากหน่วยออกใบรับรอง และตรวจสอบมาตรฐานการผลิตพืชแบบเกษตรอินทรีย์มาโดยตลอด ยกเว้นเป็นการวิเคราะห์ตามมาตรฐานของประเทศคู่ค้า หรือตามที่คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์กรมวิชาการเกษตรกำหนด ยิ่งไปกว่านั้นในการซื้อขายระดับประเทศเพื่อการส่งออกจำเป็นต้องมีใบรับรองสินค้าผลิตผลทางการเกษตรโดยผู้ประสงค์จะขอใบรับรองเพื่อแสดงว่าผลผิตผลหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์นั้นให้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดได้ที่หน่วยออกใบรับรอง และตรวจสอบมาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ เมื่อได้รับคำขอแล้วเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบความถูกต้องของคำขอ สถานที่ผลิต วิธีการผลิต บันทึกข้อมูลการผลิตและหรือสุ่มเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาออกใบรับรองให้ นอกจากนี้สิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการขายที่สำคัญคือ ฉลากผลิตภัณฑ์อินทรีย์โดยจะเป็นสิ่งยืนยันให้ผู้บริโภคแน่ชัดว่าเป็นสินค้าอินทรีย์ปลอดภัยในสุขภาพและอนามัย
ส่วนในด้านสังคมให้ยั่งยืน เมื่อเกษตรกรได้ทำการเกษตรอินทรีย์แล้วจะพบว่าเกิดความยั่งยืนโดยสังเกตจากเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีความเป็นอยู่ไม่ขัดสน มีอาหารเพียงพอต่อการบริโภค และมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นประกอบกับกระแสสังคมที่เริ่มหันมาสนใจในสุขภาพ อนามัยกันมากขึ้นทำให้อนาคตของสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังคงสดใสอยู่ และในแนวความคิดของเกษตรยั่งยืนมักนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือแนวทางที่เกษตรปฏิบัติอยู่ตั้งแต่ดั้งเดิมและเกิดประโยชน์มาใช้ควบคู่และดัดแปลงร่วมกันเทคโนโลยีแผนใหม่เพื่อให้เกษตรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ที่ดินและสภาพแวดล้อมไม่ทรุดโทรมสามารถใช้ในการผลิตการเกษตรได้ชั่วลูกชั่วหลานซึ่งสร้างสังคมที่ดีต่อคนในชุมชนทั้งในระดับครอบครัวจนถึงระดับหมู่บ้าน และลำดับที่สูงขึ้นไป

สรุปและมุมมอง
ในแนวทางเกษตรยั่งยืนที่เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ถึงแม้จะมีการใช้เทคโนโลยีตลอดจนสารเคมีอยู่บ้าง เพื่อการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตร แต่ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีแผนใหม่ด้วยความระมัดระวังมิให้สิ่งแวดล้อมและสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรต้องถดถอยไป เกษตรอินทรีย์นั้นในทศวรรษที่หกสิบและเจ็ดสิบถูกเรียกขานว่าเป็นนักฝันกลางแดด ขบวนการเคลื่อนไหวทางอินทรีย์ในขณะนั้นได้พบเห็นความฝันจำนวนมากกลายเป็นจริง ตัวอย่างหนึ่งก็คือ การทำพันธุวิศวกรรมซึ่งกำลังสร้างปัญหาเหมือนการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ยังมีอยู่ และกำลังเข้ามาสู่สภาพแวดล้อมของเราพร้อมด้วยการเสี่ยงภัยชนิดใหม่ ถ้าหากเราขับเคลื่อนเรื่องพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตต่อไป เราอาจเผชิญปัญหาต่าง ๆ อีกก็ได้แต่นั้นก็ยังเป็นแนวทางที่ถกเถียงกันไม่มีที่สิ้นสุด
เกษตรกรรมธรรมชาติ กับการเกษตรอินทรีย์นั้นเกี่ยวข้องกัน แต่การเกษตรธรรมชาติจะแตกต่างไปจากการทำเกษตรแนวทางที่ยั่งยืนในลักษณะที่เกษตรธรรมชาติปฏิเสธเทคโนโลยีแผนใหม่ และใช้เพียงปัจจัยการผลิตในฟาร์มเป็นเทคโนโลยีเท่านั้น ส่วนมากจะเป็นสารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก มูลไก่ แสงอาทิตย์ หากปัจจัยการผลิตมีเพียงเท่านี้ก็ยากที่จะให้เกษตรได้รับผลผลิตที่สูงขึ้น จนเกิดรายได้พอเก็บ เพียงพอที่จะเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตได้บ้าง ดังนั้นในเกษตรธรรมชาติจึงเน้นให้เกษตรพอใจแต่เพียงปัจจัยสี่เท่านั้น ไม่ต้องการความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยในชีวิต ขอให้แค่มี อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ซึ่งในสังคมปัจจุบันและอนาคตมนุษย์มิได้ใช้เพียงปัจจัยเหล่านี้ หากแต่มีปัจจัยอื่นๆ ร่วมเสริมทำให้เกิดความสะดวกสบายขึ้นอีกระดับหนึ่ง ดังนั้นเกษตรธรรมชาติจึงแตกต่างไปจากการทำเกษตรแนวทางที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ตามเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่การทำการเกษตรกรรมแบบ "ไม่ทำอะไรเลย" และไม่ได้เข้มแข็งขึ้นด้วยการ "ต่อต้าน" เช่น สารกำจัดศัตรูพืช หรือปุ๋ยสังเคราะห์ เกษตรอินทรีย์ทุ่มเทความมุ่งมั่นตั้งใจไปที่ความสมบูรณ์ของดิน ความประหยัดต่อเนื่อง และความเอื้ออาทรต่อสังคมอาศัยรากฐานนี้เกษตรอินทรีย์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นไม่เพียงสำหรับไร่นา และอาหารที่สมบูรณ์ แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคในวิถีชีวิต และช่วยพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน ด้วยยุทธศาสตร์แบบจากล่างขึ้นบน เช่น จากไร่หนึ่งสู่อีกไร่หนึ่ง จากฟาร์มหนึ่งสู่อีกฟาร์มหนึ่ง จากร้านหนึ่งสู่อีกร้านหนึ่ง จากหมู่บ้านหนึ่งสู่หมู่บ้านหนึ่ง และจากภูมิภาคหนึ่งสู่ภูมิภาคหนึ่ง เป็นต้น
และในขณะนี้รัฐบาลให้มีการส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นโดยให้งบประมาณของสภาพัฒน์ฯจำนวน 83 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้กับเกษตรกรว่า เกษตรอินทรีย์มีความสำคัญอย่างไร เนื่องจากเกษตรเป็นผู้ปฏิบัติที่แท้จริงที่ต้องเร่งสร้างเข้าใจให้เกิดก่อนว่าการใช้เทคโนโลยีการเกษตรโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ "เกษตรอินทรีย์"เป็นระบบเกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อขายพื้นที่ทำการเกษตรมากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจาการทำการเกษตรของประเทศไทยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาที่ได้รับอิทธิพลจากแนวทางการปฏิวัติเขียว
ในขณะเดียวกัน การทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการเพิ่มปัจจัยการผลิตใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มากขึ้นและไม่ถูกวิธีจนทำให้เกิดการสะสมของสารเคมีและสารพิษตกค้างอยู่ในน้ำ ดิน อากาศและผลผลิตเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยอย่างกว้างขวาง และยังกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ เช่น กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก องค์กรการค้าโลกกำหนดมาตรฐานของแต่ละประเทศ ทำให้ประเทศผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามและสนับสนุนการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและสารสังเคราะห์ทุกชนิดในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เน้นการใช้สารอินทรีย์ในระบบการผลิตเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ การตื่นตัวของเกษตรและผู้บริโภคภายในและต่างประเทศทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับการใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการบำรุงพืชมากกว่าการใช้สารเคมีสร้างโอกาสที่จะที่จะทำให้เกษตรกรเหล่านี้ปรับตัวเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายขึ้นและผลิตสินค้าที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ
นอกจากนี้กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างโอกาสความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ทดแทนการผลิตสารเคมีที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมลดผลกระทบจากการปล่อยสารเหล่านี้ออกสู่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยไม่มีการบำบัดนำไปสู่การตกค้างของสารพิษในทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตามความพยามที่จะปรับเข้าสู่กระบวนการเกษตรอินทรีย์ย่อมมีอุปสรรคและข้อจำกัดอันดับแรกปัญหาการกีดกันทางการค้าโดยอ้างในเรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้วได้กำหนดขึ้นรวมทั้งยังมีความแตกต่างของประเทศผู้นำเข้ามากำหนดมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์จึงทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังต้องพึงพาผู้นำเข้าและพ่อค้าผู้ส่งออกทั้งในระบบการตรวจสอบและการหาตลาด
นอกจากนี้พื้นที่เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่ของไทยเป็นฟาร์มขนาดเล็กและอยู่กระจัดกระจายหากมีการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์จะทำให้เป็นภาระแก่เกษตรกรเนื่องจากมีต้นทุนสูง ต้องมีการจัดการและการดูแลเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามเป้าหมายระบบเกษตรอินทรีย์ที่กำหนดไว้จะต้องมีพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ พืช สัตว์ และประมง เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1 แสนไร่ ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ของไทยที่น่าจับตามองต่อไป


เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการเกษตร. 2545. ใน โครงการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในประเทศไทย. ข่าวสารกำจัด
ศัตรูพืช e-Newsletter ฉบับที่ 5/2545 (9 ตุลาคม 2545) [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา <http://www.ipmthailand.org/pesticidenews/pesticidenews.htm>
[6 พฤศจิกายน 2545]
การเกษตรยั่งยืน. 2545. ระบบเกษตรกรรมที่นำไปสู่การเกษตรยั่งยืน.
[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา <http://www.greenag.org/documents/100060.htm>
[6 พฤศจิกายน 2545]
นิรนาม. 2545. ใน รายงานสิ่งแวดล้อม " เกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน ช่วยระบบนิเวศฟื้นสิ่งแวดล้อม".
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ: (14 มิถุนายน 2545)
[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา <http://www.siamrath.co.th/Abroad.asp?ReviewID=3887>
[6 พฤศจิกายน 2545]

 

7 ชนิดา แทนธานี
เกษตรยั่งยืน หมายถึง แนวทางการเกษตรใหม่ที่ใช้ความรู้ทางนิเวศวิทยาเพื่อการเกษตร โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจ เกื้อหนุนให้เกิดความยุติธรรมทางสังคม รวมทั้งเพิ่มพูนคุณธรรมและคุณค่าของมนุษย์
หลักการสำคัญพื้นฐานของเกษตรยั่งยืน

1. ระบบเกษตรยั่งยืนดำเนินงานโดยใช้ทรัพยากรภายในไร่นาอย่างมีประสิทธิภาพ มีรูปแบบการผลิตและการจัดการหมุนเวียน
ทรัพยากรได้อย่างสมดุล โดยหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรจากภายนอก

2. ให้ความสำคัญอย่างสูงต่อดิน เพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนของการทำเกษตร การฟื้นฟูและอนุรักษ์ดินนั้นหมายถึง การป้องกันมิให้มีการใช้ประโยชน์จากดินจนเกินความสามารถตามธรรมชาติของผืนดิน ตลอดจนการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน

3. ปกป้องมลภาวะที่เกิดเนื่องจากวิธีการทำการเกษตร เกษตรยั่งยืนงดการใช้ปุ๋ยเคมี ยาควบคุมวัชพืชและแมลง ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต ตลอดจนวัคซีนและสารเคมีอื่นๆโดยสิ้นเชิง โดยหันมาใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ต้านทาน การใช้สมุนไพรควบคุมแมลง การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี เป็นต้น

4. เกษตรยั่งยืนมุ่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการ มีธาตุอาหารครบถ้วนตามธรรมชาติของผลผลิต

5. ลดการใช้น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์ทุกรูปแบบ ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์ที่ใช้อยู่ในวงการเกษตรในปัจจุบันก็คือปุ๋ยและยาฆ่าแมลงนั่นเอง การลดการใช้ปุ๋ยและยานั้นเป็นวิธีปฏิบัติพื้นฐานของฟาร์มเกษตรยั่งยืนเหมือนกันทั่วโลก แต่การใช้น้ำมันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรนั้นยังมีระดับที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่โดยทั่วๆไปแล้วฟาร์มเกษตรยั่งยืนจะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยหันมาใช้แหล่งพลังงานที่สามารถใช้หมุนเวียนแทน

6. มีวิธีการปฏิบัติต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตภายในฟาร์มโดยยึดหลักมนุษยธรรม การเลี้ยงสัตว์ตามแนวทางเกษตรยั่งยืน ต้องจัดพื้นที่การเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม สัตว์สามารถออกกำลังกาย และได้รับอาหารที่ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง

7. เกษตรยั่งยืนมิใช่การเกษตรที่มีเป้าหมายการผลิตเพื่อการตลาดแต่เพียงประการเดียว หากแต่ต้องตอบสนองต่อความต้องการด้านอาหาร สุขภาพและวิถีชีวิตที่ดี รวมทั้งเอื้อให้เกษตรกรตระหนักต่อความสำคัญและประโยชน์ของการใช้แรงงานไปพร้อมๆกันด้วย

8. เอื้อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาระบบนิเวศของชนบทและชุมชน

และเมื่อคำจำกัดความของ เกษตรอินทรีย์ หมายถึง ระบบการทำการเกษตรทุกอย่างที่ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตอาหารและเส้นใยที่ประหยัด ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ระบบเหล่านี้ใช้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นเสมือนกุญแจไขไปสู่ความสำเร็จในการผลิตด้วยการคารวะ ต่อความสามารถตามธรรมชาติของพืช สัตว์ และลักษณะภูมิประเทศ มันพุ่งเป้าไปถึงคุณภาพอันสูงสุดในทุกด้านของการเกษตรและสิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์จะลดปัจจัยภายนอกที่ใส่เข้าไปได้ด้วยการเลิกหรือหยุดใช้ปุ๋ยเคมี - สังเคราะห์ ยากำจัดศัตรูพืช เภสัชภัณฑ์ และ พันธุวิศกรรมใด ๆ โดยที่ควรปล่อยให้กฎแห่งธรรมชาติที่ทรงพลังอำนาจมาเพิ่มผลผลิตการเกษตรและเพิ่มความต้านทานโรค ซึ่งเป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่คำนึงถึงการใช้ปัจจัยการผลิตจากสารอินทรีย์ เพื่อรักษาความสมดุลของธรรมชาติและเลี่ยงการปฏิบัติที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของมลสารในผลผลิตและสภาพแวดล้อม เพื่อการทำการเกษตรที่สร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนตลอดไป
ดังนั้น เกษตรอินทรีย์จึงเป็นส่วนหนึ่งของเกษตรยั่งยืน

 

8 สยาม กันธา
เกษตรยั่งยืน หมายความว่า แนวทางการใช้วิชาทางการเกษตรเพื่อสามารถที่จะจัดการตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาเทคโนโลยีตลอดจนการปรับปรุงนโยบายของรัฐบาลหรือสถาบันในลักษณะที่เกิดการคงไว้ และสามารถนำไปใช้ต่อไปได้เรื่อยๆ ตามความต้องการของมนุษย์ทั้งในปัจุปันและในอนาคต การพัฒนาการเกษตรให้ยังยืนนั้นล้วนต้องการการอนุรักษ์ดินและที่ดิน ทรัพยากรด้านพันธุกรรมของพืชและสัตว์ เทคโนโลยีที่เหมาะสมไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ก่อให้เกิดผลด้านเศรษฐกิจ และการยอมรับในสังคมนั้นๆ (โดยอภิพรรณ พุกภักดี 2542. เกษตรยั่งยืน. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
การเกษตรยั่งยืน หมายถึง การเกษตรที่ดีและเหมาะสม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างขีดความสามารถของระบบการผลิต ความสามารถของผู้ผลิตในการผลิตสินค้าเกษตร ภายใต้การจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการกินดี อยู่ดี มีเสถียรภาพและสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมถึงประเพณี วัฒนธรรม และคุณธรรมของสมาชิกในชุมชน

เกษตรอินทรีย์มีหลายความหมาย
เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างไม่ว่าสารพิษดังกล่าวจะมาจากทางดิน ทางน้ำ ทางอากาศ หรือแม้แต่จากการตัดต่อพันธุกรรมพืชเพื่อให้ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมปลอดภัยจากสารพิษ เป็นการช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติและลดต้นทุนการผลิต แล้วหันมาใช้สารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืช หรือใช้สกัดจากชีวภาพบำรุงพืชแทน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยว (นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดลชัย อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร)
เกษตรอินทรีย์ (Organize Agriculture)เป็นระบบการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงดิน ไม่ไช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ตลอดจนไม่ใช้ฮอรโมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ระบบนี้เน้นความอุดมสมบูรณ์ของดินและของชีวภาพ คือดินมีจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตเล็กๆในดินที่มีประโยชน์ในดินในปริมาณมาก

เกษตรอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรยั่งยืนเพราะการทำเกษตรอินทรีย์เป็นการทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมีโดยมีแนวทางการทำการเกษตรดังนี้
1. การเลือกพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมให้อยู่ห่างจากถนนหลวง โรงงาน ห่างจากแปลงปลูกที่ใช้สารเคมี มีแหล่งน้ำที่สะอาดไม่มีสารพิษเจือปน ศึกษาประวัติของพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ย การใช้สารเคมีย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี การเลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน เช่น ดินร่วน ดินเหนียว หน้าดินตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด ดินเป็นด่าง หรือดินเค็ม นอกจากนี้ให้สังเกตพืชที่ขึ้นอยู่เดิมมีการเก็บตัวอย่างดินตัวอย่างน้ำไปทำการวิเคราะห์

2. การวางแผนการจัดการ ควรมีการวางแผนป้องกันสารพิษจากภายนอกทั้งทางน้ำและทางอากาศ และการป้องกันทางน้ำทำได้โดยขุดคูรอบแปลง การป้องกันทางอากาศให้ปลูกพืชกันชนทั้งไม้ทรงสูง ทรงสูงปานกลาง และต้นเตี้ยบนคันกั้นน้ำรอบแปลง ส่วนการวางแผนป้องกันให้จัดระบบการระบายน้ำการเก็บเกี่ยวรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์และการเข้าออกในไร่นา ด้านการวางแผนระบบการปลูกพืช ควรเลือกฤดูปลูกที่เหมาะสม พันธุ์พืชที่ต้านทานโรคแมลงพืชบำรุงดิน พืชไล่แมลง เป็นต้น

3. การเลือกพันธุ์ปลูก ให้คำนึงถึงสภาพดินสภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อโรคแมลงและวัชพืช ตลอดจนความหลากหลายของชนิดพืชในแปลงไม่ใช่พืชจีเอ็มโอ (พืชที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม) หากเป็นเมล็ดพันธุ์พืชทีมาจากการปลูกแบบอินทรีย์จะดีมาก

4. การปรับปรุงบำรุงดิน ให้เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง ถ้าดินเป็นกรดจัดให้ใส่ปูนบดลดความเป็นกรด ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เช่น โสน ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะหรือถั่วชนิดอื่นๆ (โสนควรปลูกในนา ถั่วต่างๆควรปลูกในไร่) การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเศาซากพืชเพื่อช่วยปรับโครงสร้างดินและให้ธาตุอาหารแก่พืชหากดินขาดโปแตสเซียมและขี้เถ้า แต่ถ้าดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต

5.การจัดการศัตรูพืช ก่อนปลูกกรณีที่ใช้เม็ดพันธุ์ปลูกควรใช้พันธุ์ต้านทานโรคแมลงและวัชพืช จากนั้นให้แช่เมล็ดในน้ำอุ่นนาน 10-30 นาที เพื่อกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่ติดมากับเมล็ด คลุกเมล็ดด้วยจุลินทรีย์ เช่น เชื้อไตรโคเดอร์ม่า เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส สัปทิลิส ขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูกให้ไถตากดิน 1-2 สัปดาห์ เมื่อเมล็ดวัชพืชงอกแล้วไถกลบ ใช้พลาสติกใสที่ไม่ย่อยสลายคลุมแปลงกำจัดวัชพืชในดินที่ต้องการแสงแดด ใช้ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาวปรับความเป็นกรด-ด่าง ของดินเพื่อให้เชื้อโรคไม่เติบโต ขังน้ำท่วมแปลงเพื่อควบคุมโรคแมลงที่อยู่ในดิน ตากดินให้แห้งเพื่อกำจัดแมลงในดิน ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าลงในดินเพื่อป้องกันระบาดของเชื้อราบางชนิด

การควบคุมแมลงให้สำรวจแมลงศัตรูพืชในแปลงปลูก ถ้าพบว่ามีแมลงจำนวนน้อยให้ใช้วิธีการควบคุมทางชีวภาพจากพืช หรือสารสกัดจากพืชสมุนไพร เช่น ดาวเรือง ว่านน้ำ พริกสาบเสือ หางไหลแดง สะเดา เป็นต้น หรือใช้จุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ เช่น เชื้อไวรัสเอ็นพีวี เชื้อแบคทีเรียบีที ไส้เดือนฝอย ศัตรูพืชธรรมชาติใช้ตัวหัวห้ำ ตัวเบียนน้ำสบู่หรือสารทำหมันแมลง แต่ถ้าแมลงระบาดให้ใช้กับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ เพื่อลดปริมาณแมลง

การควบคุมวัชพืช ควรควบคุมก่อนวัชพืชออกดอก โดยวิธีการทางกายภาพ เช่น อบ ตาก บด ถอน ตัด ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ใช้พลาสติกทึบแสงที่ไม่ย่อยสลายคลุม ใช้สารสกัดจากพืชและใช้ชีววิธี เช่น แมลงสัตว์หรือจุลินทรีย์
เกษตรอินทรีย์เน้นการอนุรักษ์และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยการไม่ใช้สารเคมีมีการปรับปรุงดินโดยอินทรีย์วัตถุและเน้นการฟ้นฟูระบบนิเวศวิทยา ไม่เหมือนกับเกษตรที่ปลอดสารเคมีที่เน้นแต่การควบคุมสารเคมีในการผลิตพืช เพราะฉนั้นเกษตรอินทรีย์จึงเป็นส่วนหนึ่งเกษตรของการทำการเกษตรแบบยั่งยืน

 

9 พิกุล ซุนพุ่ม
การเกษตรยั่งยืนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี ปัจจัยการผลิตและการจัดการ เพื่อให้ผลผลิตคงอยู่ยั่งยืน สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญอย่างน้อย 4 ประการด้วยกัน คือ

ก. ผู้ผลิต (productivity)
ข. ความมั่นคง (stability)
ค. ความยั่งยืน (sustainability)
ง. ความเท่าเทียม (equitability)

ซึ่งในระบบเกษตรกรรมแนวทางปฏิวัติเขียงนั้นเน้นเฉพาะเพียงการเพิ่มผลผลิต (productivity) อาจกล่าวได้ว่า ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนไม่ได้มีรูปแบบในทางปฏิบัติเคร่งคัดตายตัว เป็นแบบแผนชัดเจน แต่สามารปรับให้เข้ากับสภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง ฯลฯ ของแต่ละพื้นที่ แต่ละโอกาสได้ โดยมีกรอบที่กำหนดให้คือ คุณลักษณะทั้ง 4 ประการนั้นเป็นสำคัญ หากระบบการผลิตแบบใดทำให้ได้ทั้งผลผลิต ความมั่นคง ความยั่งยืนและความเท่าเทียมกันแล้ว ระบบการผลิตนั้นเรียกว่า ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ได้ทั้งสิ้น
การทำการเกษตรอินทรีย์ (Organic Farm)

เซอร์ อัลเบิร์ต โฮเวิร์ด นักการเกษตรชาวอังกฤษ ผู้ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งเกษตรกรรมอินทรีย์" ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของเกษตรกรรมไว้ว่า ต้องเป็นไปเพื่อสุขภาพอันสมบูรณ์เท่าเทียมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ได้แก่ สิ่งมีชีวิตในดินดิน พืช สัตว์และมนุษย์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้ง 4 จำพวกนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ โดยมีสิ่งมีชีวิตในดินเป็นโซ่ข้อแรก พืชเป็นข้อที่สอง สัตว์เป็นข้อที่สามและมนุษย์เป็นโซ่ข้อสุดท้าย หากโซ่ข้อต้นๆ อ่อนแอหรือถูกทำลายลงก็จะมีผลทำให้โซ่ข้อหลังๆ ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยโซ่ข้องต้นๆ มาเป็นลำดับนั้นพลายถูกกระทบกระเทือนไปด้วย เช่น เมื่อดินถูกทำลายจนหมดความอุดมสมบูรณ์ ก็จะมีผลต่อเนื่องทำให้พืช สัตว์และมนุษย์เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้มนุษย์มีสุขภาพเสื่อมทรามลง
เกษตรกรรมอินทรีย์ เป็นวิธีการผลิตแบบปลอดสารเคมี บนฐานของความยั่งยืน ให้ความสำคัญกับดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนพื้นดินนั้น เกษตรกรรมอินทรีย์บำรุงรักษาดินโดยการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน ผลผลิติที่ได้จากฟาร์มถือว่ามีคุณค่าสูง เพราะมาจากดินที่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีการใช้สารเคมีจึงไม่มีสารเคมีตกค้างสู่ผู้บริโภคโดยตรง
การทำการเกษตรอินทรีย์จัดเป็นส่วนหนึ่งของการทำการเกษตรแบบยั่งยืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการจัดการของเกษตรกร ผู้ผลิต วิธีนี้น่าจะใช้ได้ดีกับเกษตรการขนาดเล็กมากว่าเกษตรกรรายใหญ่ เพราะเกษตรกรรายใหญ่ยังคงต้องการกำไรมากกว่าจังยังนิยมใช้การเกษตรแบบสารเคมี

 

10 ณัฏฐิณี ภัทรกุล รหัส 4528107
เกษตรยั่งยืน

เกษตรยั่งยืน หมายถึง แนวทางการใช้วิชาการเกษตรเพื่อสามารถที่จะจัดการตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนการปรับปรุงนโยบายของรัฐหรือสถาบันเพื่อให้เกิดการคงไว้ และสามารถนำไปใช้ต่อไปได้เรื่อย ๆ ตามความต้องการของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ก่อให้เกิดผลด้านเศรษฐกิจ และการยอมรับในสังคม
ดังนั้นจะพบว่าการทำการเกษตรแบบยั่งยืนนั้นไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยี สารเคมี ปุ๋ยเคมี หรือพันธุ์ใหม่ ๆ เพียงแต่การให้ได้มาซึ่งเกษตรยั่งยืนนั้น ต้องคำนึงว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านั้น หากนำมาใช้ในอัตราและปริมาณที่มากเกินไป หรือนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ ๆ ไม่เหมาะสมแล้วจะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรหรือสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรหรือไม่ นอกจากนั้นความเหมาะสมทางสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรว่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้หรือไม่ และเมื่อใช้แล้วจะต้องสามารถผลิตสินค้าเกษตรออกมาเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรหรือไม่ และที่สำคัญเกษตรกรสามารถเข้าใจเทคโนโลยีเกิดประโยชน์ในการนำไปปรับใช้ให้แก่เกษตรกรหรือไม่
หลักการพื้นฐานของเกษตรยั่งยืน ประกอบด้วย

1. ระบบเกษตรยั่งยืนดำเนินงานโดยใช้ทรัพยากรภายในไร่นาอย่างมีประสิทธิภาพ มีรูปแบบการผลิตและการจัดการหมุนเวียนทรัพยากรได้อย่างสมดุล โดยหลีกเลียงการใช้ทรัพยากรจากภายนอก

2. ให้ความสำคัญต่อดิน เพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนของการทำเกษตร การฟื้นฟูและอนุรักษ์ดิน ป้องกันไม่ให้มีการใช้ประโยชน์จากดินจนเกินความสามารถตามธรรมชาติของผืนดิน

3. ปกป้องมลภาวะที่เกิดเนื่องจากวิธีการทำการเกษตร

4. มุ่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการ มีธาตุอาหารครบถ้วนตามธรรมชาติของผลผลิต

5. ลดการใช้น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงดิกดำบรรพ์ โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงโดยหันมาใช้แหล่งพลังงานที่สามารถใช้หมุนเวียนแทน

6. มีวิธีการปฏิบัติต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตในฟาร์มโดยยึดหลักมนุษยธรรม มีการจัดพื้นที่การเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม

7. เกษตรยั่งยืนไม่ใช่การเกษตรที่มีเป้าหมายการผลิตเพื่อการตลาดแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องตอบสนองต่อความต้องการด้านอาหาร สุขภาพและวิถีชีวิตที่ดี รวมทั้งเอื้อให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้แรงงานไปพร้อม ๆ กันด้วย

8. เอื้อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาระบบนิเวศของชนบทและชุมชน

รูปแบบการทำเกษตรยั่งยืนมีหลายระบบแตกต่างกันออกไป เช่น เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรชีวพลวัตร เกษตรกรรมนิเวศวิทยา เกษตรกรรมชีวภาพ และวนเกษตร
ดังนั้นจะพบว่าเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบเกษตรยั่งยืน โดยเกษตรอินทรีย์มีความหมายว่า "เป็นการทำการเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่ว่าสารพิษดังกล่าวจะมาจากทางดิน ทางน้ำ ทางอากาศ หรือแม้แต่จากการตัดต่อพันธุกรรมพืชเพื่อให้ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมปลอดภัยจากสารพิษ เป็นการช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติและลดต้นทุนการผลิต แล้วหันมาใช้สารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืช หรือใช้สกัดจากชีวภาพบำรุงพืชแทน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยว"
หลักการสำคัญของเกษตรอินทรีย์ก็คือ การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด ทั้งนี้เพราะปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ทำลายสมดุลทางนิเวศการเกษตร และส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่ในฟาร์ม ทั้งสัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ ทั้งที่อยู่บนพื้นผิวดินและใต้ผิวดิน ดังนั้นเมื่อมีการใช้สารเคมีจะทำให้แมลงที่เป็นประโยชน์ถูกทำลาย ในขณะที่แมลงศัตรูพืชสามารถอยู่รอดได้โดยไม่เป็นอันตราย แม้แต่ปุ๋ยเคมีเองก็มีผลเสียต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้สมดุลของนิเวศดินเสีย ดังนั้นการเกษตรอินทรีย์จึงตั้งอยู่บนครรลองของธรรมชาติ ไม่ใช่การเกษตรที่ฝืนวิถีธรรมชาติ ไม่พยายามเอาชนะธรรมชาติหรือดัดแปลงธรรมชาติเพื่อการเพาะปลูก แต่เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาติ และปรับระบบการทำเกษตรให้เข้ากับวิถีแห่งธรรมชาติ
ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าการเกษตรอินทรีย์ก็เป็นวิธีการหนึ่งของการเกษตรยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เหมือนกันตรงที่เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรและไม่ทำลายสมดุลของนิเวศเกษตรและธรรมชาติ รวมทั้งก่อให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจและสังคม แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันตรงที่เกษตรยั่งยืนจะมีการใช้เทคโนโลยีและสารเคมีอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช แต่ก็ใช้เทคโนโลยีและสารเคมีเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง แต่มิทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงและไม่ทำให้สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรต้องถดถอยไป ซึ่งต่างจากเกษตรอินทรีย์ตรงที่เกษตรอินทรีย์จะไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งฮอร์โมน และพันธุ์ที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรม แต่จะใช้ปุ๋ยที่ได้จากสารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และสารที่สกัดจากชีวภาพ

 

11 กมล กองคำ รหัส 4528101

เกษตรยั่งยืน


เกษตรยั่งยืน หมายถึงแนวทางเกษตรใหม่ที่ใช้ความรู้ทางนิเวศวิทยาเพื่อการเกษตร โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจ เกื้อหนุนให้เกิดความยุติธรรมทางสังคม รวมทั้งเพิ่มพูนคุณธรรมและคุณค่าของมนุษย์ ซึ่งรูปแบบของการทำเกษตรยั่งยืนมีหลายระบบ แตกต่างกันออกไป อาทิเช่น เกษตรผสมผสาน (Integrated Farming), เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture), เกษตรธรรมชาติ (Natural Farming), เกษตรชีวพลวัตร (Biodynamic Agriculture), เกษตรกรรมนิเวศวิทยา (Ecological Agriculture), เกษตรกรรมชีวภาพ (Biological Agriculture), และวนเกษตร (agroforestry)

เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)
เป็นระบบเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศตรูพืช ตลอดไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ระบบนี้เน้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและของชีวภาพ คือดินที่มีจุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดินที่เป็นประโยชน์ในปริมาณที่มาก ซึ่งเกษตรอินทรีย์มีหลักการใช้คำว่า ไม่ 4 ตัว คือ (1) ไม่ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช, (2) ไม่ใช่สารเคมีกำจัดวัชพืช, (3) ไม่ใช้ปุ๋ย, (4) ไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นความเจริญเติบโตของพืช

วิธีการของเกษตรอินทรีย์
1. ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และยาปราบศัตรูพืช
2. มีการไถพรวนระยะเริ่มแรก และลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนานๆ เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน
3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างของดินตามธรรมชาติ คือมีการคลุมดินด้วยใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วัสดุอื่นๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อรักษาความชื้นของดิน
4. มีการเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วย เช่น เทคนิคการปลูก การดูแลเอาใจใส่ การขยายพันธุ์พืช การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ ตลอดจนการเก็บเกี่ยว
5. มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด
6. มีการเติมจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์
7. มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยที่ดินทิ้งให้ว่างเปล่า แห้งแล้ง ทำให้โครงสร้างของดินเสียหาย จุลินทรีย์ตาย อย่างน้อยให้ปลูกพืชคลุมดินชนิดใดก็ได้
8. มีการป้องกันศัตรูพืช โดยใช้สารสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ข่า ตระไคร้ ยาสูบ และพืชสมุนไพรอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

หลักการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ และการปรับปรุงดิน
1. ไม่เผาตอซัง
2. ใช้ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก
3. ใช้ปุ๋ยพืชสด
4. ใช้ปุ๋ยชีวภาพ
5. ใช้วิธีผสมผสาน ระบบการปลูกพืชผสมผสานหลายชนิด และเกื้อกูลกัน

รูปแบบการผลิตสามารถทำได้ดังนี้
1. การเลือกพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมให้อยู่ห่างจากถนนหลวง โรงงาน ห่างจากแปลงปลูกที่ใช้สารเคมี มีแหล่งน้ำที่สะอาดไม่มีสารพิษเจือปน ศึกษาประวัติของพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ย การใช้สารเคมีย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี การเลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน เช่น ดินร่วน ดินเหนียว หน้าดินตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด ดินเป็นด่าง หรือดินเค็ม นอกจากนี้ให้สังเกตุพืชที่ขึ้นอยู่เดิมมีการเก็บตัวอย่างดินตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์

2. การวางแผนการจัดการ ควรมีการวางแผนป้องกันสารพิษจากภายนอกทั้งทางน้ำและทางอากาศ โดยการป้องกันทางน้ำทำได้โดยขุดคูรอบแปลง การป้องกันทางอากาศให้ปลูกพืชกันชนทั้งไม้ทรงสูง ทรงสูงปานกลาง และต้นเตี้ยบนคันกันน้ำรอบแปลง ส่วนการวางแผนป้องกันให้จัดระบบการระบายน้ำการเก็บเกี่ยวรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และการเข้าออกในไร่นา ด้านการวางแผนระบบการปลูกพืช ควรเลือกฤดูปลูกที่เหมาะสม พันธุ์พืชที่ต้านทานโรคแมลงพืชบำรุงดิน พืชไล่แมลง เป็นต้น

3. การเลือกพันธุ์ปลูก ให้คำนึงถึงสภาพดินสภาพภูมิอากาศ ความต้านทานโรคแมลงและวัชพืช ตลอดจนความหลากหลายของชนิดพืชในแปลงไม่ใช้พืชที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรม(GMO) หากเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มาจากการปลูกแบบอินทรีย์จะดีมาก

4. การปรับปรุงบำรุงดิน ให้เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง ถ้าดินเป็นกรดจัดให้ใส่ปูนบดลดความเป็นกรด ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เช่น โสน ถั่ว พุ่ม ถั่วมะแฮะ หรือถั่วชนิดอื่นๆ (โสนควรปลูกในนา ถั่วต่างๆ ควรปลูกในไร่) การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเศษซากพืชเพื่อช่วยปรับโครงสร้างดินและให้ธาตุอาหารแก่พืชหากดินขาดโปแตสเชียมและขี้เถ้า แต่ถ้าดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต

5. การจัดการศัตรูพืช ก่อนปลูกกรณีที่ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกควรใช้พันธ์ต้านทานโรคแมลง และวัชพืช จากนั้นให้แช่เมล็ดในน้ำอุ่นนาน 10-30 นาที เพื่อกำจัดเชื้อราและแมลงบางชนิดที่ติดมากับเมล็ด คลุกเมล็ดด้วยจุลินทรีย์ เช่น เชื้อไตรโคเดอร์ม่า เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส สัปทิลิส ขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูกให้ไถตากดิน 1-2 สัปดาห์ เมื่อเมล็ดวัชพืชงอกแล้วไถกลบ ใช้พลาสติกใสที่ไม่ย่อยสลายคลุมแปลงกำจัดวัชพืชในดินที่ต้องการแสงแดด ใช้ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาวปรับความเป็นกรด-ด่าง ของดินเพื่อให้เชื้อโรคไม่เติบโต ขังน้ำท่วมแปลงเพื่อควบคุมโรคแมลงที่อยู่ในดิน ตากดินให้แห้งเพื่อกำจัดโรคแมลงในดิน ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าลงในดินเพื่อป้องกันระบาดของเชื้อราบางชนิด

 

12 Viet Coung
See Link