1 วิทย์ อนุศาสนะนันทน์

การเกษตรแบบเน้นผลตอบแทนสูงสุด( Conventional Agricultural Farming) เป็นการใช้ปัจจัยการผลิตทุกอย่างเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ซึ่งทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดมาใช้ในการผลิต ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นแยกได้เป็น 5 กลุ่มคือ

1.ผลกระทบต่อทรัพยากรดิน
2.ผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ
3.ผลกระทบต่อทรัพยากรอากาศ
4.ผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์
5.ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

1.ผลกระทบต่อทรัพยากรดิน การเกษตรแบบเน้นผลตอบแทนสูงสุด( Conventional Agricultural Farming) `มีการใช้การไถพรวนโดยเครื่องจักรทำให้เกิดการพังทลายของหน้าดิน โครงสร้างของดินเสียไป ดินเมื่อถูกไถพรวนบ่อยครั้งก็จะอัดแน่นไม่มีช่องอากาศในดิน สิ่งมีชีวิตเช่น จุลินทรีย์ในดิน ใส้เดือนฝอยไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เกิดผลเสียต่อการเจริญของพืชอย่างมาก ผลจากการเกิดการพังทลายของหน้าดิน เมื่อฝนตก น้ำจะฉะล้างหน้าดินทำให้สูญเสียหน้าดิน อินทรีย์สาร และความอุดมสมบูรณ์ของดินเสียไป

2..ผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ การเกษตรแบบเน้นผลตอบแทนสูงสุด( Conventional Agricultural Farming) `มีการใช้ปุ๋ยสังเคราะห์ สารเคมีซึ่งจะเกิดการปนเปื้อน ตกตะกอนและตกค้างในดินและในน้ำใต้ดินส่งผลต่อมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว การทำปศุสัตว์ที่มีการล้างมูลและของเสียจากการเลี้ยงสัตว์ทำให้เกิดปริมาณไนเตรทและ ฟอสฟอรัสสูง สาหร่ายเจริญคลุมผิวน้ำเรียก Algae blooms อ๊อกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านเข้าสู่น้ำได้ทำให้ระดับอ๊อกซิเจนในน้ำลดลงส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ
ผลจากการประชุมเรื่องWho will pay for on farm environmental Improvements in the twenty the first Century. จัดขึ้นที่NAL.ในBeltsville, Maryland เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543สรุปว่าค่าใช้จ่ายในการแก้ไขการปนเปื้อนของไนเตรทในดินมีค่าสูงถึง 6 เท่าของรายได้ที่ได้จากการใช้ไนเตรทในการเกษตรดังกล่าว
ในFlorida มีความพยายามที่จะควบคุมปริมาณการฉะล้างของฟอสฟอรัสจากมูลของวัวนมลงไปในทะเลสาบOkeechobee เพราะพบว่าฟอสฟอรัสจากมูลของวัวนมในทะเลสาบOkeechobeeทำให้ผลผลิตปริมาณน้ำนมลดลงถึง 17 เปอร์เซนต์ในพื้นที่ดังกล่าว
การใช้การชลประทานอย่างมากในการเกษตรแบบเน้นผลตอบแทนสูงสุดทำให้พัดพาเอาแร่ธาตุต่างๆในดินออกไปเหลือเกลือเกิด Salinization of soil ทำให้ไม่สามารถปลูกพืชได้

3.ผลกระทบต่อทรัพยากรอากาศ โรงงานอุตสาหกรรมการเกษตรมีการปล่อยแก็สที่ทำให้เกิดสภาวะการณ์เรือนกระจก(Green house effect)เช่นChlorofluorocarbon ทำให้โลกร้อนขึ้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

4.ผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ ผลกระทบจากการทำการเกษตรแบบเน้นผลตอบแทนสูงสุดที่มีต่อทรัพยากรดิน น้ำ อากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพย่อมมีผลต่อมนุษย์อย่างแน่นอน

5.ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การทำการเกษตรแบบเน้นผลตอบแทนสูงสุดมีการขยายพื้นที่ปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต มีการบุกรุกทำลายป่า มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า ห่วงโซ่อาหารถูกทำลาย ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรุนแรง สัตว์ป่าหลายชนิดสูญพันธุ์เช่น Coyotes
ระบบการเกษตรอุตสาหกรรมแบบเน้นผลตอบแทนสูงสุดเมื่อได้ผลผลิตในปริมาณมาก มีการใช้พลังงานมากในการสูบน้ำจากใต้ดินเพื่อการเกษตร การใช้พลังงานน้ำมันเพื่อการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรโดยห้องเย็น สู่ผู้บริโภค การเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรห้องเย็นเพื่อป้องกันการเน่าเสีย การบรรจุหีบห่อ เหล่านี้ต้องเสียพลังงานไปมาก และเป็นการสูญเสียพลังงานที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้(Non renewable resource)
แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวคือการใช้การเกษตรแบบยั่งยืนที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในโลก
มีความพยายามในการลดการใช้พลังงานในการทำการเกษตรอุตสาหกรรมเช่นการใช้แหล่งพลังงานจากมูลสุกรหมัก(Biogas)มาใช้ในการกกลูกสุกร ให้แสงสว่างในฟาร์มและในครัวเรือน


2 ณัฏฐิณี ภัทรกุล
ปัจจุบันการทำการเกษตรสมัยใหม่ได้เน้นให้ความสำคัญต่อผลผลิตสูงสุดแต่เพียงอย่างเดียว แม้จะส่งผลทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ แต่หากมองในอีกทางหนึ่งจะพบว่า การทำการเกษตรที่เน้นแต่ผลลิตสูงสุดนี้ได้ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์มากมายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผลที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรกล ปุ๋ย สารเคมี รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ถูกต้อง ย่อมส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์มากมายดังจะกล่าวต่อไปนี้
การทำการเกษตรแบบปลูกพืชเดียวมีผลทำให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุล ห่วงโซ่อาหารถูกทำลาย เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่ายเนื่องจากพืชเจริญเติบโตพร้อม ๆ กัน ทำให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชถูกชะล้างไปด้วย ดังนั้นจึงทำให้ต้องใส่ปุ๋ยในปริมาณมากขึ้นเพื่อเพียงพอต่อการเจริญเติบโต แต่หากการเกษตรเน้นการใส่ปุ๋ยมากจนเกินไปนั้นปุ๋ยที่ใส่อาจเกิดผลเสียได้ เช่น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่มากเกินไปเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ไนเตรตในน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่บริโภคน้ำจากใต้ดินได้ เกิดภาวะน้ำเน่าเสีย เนื่องจากไนโตรเจนที่มีในน้ำมาก ๆ จะไปเร่งการเจริญเติบโตของสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ทำให้ขาดออกซิเจนขึ้นในแหล่งน้ำ นอกจากนี้หากมีไนโตรเจนในปริมาณสูงยังเกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ลงไปในดินจะสะสมอยู่ในชั้นดินบน เมื่อเกิดการชะล้างพังทลายและถูกพัดพาไปสู่แหล่งน้ำก็จะเกิดปัญหาขาดออกซิเจนเช่นเดียวกัน เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
การทำการเกษตรในปัจจุบันเน้นการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและแมลงจำนวนมากขึ้นเพื่อทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภค และยังมีผลกระทบในระยะยาว ทำให้สมดุลทางสภาพธรรมชาติสูญเสียไป ทำให้ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น ในกรณีของแมลงศัตรูพืชเกิดอาการต้านทานสารเคมีหรือดื้อยา เพราะการพ่นยาพร่ำเพรื่อทำให้แมลงสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น ดังนั้นจึงต้องเพิ่มความเข้มข้นหรือพ่นสารเคมีบ่อยขึ้น ยิ่งทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น นอกจากนี้การพ่นสารเคมีมาก ๆ ยังทำให้แมลงที่เป็นประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน ที่เป็นกลไกธรรมชาติที่ช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชไม่ให้มากเกินสมดุล การเสียสมดุลทางธรรมชาติเปิดโอกาสให้ศัตรูพืชระบาดมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลเสียต่อจุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์ต่อการย่อยสลายอินทรียวัตถุและมีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน ส่วนผลกระทบที่เกิดจากผลผลิตที่มีสารพิษตกค้างทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และที่สำคัญส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในด้านสินค้าส่งออก ทำให้ต่างประเทศไม่ยอมรับสินค้าของประเทศไทย
นอกจากนี้การใช้เครื่องจักรกลต่าง ๆ ในการเกษตรก็ส่งผลเสียมากมายทั้งผลกระทบต่อการเกษตรและต่อสภาพแวดล้อม เช่น ได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ นอกจากนั้นการใช้เครื่องจักรในแปลงบางชนิดยังส่งผลให้เกิดการอัดแน่นของหน้าดิน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งการเจริญของรากและการดูดซึมแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ การถ่ายเทอากาศและน้ำในดินไม่ดี
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การทำการเกษตรสมัยใหม่ที่ต้องการให้ได้ผลผลิตสูงสุดเพียงอย่างเดียวนี้ได้ส่งผลเสียมากมาย เช่น ส่งผลเสียต่อสุขภาพเกษตรกร ผู้บริโภคได้รับสารพิษทั้งทางตรงและทางอ้อม ห่วงโซ่อาหารถูกทำลาย สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมขึ้น เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรตระหนักถึงผลเสียที่ตามมาเหล่านี้ ซึ่งควรจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการปลูกใหม่ โดยเปลี่ยนจากการปลูกเพื่อ Maximum Yield ไปเป็น Optimum Yield จะช่วยทำให้ผลเสียต่าง ๆ นี้เกิดขึ้นน้อยลง และระบบนิเวศน์ก็จะมีความสมดุลมากขึ้น โดยควรเน้นการพึ่งพาธรรมชาติควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

3 จิราวัฒน์ ปัญญาเทียม
การปฏิบัติการทำลายผิวหน้าดินอันเนื่องมาจาก การลงทุนใช้เครื่องจักรเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกพืชโดยตรง การไม่ใช้การทำลายผิวหน้าดินจะช่วยประหยัดแรงงานและค่าเชื้อเพลิงลงในแต่ละปี ไม่มีความจำเป็นที่จะทำลายหน้าดินก่อนการเพาะปลูกสามารถประหยัดเงินและค่าเชื้อเพลิงจะช่วยลดค่าใช้จ่าย การปลูกโดยตรงจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการใช้เครื่องจักรในการทำลายผิวหน้าดินก่อน
การปลูกในปัจจุบัน การทำลายผิวหน้าดินจะเพิ่มค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นค่าเชื้อเพลิง ค่าแรงงาน ซึ่งเทียบกับวิธีอนุรักษ์หน้าดินในบ้างครั้งไม่จำเป็นต้องถากถางหรือปรับปรุงหน้าดินบ้างส่วนดังนั้นเกษตรกรควรเลิกทำลายหน้าดิน ในบางประเทศรัฐบาลจะส่งเสริมให้เกษตรกรเลิกทำลายหน้าดินเพื่อลดการสูญเสียในชั้นผิวหน้าดิน
ผลผลิตของพืชที่ได้จากดินที่เสื่อมโทรมจะมีผลผลิตน้อยกว่าดินที่อุดมสมบูรณ์เพราะดินที่เสื่อมโทรมจะมีการสูญเสียแร่ธาตุอาหารในดิน น้ำ และจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์สำหรับการปลูกพืช
แหล่งทรัพยากรของน้ำลดลงเนื่องจากการเสื่อมโทรมของดินด้วยการใช้ปุ๋ยปริมาณมาก การใช้ยาฆ่าแมลง การชลประทานที่ผิดวิธีทำให้เกิดการเสื่อมลงของหน้าดินทำให้เกิดมลพิษ ปัญหาด้านสุขภาพ ทำลายสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ และการใช้เชื้อเพลิงในปริมาณที่สูงขึ้นทำให้ระบบการเกษตรไม่ยั่งยืน
การเกษตรในปัจจุบันจะทำลายสภาพแวดล้อมรวมถึงการเผาซากพืชหลังจากการเก็บเกี่ยว เช่น ตอซังข้าว เพื่อควบคุมวัชพืชและการหยอดเมล็ดในแนวนอนหลังจากควรพิจารณาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบดินจากการอัดตัวแน่นของดิน การสูญเสียจากการปนเปื้อนของตะกอน ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในแหล่งน้ำ และจะทำให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ จะทำให้โลกร้อนขึ้น และลดการทำการเกษตรแบบยั่งยืนจะทำได้น้อยลง

4 สยาม กันธา
การทำการเกษตรแบบไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่างๆ อย่างมากมายต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ย การใช้ยาฆ่าแมลง การใช้ยากำจัดวัชพืช การเขตกรรมที่ไม่ถูกวิธี การให้น้ำแก่พืช
ผลกระทบต่อการเกษตรเช่นการใส่ปุ๋ยมากหรือมีการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก มีผลกระทบหลายด้าน เช่นดินจะมีการจับตัวกันแน่นขึ้น ปุ๋ยที่ตกค้างในดินจะมีการชะล้างลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดมลพิษต่อปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ คือจะทำให้มีการสะสมสารตกค้างในสิ่งมีชีวิตและอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่บริโภคต่อไป โดยปุ๋ยประเภทฟอสเฟตจะมีผลมากต่อพวก จอก แหนและพวกตะใคร่น้ำเมื่อพวกนี้ได้รับฟอสเฟตที่ชะล้างลงสู่แม่น้ำจะทำให้พวกนี้เจริญเติบโตได้ดีและรวดเร็วอาจจะทำให้เกิดการปกคลุมผิวน้ำเป็นจำนวนมากทำให้แสงไม่สามารถส่องลงไปในน้ำได้ดีอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้เนื่องจากแบคทีเรียพวกที่ไม่ไช่ออกชิเจนปล่อยสารพิษออกมา
การใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมากเกินไปอาจมีผลกระทบต่อพืชที่ปลูกในปีถัดไป คือปุ๋ยเคมีจะทำให้ดินเป็นกรดทำให้ความสามารถในการดูดซึมธาตุอาการของพืชบางชนิดลดลงน้อยลงและอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของเบคทีเรียบางชนิดในดินที่เป็นประโยชน์ไม่สามารถเจริญเติบโตได้หรือเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร ในดินที่เป็นกรด
การใช้ยากำจัดวัชพืชมากเกินไป มีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากยากำจัดวัชพืชเป็นสารพิษและมีผลตกค้างยาวนาน ยากำจัดวัชพืชบางประเภทมีพิษรุนแรงและได้มีการประกาศไม่ให้มีการนำมาใช้เช่น ทูโพว์ไพว์ที (2,4,5-t) ซึ่งมีผลกระทบมาก ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยและพิการได้ในคนและสัตว์ และยังมีผลพืชปลูกได้เช่นอาจมีการชักนำให้เกิดการ กลายพันธุ์ได้ มีผลต่อพืชปลูกอาจทำให้มีการเจริญผิดปกติผลผลิตลดลงได้ถ้าหากมีการชะล้างลงสู่แม่น้ำมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำอาจทำให้สัตว์น้ำมีการสะสมสารพิษและเป็นอันตรายต่อคนที่นำสัตว์น้ำนำมาบริโภค
ยาฆ่าแมลงก็มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ยาฆ่าแมลงที่มีระยะเวลาในการสลายตัวนานจะมีผลกระต่อสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลายาวนาน ถ้ามีการใช้ยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมากโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมอาจทำให้เกิดอันตรายเป็นอย่างมากต่อ สิ่งแวดล้อม คน เช่นในการใช้ยาฆ่าแมลงในสวนส้มในปัจจุปันมีการใช้ยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมากทำให้คนที่ทำงานในสวนส้มมีอายุสั้นขึ้นเนื่องจากได้รับสารพิษเป็นจำนวนมาก มีผลกระทบต่อแมลงที่เป็นตัวห้ำตัวเบียนอาศัยอยู่ มีการชะล้างของสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ และยังมีการปลิวหรือมีการแพร่กระจายสู่ชุมชนเป็นอันตรายเป็นอย่างมาก ในพืชผลที่มีการส่งออก ถ้าหากมีการปนเปื้อนของสารเคมีพวกนี้อาจจะทำให้เกิดความเสียหายในทางเศรษฐกิจได้
ในการเขตกรรมในปัจจุบันได้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมากทำให้พื้นที่ป่าลดลง ทำให้มีการชะล้างของหน้าดินทำให้ดินสูญเสียหน้าดินไป หรือในการทำการเกษตรโดยที่มีการไถพรวนมากเกินไปอาจทำให้ดินละเอียดเกาะตัวกันแน่นขึ้นทำให้การไหลผ่านของน้ำหรืออากาศผ่านได้ยากมากขึ้น การปลูกพืชชนิดเดียวกันติดต่อกันไปโดยไม่มีการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนอาจจะทำให้มีการระบาดของโรคและแมลงเพิ่มมากขึ้น
ในการให้น้ำหรือการชลประทานเพื่อการเกษตรอาจจะทำให้เกิดมลพิษได้เช่น น้ำที่เก็บหรือกักไว้อ่างเก็บกักน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรหรือใช้ในนาข้าว บางส่วนก็จะหาทางไหลกลับไปสู่แหล่งน้ำที่ต่ำกว่า หรือคลองระบายน้ำ ทำให้น้ำเหล่านี้เกิดปัญหามลพิษได้เพราะน้ำมีคุณภาพต่างไปจากเดิม อาจมีสารพิษตกค้างของยาฆ่าแมลง หรือไม่ก็อาจมีการนำพาปุ๋ยติดมาด้วยซึ่งจะเป็นอันตรายต่อ คน สัตว์และสิ่งแวดล้อมด้วย

5 ชุติมา สุรีพิทักษ์
การใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุด ทั้งในด้านการเพาะปลูก โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพื้นที่ การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช ได้แก่ ยาปราบศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี การชลประทานเพื่อการเกษตร และด้านการเลี้ยงสัตว์ โดยไม่มีการวางแผนที่ดี ทำให้ความสมดุลของระบบนิเวศน์ เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
การปรับพื้นที่และการเตรียมพื้นที่ปลูก มีผลต่อองค์ประกอบของดิน เช่นอินทรีย์วัตถุ น้ำและ อากาศในดิน ซึ่งในสภาพปกติจุลินทรีย์ในดินจะเป็นตัวการในการทำให้ดินร่วนซุยและอ่อนนุ่ม รวมทั้งให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน เมื่อพืชหยั่งรากลึกลงไปนั้นอากาศและน้ำก็จะติดตามไปด้วย และเมื่อพืชตายไป จุลินทรีย์ก็จะทำการย่อยสลาย ซึ่งหมายถึงการเพิ่มปริมาณของฮิวมัส และโดยเฉพาะไส้เดือนจะเป็นผู้ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุยได้เป็นอย่างดี
โดยโครงสร้างของดินถูกทำลาย เนื่องจากการไถพรวนที่ผิดวิธี โครงสร้างดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และการทำงานของสิ่งมีชีวิตในดิน เช่น หากอนุภาคดินจับกันเป็นชั้นแข็ง เนื่องจากอนุภาคดินมีขนาดเล็กลงและเข้าไปอุดตามช่องอากาศเล็กๆเหล่านั้น ต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดที่ปลูกไว้ก็จะโผล่พ้นดินได้ยาก การกระจายของรากลดลง หรือรากตื้น หรือมีการแผ่ขยายในแนวนอนมากกว่าจะหยั่งลึกลงไป กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ของจุลินทรีย์ดินก็จะลดลงตามไปด้วย
สารเคมีที่นำมาผลิตยาปราบศัตรูพืชมีมากถึง 1,500 ชนิดซึ่งผสมเป็นสูตรต่างๆถึง 60,000 สูตร แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช ยาฆ่าหนู และยาฆ่าเชื้อรา เช่น DDT, Dieldrin, Endrin และ Lindane เป็นต้น ได้ถูกนำมารดและฉีดให้กับพืช ยาฆ่าแมลงประเภทนี้ถูกย่อยสลายได้ยากจึงมีความเป็นพิษตกค้างได้นาน และสามารถปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำได้จากการชะล้างโดย ฝน เกิดมลพิษทางน้ำ ผู้บริโภคก็สามารถรับสารพิษเหล่านี้ได้โดยตรงจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนยาปราบศัตรูพืช โดยเมื่อสารเคมีเหล่านี้ได้เข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตก็จะเกิดการสะสมขึ้นทีละน้อย จนเป็นอันตรายต่อชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ โดยแมลงศัตรูพืชทุกชนิดจะมีแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรู ซึ่งจะช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของแมลงศัตรูพืชโดยการกินโดยตรง (ตัวห้ำ) และการเข้าไปอาศัยอยู่ในตัวศัตรูพืช (ตัวเบียน) แม้ว่าแมลงจะสามารถปรับตัวให้ต้านทานสารเคมีได้ แต่ปัญหาที่พบคือ ศัตรูพืชจะสามารถปรับตัวให้ต้านทานได้เร็วกว่าตัวห้ำ ทำให้จำนวนศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
จากการศึกษาพบว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2001 ประเทศต่างๆมากกว่า 120 ประเทศ ได้ลงนามในข้อตกลงประวัติศาสตร์ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะขจัดสารเคมีอันตรายร้ายแรงที่สุดในโลกบางชนิดออกไป อนุสัญญาสต๊อกโฮล์มว่าด้วยมลพิษตกค้างยาวนาน (The Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants-POPs) ถือเป็นการบรรลุจุดสุดยอดในความพยายามที่จะห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีรายชื่อทั้ง 12 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงยาฆ่าแมลงอย่างอัลดริน เอ็ดดริน ท๊อกซาเฟน คลอแดน ดีลดริน เฮ็พตาคลอร์ มิเร็กซ์ และดีดีที เป็นที่ทราบกันดีว่า มลพิษตกค้างยาวนานนั้นคงสภาพอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ยาวนาน และสามารถแพร่กระจายไปยังที่ต่างๆ ได้ไกลจากแหล่งกำเนิดดั้งเดิมมาก พบว่าอาจสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหารและมีแนวโน้มที่จะสะสมอยู่ในไขมันในร่างกายมนุษย์และสัตว์ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการส่งผ่านสารเคมีเหล่านี้ไปยังลูกหลานของทั้งมนุษย์และสัตว์โดยผ่านทางน้ำนม
มลพิษตกค้างยาวนานเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงด้านสุขภาพของมนุษย์ และยังก่อให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดอีกด้วย ปัญหาอื่นๆที่กี่ยวข้องกับการเกิดมลพิษตกค้างยาวนานก็รวมไปถึงความผิดปรกติในกระบวนการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ ความผิดปรกติทางการเรียนรู้ และลดภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ มลพิษตกค้างยาวนานโดยเฉพาะไดอ๊อกซินอาจไม่มีความปลอดภัยเพียงพอในการต้านพิษ หากมีการแพร่กระจายของสารเหล่านี้แม้ในปริมาณที่น้อย ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นพิษได้ โดยเฉพาะถ้าเกิดปฎิกริยากับสารเคมีอื่นๆ
การใช้ปุ๋ยเคมี ที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนและฟอสฟอรัส เพื่อเป็นธาตุอาหารของพืช ถ้าใช้มากเกินไป เมื่อมีการชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำมีธาตุอาหารมากเกินไป (eutrophication) ทำให้แพลงค์ตอนพืชมีการเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลงใน ทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำชนิดอื่นได้รับผลกระทบไปด้วย เนื่องจากเกิดการแก่งแย่งออกซิเจนกันขึ้น นอกจากนี้ การใส่ปุ๋ยเคมีจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในดิน เนื่องจากจะทำให้ดำรงชีวิตและดำเนินกิจกรรมอย่างยากลำบากและตายไปในที่สุด การใส่ปุ๋ยเคมีที่มากเกินไปจะทำให้ดินอยู่ในสภาพที่เป็นกรดสูง จากการได้รับกรดซัลฟูริคที่มาในรูปของแอมโมเนียมซัลเฟต ซุปเปอร์ฟอสเฟต และโปรแทสเซียม จะไปทำลายจุลินทรีย์ในดิน ดินแข็งและแน่นมากขึ้น สำหรับเกษตรกรแล้วอาจกล่าวได้ว่า มีการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็นอยู่มากเพราะยังคิดว่าการใส่ปุ๋ยให้ประโยชน์มากกว่าไม่ได้ใส่อะไรเลย ดังนั้นเกษตรกรจึงยังคงสูยเสียเงินไปกับการซื้อปุ๋ยเป็นจำนวนมาก เพื่อบำรุงดิน
น้ำที่ได้จากการชลประทาน เพื่อใช้ในการเกษตร เช่นการทำนา เลี้ยงพืชผัก เมื่อถูกนำไปใช้แล้วบางส่วนก็จะไหลกลับลงสู่แหล่งน้ำที่ต่ำกว่า นั่นคือคลองระบายน้ำ เรียกว่า น้ำชลประทานไหลกลับ (irrigation return flow) คุณภาพที่ได้อาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากมีพิษตกค้างของสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรปนเปื้อนมาด้วย
การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม เพื่อให้สามารถผลิตได้สูงสุด เช่น การเลี้ยงไก่รวมกันอย่างหนาแน่น ไก่จะได้รับการกำจัดโรคต่างๆที่เกิดขึ้น ได้รับยาอย่างต่อเนื่องและได้รับอาหารอย่างดีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต วัว สุกร กุ้งที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวและมีการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่ป่วย สัตว์เหล่านี้ถูกกำหนดวงจรชีวิต สูญเสียลักษณะการดำเนินชีวิตตามสภาพธรรมชาติไป สัตว์เกิดความเครียดและอ่อนแอ และเมื่อนำไปบริโภคพบว่ามีสารตกค้างอยู่ในเนื้อสัตว์ เกิดผลเสียต่อผู้บริโภคได้

6 ปราฌัญ จันทร์เป็งผัด

ผลของ Conventional agriculture ที่มีผลต่อระบบนิเวศวิทยา ในที่นี้จะกล่าวถึงผลกระทบของยาฆ่าแมลงที่มีต่อความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ยาฆ่าแมลงมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่โดยทั่วไป แตกต่างกันไปมากมายหลายระดับ ทำให้ตายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรืออาจจะไม่ตาย ซึ่งในตอนนี้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่ายาฆ่าแมลงมีศักยภาพที่จะทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่พบเห็นกันอยู่ในปัจจุบันลดจำนวนลงได้

ผลกระทบของยาฆ่าแมลงที่มีต่อความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
1. การแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ
ได้คาดคะเนกันว่ายาฆ่าแมลง 70-90% ใช้บนพื้นดิน และอีกประมาณ 25-50% เท่านั้นที่ใช้ในอากาศ (โดยการพ่นหรือโปรยจากเครื่องบิน อื่นๆ )เพื่อกำจัดแมลงในพื้นที่เป้าหมาย (*WWF, 1999).สิ่งที่เหลืออยู่ก็จะกระจัดกระจาย เข้าไปในสภาพแวดล้อมไปยังที่ที่มีสิ่งมีชีวิต และมนุษย์อาศัยอยู่ ยาฆ่าแมลงสามารถเข้าไปสู่แหล่งหรือพื้นที่ที่ไม่มีการ กสิกรรมได้หลายทาง โดยทางตรงเช่นการพ่นยาฆ่าแมลงมากเกินความจำเป็น หรือในพื้นที่ที่มีการพ่นยาฆ่าแมลงบ่อยครั้งเพื่อควบคุมของแมลงและวัชพืช (Boutin et al., 1999).โดยทางอ้อม ยาฆ่าแมลงสามารถที่จะแพร่กระจายจากที่ที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงไปยังที่อื่นได้หลายทาง เหล่านี้: การขนส่งของอนุภาคอากาศ (ละออง, ฝุ่น,หมอก) ตามกระแสอากาศ(Rolland et al., 1995), การไหลบ่าของน้ำจากแปลงปลูกพืชไปสู่น้ำผิวดิน(เช่นนั้นเป็นลำธารและทะเลสาบ) หลังจากฝนตกหนัก(Berenzon et al., 2000), การสูญเสียน้ำผิวดินลงไปยังน้ำใต้ดิน (*EPA), การเคลื่อนย้ายโดยผ่านสัตว์ซึ่งมีการเดินทางระยะไกลจากที่ที่มีการปนเปื้อนไปยังแหล่งอื่น (Rolland et al., 1995), และตามกระแสน้ำของมหาสมุทรซึ่งสามารถพัดพาสารเคมีจากทวีปหนึ่งสู่อีกทวัปหนึ่งได้ (Rolland et al., 1995).

2. ผลกระทบโดยตรง

ยาฆ่าแมลง bioaccumulative organochlorine (เช่น DDT) ยกตัวอย่างเช่น, carbamate insecticides ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทของแมลงและยังมีผลต่อนก, ปลา, ผึ้ง, และสัตว์อื่นๆ (*EPA).นกจะได้รับยาฆ่าแมลงเป็นฝุ่นผง หรือกินอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมี (Boutin et al., 1999).เพราะว่านกมากมายมีชีวิตและอาศัยอยู่รอบๆฟาร์ม นกอยู่ไม่ค่อยเป็นหลักแหล่งโดยเฉพาะในสวนแอปเปิลหรือสวนผลไม้เพราะว่าความเป็นพิษ ของทางเคมีใช้และจำนวนครั้งที่ใช้ในแต่ละฤดูสูงถึง10-12 ต่อฤดู (Boutin et al., 1999). ส่วนใหญ่ carbamates และorganophosphates มักถูกใช้ในสวนผลไม้ซึ่งเป็นพิษต่อนก (Boutin et al., 1999).

3. ผลกระทบต่อ subacute
หลักฐานที่พบมากที่สุดของsubacute ซึ่งเป็นผลของยาฆ่าแมลงต่อสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับสารเคมีในกลุ่มที่มีชื่อว่า Endocrine Disrupters ซึ่งเป็นสาเหตุให้ชีวเคมีและสรีรวิทยาเกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างระยะ embryonic และระยะเริ่มต้นของ postnatal ของการพัฒนา(Rolland et al., 1995).
bioaccumulative organohalogen compound ( เหมือน DDT และยาฆ่าแมลงอื่นๆ) (Colburn & Clement, 1992) ทำลายพัฒนาการช่วงเจริญพันธุ์, ภูมิคุ้มกัน, ระบบประสาท, และระบบendocrine,
ตัวอย่างอื่นๆของผลกระทบของendocrine disruptors:
thyroid dysfunction: นก, ปลา
การผสมพันธุ์ติดลดลง: นก, ปลา, mammals
การเกิดลดลง: นก, ปลา, เต่า
deformitiesวันเกิด: นก, ปลา, turtles
metabolic abnormalities: นก, ปลา, mammals
behavioural abnormalities: นก
feminization ของเพศผู้, masculinization ของเพศเมีย: ปลา, นก, mammals
ระบบภูมิคุ้มกัน: นก, mammals (Colburn & Clement, 1992)

4. ผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารเมื่อได้รับสารพิษอาจจะได้รับในปริมาณที่น้อยไม่อาจทำอันตรายได้ แต่สารพิษเหล่านั้นจะสะสมมากขึ้นจนในที่สุด ก็จะมากพอที่จะทำอันตรายถึงตาย ทำให้เกิดความไม่สมดุลของห่วงโซ่อาหารเกิดขึ้น เช่น ปลาในน้ำได้รับสารพิษตายไป ผู้ล่าที่กินปลาเป็นอาหารเช่นนกบางชนิดจะขาดอาหาร หรือไม่เมื่อนกกินปลาที่ได้รับสารพิษนั้นเข้าไปสารพิษก็จะเข้าไปสะสมในนกนั้นต่อไป ซึ่งสารพิษเหล่านี้ก็จะวนเวียนอยู่ในห่วงโซ่อาหารต่อไป อาจจะอยู่ได้นานแล้วแต่อายุการย่อยสลายของสารพิษดังกล่าว
เช่น ระดับของ DDT ที่สูงทำให้ไข่ของ American Robins ไม่ฟักเป็นตัว
Reference
Boutin, C., K.E. Freemark, and D.A. Kirk. 1999. Farmland birds in Southern Ontario: field use, activity patterns and vulnerability to pesticide use. Agriculture, Ecosystems and Environment 72:239-254.

Berenzen, N. et al. 2000. Information system for the ecotoxicological evaluation of surface water quality regarding pesticide input from agriculture. Limnology and Ecotoxicology Department - Technical University Braunsweig. http://www.tu-bs.de/institute/zoology/limnology/limnology.htm

Boutin, C., K.E. Freemark, and D.A. Kirk. 1999. Farmland birds in Southern Ontario: field use, activity patterns and vulnerability to pesticide use. Agriculture, Ecosystems and Environment 72:239-254.

Colborn, T. and C. Clement, eds. 1992. Chemically-Induced Alterations in Sexual and Functional Development: The Wildlife Connection. Princeton Scientific Publishing: New Jersey. http://www.worldwildlife.org/toxics/progareas/ed/con_1.htm

Rolland, R., M. Gilbertson and T. Colborn, eds. 1995. Environmentally induced alterations in development: a focus on wildlife.Environment Health Perspectives 103, Suppl. 4: 3-5. www.worldwildlife.org/toxics/progareas/ed/con_2.htm

WWF. 1999. Beneficial bugs at risk from pesticides. Site is for a printed document. Available at http://www.neteffect.ca/pesticides/resources/bugs-at-risk.pdf



7 ชนิดา แทนธานี
ในช่วงระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การเกษตรของประเทศไทยได้ถูกผลักดันเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ ซึ่งเน้นเป้าหมายไปที่ระบบธุรกิจการค้าสนับสนุนการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวเป็นหลักมีการนำเอาเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ ๆ เข้ามาใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ อีกทั้งมีการนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเข้ามาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตตอบสนองความต้องการของตลาด และเพิ่มรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรนั้น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ในขณะที่การพัฒนาการเกษตรดำเนินไปอย่างรวดเร็วภายใต้อิทธิพลของระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ ได้ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ดังเช่น มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนำให้เกิดปัญหาฝนแล้ง น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม เกิดปัญหาการเสื่อมโทรมของความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปัญหาสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อม เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ปัญหาความยากจนและหนี้สิน ปัญหาความล้มเหลวของชุมชนและระบบวัฒนธรรมรวมทั้งเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเกษตกรและของผู้บริโภค
อารันต์ พัฒโนทัยได้สรุปปัญหาซึ่งเป็นผลมาจากระบบเกษตรกรรมในช่วงที่ผ่านมาได้เป็น 3 หัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การเสื่อมโทรมและสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การเสื่อมโทรมของดิน การลดลงของปริมาณน้ำ การสูญเสียป่าไม้ การสูญเสียแหล่งพันธุกรรม การสูญเสียแหล่งพลังงาน
2. สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม
3. การเกษตรสมัยใหม่ทำลายสังคมชนบท
ซึ่งโดยสรุปแล้วสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีปฏิบัติที่ส่งผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเพราะสถานการณ์ชักจูงหรือบีบบังคับสถานการณ์นั้นได้แก่ ความไม่รู้ถึงผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม (อาจมาจากคำแนะนำที่ไม่เหมาะสมหรือมีการใช้ปัจจัยบางอย่างเกินอัตรา)ทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะใช้วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาระบบการเกษตรไปในแนวทางใหม่ คือ ระบบเกษตรกรรมทางเลือกที่มีการปรับรูปแบบการผลิตให้สอดคล้องและฟื้นฟูระบบนิเวศใช้ปัจจัยการผลิตต่ำ หลีกเลี่ยงหรือเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันระบบการเกษตรที่จัดอยู่ในระบบเกษตรกรรมทางเลือกมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ

1. การเกษตรแบบผสมผสาน หมายถึงระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและ/หรือมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกันโดยกิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดสามารถเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดด อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลย์ของสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
A. การปลูกพืชแบบผสมผสาน
B. การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์
C. การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์

2. เกษตรกรรมธรรมชาติ เป็นระบบเกษตรกรรมแบบไม่กระทำ ลดการแทรกแซงของมนุษย์ แสวงหาและกระทำเพียงสิ่งที่จำเป็นต่อการเกษตรเท่านั้น ปรับรูปแบบการเกษตรให้สอดคล้องกับระบบนิเวศและธรรมชาติ และไม่นำพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มมาใช้ ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่โดย นายมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ นักเกษตรกรรมชาติชาวญี่ปุ่น โดยมีหลักการที่สำคัญ 4 ประการคือ
A. ไม่ไถพรวนดิน
B. งดเว้นการใส่ปุ๋ยบางชนิด
C. ไม่กำจัดวัชพืช
D. ไม่กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช

3. เกษตรกรรมอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ แต่อาศัยการปลูกพืชหมุนเวียน เศษซากพืช มูลสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ปุ๋ยพืชสด เศษซากเหลือทิ้งต่าง ๆ การใช้ธาตุอาหารจากการผุพังของหิน แร่ รวมทั้งใช้หลักการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ทั้งนี้เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เป็นแหล่งอาหารของพืช รวมทั้งเป็นการควบคุมศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น แมลง โรค และวัชพืช เป็นต้น


8 Cuong Viet Ngo
1 - INTRODUCTION:

As we know that agricultural production is one of important activities in human society, its task is to produce food and related products to serve for human's needs. Conventional agriculture has existed in many decades and it has been maintaining and providing these in a certain level with intensified chemical fertilizers, pesticides…
Conventional agriculture - this is a concept about practice of agricultural production in recent decades, this is a normal activity of agricultural production nowadays, inputs for this are ever-intensifying. Beside type of manure, compose, … chemical fertilizers, pesticides,… are intensified to obtain high yield. However, with increase of crop yield to service for human's needs of foods, conventional agriculture also created negative impacts on environment and human society.

2 - Conventional agriculture' impacts on environment and human society.

In order to understand these, firstly we go together to understand about conventional agriculture's impacts on environment.
- Degradation of soil quality:
Conventional agriculture always uses model of mono cropping (Agricultural pests are often specific to the host - a particular crop and will multiply as long as the crop is there). So it also always intensifies water, chemical fertilizer (e.g. global mean fertilizer use more than doubled from 34 kg/ha of cropland in 1964-1966 to 86 kg/ha in 1983-1985, and expansion of irrigation from 13 to 15 percent of the world's arable land between 1974-1976 and 1984-1986) and pesticides to exploit soil's productive capacity to obtain high yield. These caused erosion of soil (mono-cropping can't prevent from erosion of soil) and degradation of soil quality (existence of heavy metal in soil from pesticides…) over years. Beside intensified crop, in order to increase production, conventional agriculture also uses expansion of cultivated area to solve this. In some situations, flood, drought can appear, areas of arable soil can be transformed into desert and they impact on environment by climate changes. These are negative impacts, it not only impacts on agricultural soil and environment nowadays but also on future generations.
Another hand, use of fertilizers can affect on soil quality by making acidified soil and it is difficult to grow crops on it with a high yield.
- When we use these chemicals, they are also destructive to the environment. It is very often when these chemicals run-off the farmland during and after rainfall and drain into nearby rivers and streams. This influx of chemicals can result in the extinction of species, and thus adversely affects the local biodiversity (Olsen lecture). Additionally, most of these pesticides have a wide spectrum of activity and as they are broadcast in sprays, they are applied against ecosystems, rather than directly to pests (Lampkin, 1997).
- Pollution of soil, water and food with pesticides and nitrates:
When we use chemical fertilizers and pesticides in conventional agriculture, a part of them will be benefited as making increase of crop yield. Their residues can be leached into soil, water, affected seriously on beneficial soil organism systems and make acidified soil or soil can't grow anymore in a long time. Others can be evaporated into gas such as N2O, NO2. Gases from these or other activities (tilling of soils permit oxidation of organic matter, producing CO2, emission of large amounts of N2O from cultivated soils, (Crutzen and Graedel 1986) or application of fertilizers increases N2O release by plants (Harriss 1989)) will also contribute to greenhouse gas - global warming.
These impacts also dealt with by Heid 1997 and Egmont-Florian 1997. They said "pollution by pesticides and nutrients is an area of great concern in many countries. Some countries have taken action to curb their use of agricultural pesticides and nutrients, such as Sweden, Denmark and The Netherlands. In some areas organic agriculture is encouraged, in order to decrease the negative effects of conventional agriculture on drinking water".
- Problem of water pollution is ready to know, chemical fertilizers and pesticides leach into soil and contaminate source of water, in light level, these residues affect on growth of crops such as stunting, low yield, in heavy level, crops can be died.
For example:
Residues of broadleaf herbicide for rice can affect seriously on next broadleaf crops.
Herbicides 2,45 T used to control weeds will affect seriously on that area by its residues exist in soil and wipe out crops in a long time.
- Activities of Livestock Production constitute a major source of CH4 emissions, which result from microbial breakdown of cellulose and other carbohydrates in their digestive tracts. Other environmental impacts of livestock include overgrazing of pasture and rangelands, leading to changes in albedo and evapotranspiration, soil erosion, and reductions in biomass. Overgrazing is evident throughout Asia, Latin Arnerica, and Africa (WRI 1990; WRI/IIED 1988). Animal wastes may also release large amounts of ammonia (NH3), which is thought to contribute to acidification of soils and aquatic systems (UNEP 1989).
- Energy use in conventional agriculture: Agriculture is a modest user of energy relative to other economic sectors, accounting for an estimated 3.5 percent of commercial energy use in developed countries and 4.5 percent in developing countries (FAO 1981). These estimates take into account energy used in irrigation, pesticide and fertilizer production, and machinery production and operation its food-related activities alone contribute a not insignificant 3-4 percent to total annual CO2 emissions. According to U.S. data for 1970-1980, energy use in food processing, marketing, and distribution appears to be growing at relatively high rates, reaching about half of energy consumed in the commercial food and fiber sector in 1980.
Besides above impacts of food production activities, other aspects of the food system are expected to have relatively limited impacts on the global environment. CFC releases associated with refrigeration of foodstuffs are relatively small; in the United States; they amounted to less than 6 percent of total CFC emissions in 1976. Recovery of CFCs from large refrigeration units may already be economical, and alternate refrigerants do exist for small home refrigerators and freezers (Laurmann 1989).
- Chemical fertilizers impact on water environment by leaching into soil and run to river, sea… by ground water, these residues will become nutrient for vegetative systems under water such as alga, seaweed. These vegetative systems will grow and develop rapidly, in this process, they will use oxygen in water and result in running out of oxygen, so others can't live more, this phenomenon is called no-life sea.
- Pesticides also impact on water environment by leaching into soil and run to river, sea… by ground water, but when their residues contaminate water, first aquatic systems are impacted and they can be died, and it is seriously important when they infiltrate source of living water such as into well…
- Another side, when we use chemical fertilizers and pesticides on crops unsuitably, they can make burnt leaf and young parts. Crop can be stunted and slowly grown.
Some pesticides are difficult to break up in normal condition will exist persistence on food used for human and livestock…
For example: insecticide 666 use for controlling pests on crops, when it contaminate source of water and fish will be absorbed by 666, when human eat that fish, 666 also accumulate into human's adipose tissue.
When we use pesticides for controlling pest, their smell will spread on a large area of environment, of course they will affect directly and indirectly on living thing in that area.
+ Beside impacts on environment, conventional agriculture also affect strongly on human society, we can know this in following aspects:
- Excessive application of fertilizers and pesticides, which are not only unhealthy for the consumer, but are also unsafe for the farmers who must be exposed to them.
- When products of over-nitrate used crops are harvested, they will very difficult to preserve because high content of water and damage from pest, so time to use will be very short and affect on economic value of product.
For example: over-nitrate used small colza crop will be rotten through rapidly.
Also in this aspects, pest will prefer over-nitrate used crop to others, so when we do this, it also mean that we must use more pesticide to control pest to maintain yield.
For example: rice stem borer will damage more strongly on area of over-nitrate used rice than others.
- When use of pesticides, positive aspect of this is protect our crops to maintain yield and economic effect, but negative aspects are their impacts on health of farmers, farm workers, farm families, rural communities.
We can list out these to human society including:
Air pollution: smoke from agricultural burning; dust from tillage, traffic and harvest; pesticide drift from spraying; and nitrous oxide emissions from the use of nitrogen fertilizer.
Water pollution: infiltration into sources of living waters such as well.
Contamination of food: persistence existence of residues on food will affect on health of human and livestock…
- Increasing resistance of pests to pesticides:
When high pressure of pest on crop, we would like to control them to maintain yield and economic effect by use of overdose, so pest will also react against by increasing resistance of pests to pesticides to exist. So we will have to use more pesticide to control, this also mean that more use of pesticide, more credit of farmers and government to buy and of course more negative impacts on environment, human society…
For example:
Nowadays, in Asia, cotton is sprayed 15-16 times a season versus 5-6 times ten years ago.
Case of rice brown plant hopper (BPH), when we use more insecticide to control, they increased resistance to pesticides by reproducing new genotype of pesticide resistance.
- Conventional agriculture also can impacts on environment and human society by activities of slash and burn, these activities produced CO2 gas that cause phenomenon of global warming.
Estimates of deforestation rates vary widely, Conventional agriculture can be perpetrator of annual disappearance of seven million hectares of closed tropical forests around 1980 and an additional four million hectares of open woodland deforested to meet agricultural or fuelwood needs (WRI/IIED 1988; but see Detwiler and Hall 1988). The extent of shifting cultivation and the nature of subsequent land uses are important uncertainties; estimates of closed primary and secondary forest affected by shifting cultivation range from about 5 to 44 million hectares per year (Detwiler and Hall 1988). So estimates of annual emissions around 1980 ranging from 400 million metric tons of carbon up to 2,500 million metric tons, or as much as one-third of total annual CO2 (main of gases cause global warming) emissions (Bolin 1986; Detwiler and Hall 1988; Houghton 1990). One recent estimate (WRI 1990) places current annual emissions as high as 2,800 million metric tons per year.
- Conventional agriculture makes reduction of diversity in landscape; this also means that application of conventional agriculture will reduce sustainability, diversity in landscape.
For example: when we use pesticide to control pest in landscape, beneficial organisms with weak resistance can be died (e.g., bees, and earthworms).
From above problems, we can say that model of conventional agriculture can reduce biodiversity, sustainability over others; this can be illustrated in table 1, table 2 and table 3.
Table 1: Biological diversity on ecological and conventional farms. Part A: Vascular plants. 100% represents value of conventional farm.

Organism groups Country Biological diversity Results Source
and biotopes characteristics
Weed flora general Germany abundance & diversity ecol > conv 200% Braunewell et al., 1986
of wild plants
Denmark number of wild & eco > conv 150% aHald & Rederssen,
cultivated species 1988
Grasslands Netherlands number of species in ecol > conv 133% Baars et al., 1983
meadows of dairy farms
Germany number of species in ecol > conv Frieben and Koปpke,
permanent pastures 1995
Arable lands Germany number of species in biodyn > conv 900% Van Elsen, 1989
field centres
Austria number of species in ecol > conv 200% Plakholm, 1989
cereal fields
Field margins Germany number of species in biodyn > conv 900% Van Elsen, 1989
field margins
a Reported by Redman, 1992.

Table 2: Biological diversity on ecological and conventional farms. Part B: Invertebrates. 100% represents value of conventional farm.

Organism groups Country Biological diversity Results Source
and biotopes characteristics
Earthworms Denmark abundance biodyn > conv aRasmussen and Haas,
200?400% 1985
Germany abundance and biomass biodyn > conv bLetschert, 1986
Germany abundance in apple orchards ecol > conv 2000% aSchweigl, 1990
UK average biomass of all species in fields ecol > conv 400% cBrowning &
Unwin (unpubl.)
Germany abundance, biomass and species diversity ecol > conv Bauchhenss, 1991
USA abundance and biomass ecol > conv Weil et al., 1993
Switzerland abundance, biomass and species diversity ecol > conv bPfiffner and
Ma"der, 1997
Beetles Finland activity and densities in cabbage fields ecol > conv Hokkanen and
Holopainen, 1986
Netherlands number of species biodyn > conv 200% aWijnands, 1987
Germany number of individuals ecol > conv 200% Von Ammer et al., 1988
Germany number of individuals in apple orchards ecol > conv 1000% aSchweigl, 1990
Switzerland number of species ecol > conv Pfiffner et al., 1993
Spiders Finland number of species ecol > conv Hokkanen and
Holopainen, 1986
Germany number of individuals in cereal fields ecol > conv > 700% Von Ammer et al., 1988
Netherlands number of species on different crops ecol > conv 200?300% Vereijken et al., 1997
Butterflies, bees Germany number of individuals of butterflies, ecol > conv 700% Von Ammer et al., 1988
and bumblebees bees and bumblebees
UK abundance of non-pest butterflies ecol > conv 200% Warren, 1996
a Reported by Znaor, 1994.
b Reported by Pfiffner, 1997.
c Reported by Arden-Clarke, 1988; Lampkin, 1997.

Table 3: Biological diversity on ecological and conventional farms. Part C: Birds. 100% represents value of conventional farm.

Organism groups Country Biological diversity Results Source
and biotopes characteristics
Birds USA bird territories ecol > conv 600% aDucey et al., 1980
USA population density in corn and soybean ecol > conv 600?800% aGremaud &
fields Dahlgren, 1982
USA density of bird population in fields ecol > conv aYoungberg et al., 1984
Denmark density of bird populations ecol > conv 200% Braae et al., 1988
UK soil invertebrate feeding birds, fieldfare ecol > conv 2000% Anonymous, 1995
populations
UK density of skylark populations ecol > conv 200% Chamberlain et al., 1996
a Reported by Arden-Clarke, 1988; Lampkin, 1997.

- Besides above problems, we know that conventional agriculture has some other direct impacts on the environment include modification of land for agricultural purposes and byproducts of production such as methane released by rice paddies and livestock. Activities such as food processing, distribution, and preparation use fossil fuels, fuelwood, refrigerants, and other inputs and generate wastes. Indirect impacts include the effects of energy, materials, and pollution entailed in constructing and maintaining equipment, transportation and storage facilities, and other infrastructure used in food production, fisheries, and related activities, and in supporting the populations involved in them.

III - CONCLUSION:

- From above problems, we know that conventional agriculture can bring a high yield with conventional way to do, but it also has many negative impacts on environment and human society. So in order to solve and restrict these negative impacts, we need apply new solutions to agriculture production. They can be the use of compost, manure …to take the place of chemical fertilizers, application of integrated pest management, biological pesticides (derris dust, pyrethrum, rotenone - the active ingredient is short-lasting), insect trapping by the use of lures such as pheromones, biological control methods to take the place of pesticide.
When we carried out these, it also means that we are implementing agriculture production by new methods - organic agriculture. However we also must understand that conventional agriculture and organic agriculture are completely difference. Organic agriculture doesn't consist of inputs originating from synthetic fertilizers and pesticides. It can consist of compost, manure … and the most important is the knowledge and belief of farmer, scientists, researchers, extension officers and politicians about practices (e.g., timing of planting or best rotational combinations) to apply successfully organic agriculture to prevent negative impacts on environment and human society from conventional agriculture. So we can say that conventional agriculture has played an important role in providing food and related products for human society from up to now. However it also has been affecting seriously on environment and human society such as exhaustion of non-renewable resources, reduced biodiversity, water contamination, chemical fertilizers and pesticides residues in food, soil degradation, …and health risks to farm workers and community. So an organic agriculture or integrated agriculture (combination of the technique of organic agriculture and conventional agriculture) should be done to reduce conventional agriculture' impacts on environment and human society. When we do these, it mean that we are protecting, maintaining and using reasonably resources for now and for future, this also mean that we are developing a sustainable agriculture.

IV - REFERENCES:

Kevin Morgan and Jonathan Murdoch. 2000. Organic vs. conventional agriculture: knowledge, power and innovation in the food chain. Geoforum. 31: 159-173.
Loake, C. 2001. Energy accounting and well-being examining UK organic and conventional farming systems through a human energy perspective. Agricultural Systems. 70: 275-294.
Cesare Pacini, Ada Wossink, Gerard Giesen, Concetta Vazzana and Ruud Huirne. 2002. Evaluation of sustainability of organic, integrated and conventional farming systems: a farm and field-scale analysis. Agriculture, Ecosystems and Environment. 1977: 1-16.
Edwards-Jones, G. and O. Howells. 2000. The origin and hazard of inputs to crop protection in organic farming systems: are they sustainable?. Agricultural Systems. 67: 31-47.
Reganold, J.P., Glover, J.D, Andrews, P.K and Hinman, H.R. 2001. Sustainability of three apple production systems. April 19, 2001, Washington State University.
Ulo Mander, Merit Mikk and Mart Kulvik. 1999. Ecological and low intensity agriculture as contributors to landscape and biological diversity. Landscape and Urban Planning. 46: 169-177.
Van Mansvelt, J.D., D.J. Stobbelaar and K. Hendriks. 1998. Comparison of landscape features in organic and conventional farming systems. Landscape and Urban Planning. 41: 209-227.
Tommy Dalgaard, Niels Halberg and John R. Porter. 2001. A model for fossil energy use in Danish agriculture used to compare organic and conventional farming. Agriculture, Ecosystems and Environment. 87: 51-65.
Ethics and the Environment: A Personal Perspective:
http://www.lsa.umich.edu/esp/courses2/240/mitchell.htm
Growing interest in organic agriculture:
http://www.fao.org/DOCREP/003/AC116E/ac116e03.htm#TopOfPage
Evaluating the potential of organic agriculture:
http://www.fao.org/DOCREP/003/AC116E/ac116e05.htm#TopOfPage
What is Sustainable Agriculture?:
http://www.sarep.ucdavis.edu/concept.htm
Global Agriculture, Environment, and Hunger:
http://www.ciesin.org/docs/004-147/004-147.html
Organic vs. Conventional Agriculture: How vegan is it?:
http://www.waste.org/~lanshark/vegan/veganic.html


9 กมล กองคำ
แนวความคิดที่จะทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตมาก และผลกระทบต่อปัจจัยต่างๆ

แนวความคิดที่จะทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตมากที่สุดโดยไม่คำนึงถึงวิธีการที่เหมาะสมนั้น จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ต่อสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์ทางการเกษตรในระยะเวลาต่อมา ดังนี้คือ

1. การสูญหายหรือสูญเสียแหล่งพันธุกรรม (genetic erosion)
เกิดขึ้นเนื่องจากความเจริญทางด้านวิชาการ และเทคโนโลยีทางการเกษตร ซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์พืชมุ่งหวัดที่จะสร้างสายพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตมากให้แก่เกษตรกรปลูก แทนพันธุ์เก่า หรือพันพื้นเมืองที่เคยเป็นบรรพบุรุษของพันธุ์ที่ดีมาก่อน เมื่อนานไปอาจทำให้ไม่มีการปลูกพันธุ์พื้นเมือง เนื่องจากให้ผลผลิตน้อยกว่าพันธ์ดีที่นักปรับปรุงพันธุ์พืชปรับปรุงมา จึงอาจทำให้พันธุ์พื้นเมืองนั้นสูญพันธุ์ไปหรือสูญหายไปจากแหล่งพันธุ์กรรมได้ในที่สุด

ลักษณะพันธุ์พืชที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน ได้แก่การสร้างสายพันธุ์ให้มีพื้นฐานทางพันธุแคบ
(narrow genetic base) เพื่อใช้ประโยชน์จาก heterosis หรือ hybridvagor จากคู้ผสมให้ได้สูงสุด เช่น พันธุ์พืชที่ได้จากการผสมข้ามระหว่างพันะแท้ 2 พันธุ์ เป็นต้น แล้วใช้แทนพันธุ์เดิมซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางพันธุกรรมที่กว้างกว่า (broad genetic base) ด้วยเหตุนี่จึงทำให้พันธุ์พืชที่มีพืนฐานทางพันธุกรรมกว้างต่างๆ ค่อยๆ ลดความนิยมในการปลูกและลดหายไปในที่สุด ตัวอย่างของพันธุ์พืชได้แก่ การนำปฏิวัติเขียว The Green Evolution) มาใช้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวสาลีให้ได้ผลผลิตสูและสามารถปรับตัวได้กว้า นำไปปลูกในประเทศที่ยากจน เช่น ในประเทศอินเดีย และปากีสถานเป็นต้น พันข้าวสาลีที่ให้ผลผลิตสูงเหล่านี้จะถูกนำเข้าไปใช้ปลูกแทนข้าวสาลีพันะพื้นเมื่องหรือพันธุ์ดั่งเดิมจนเกื่อบหมอ อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ผลสำเร็จของกรมการข้าวที่ได้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวพันธุ์ กข.1 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ทั้งสองฟดูเกษตรกรใช้ปลูกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 นับว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ข้าวพันธืดีใช้ทดแทนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกได้ผลผลิตต่ำและไวแสง ซึ่งใช้ปลูกได้ในเฉพาะเป้นข้าวนาปีเท่านั้น ถ้าหากว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีการเก็บรักษาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของไทยไว้แล้ว คาดว่าในอนาคตอืกไม่นานพันะช้าวพื้นเมื่องของไทยจะสูญหายไปจากแหล่งพันธุกรรมในประเทศไทยไปในที่สุด


จากการทำการเกษตรสมัยใหม่ (Modern farming method) ซึ่งมีการแนะนำให้มีการกำจัดวัชพืชให้หมดไปจากแปลง ซึ่งทำให้มีวัชพืชบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อการวิวัตนาการของพืชปลูกถูกกำจัดไป เช่นในข้าวโพดที่ใช้ปลูกอยู่ในปัจจุบันนี้ได้มีวิวัฒนาการมาจากการผสมข้ามระหว่างวัชพืช 2 ชนิด ได้แก่ Teosinte และ tripsacum โดยขบวนการที่เรียกว่า introgression of gene

จากการการขยายพื้นที่เพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ไปยังพื้นที่ที่ไม่เคยปลูกพืชมาก่อน ทำให้มีการทำลายพันธุ์พืชป่าชนิดต่างๆ แบบโดยไม่ได้ตั่งใจทำให้แหล่งพันธุกรรมของพืชต่างๆ ลดน้อยลงไป

2. การชะล้างผิวหน้าดิน และผลกระทบต่อดิน (Soil Erosion and Soil Effect)
ในการทำการเขตกรรมที่มีการไถพรวนบ่อยครั้ง และปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
โดยไม่มีการพักรักษา และฟื้นฟูสภาพของดินนั้น จะทำลายโครงสร้างของดินให้เสีย โดยทำให้ความสามารถของเม็ดดินเกาะกันน้อยลดลง มีการระบายน้ำและอากาศที่เลวลง ในพื้นที่ราบ มีการชะล้างของสารต่างๆ ไหลลงสู่ชั้นดินเบื้องล่างได้ง่ายมาก ทำให้เกิดชั้นดินดาน (hard pan)รวมทั้งน้ำหนักของเครื่องจักรที่นำเข้าไปทำการเขตกรรมบ่อยๆ ครั้งนั้นจะทำให้มีผลไปกดดินทำให้เกิดชั้นดินดานได้เช่นกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตขอรากพืชรวมถึงการไหลซึมของน้ำสู่ชั่นล่างของดิน ทำให้เกิดมีสภาพน้ำขัง ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย เนื่องจากมีการระบายอากาศในดินเลว

ในการทำการเกษตรในพื้นที่ลาดชัน และสภาพดินที่เป็นดินเหนียวหรือดินที่มีขนาดของเมล็ดดินละเอียด การจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมบนพื้นที่ลาดชัน จะทำให้เกิด water run off ทำให้เกิดการชะล้างของหน้าผิวดิน (soil erosion) ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน รวบทั้งดินที่ถูกพัดพาไปสู่แหล่งน้ำจะทำให้เกิดการตื้นเขินของแหล่งน้ำต่างทำให้เกิดปัญหาต่อระบบชลประทานอีกด้วย ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้แนะนำวิธีการป้องกันการพังทะลายของหน้าดินได้แก่ การจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมบนพื้นที่ลาดชัน เช่นการปลูกพืชสลับ (alley cropping) ปรับพื้นที่ปลูกเป็นแนวระดับและทำแปลงแบบขั้นบันได ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้ได้ทำสำเร็จแล้วในประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงเกษตรกรของหมู่เกาะชวาในประเทศอินโดนีเชีย ในประเทศไทยนั้นได้นำหญ้าแฝกมาใช้ปลูกเพื่อป้องกันการพังทะลายของดินตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาการพังทลายของหน้าดินได้อย่างดี

ลมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการชะล้างผิวหน้าดิน (soil erosion) ได้ ถ้าหากว่าพื้นที่ดินนั้นมีบริเวณกว้างเปิดโล่ง มีลมพัดแรง เม็ดดินมีขนาดเล็ก ไม่มีการปลูกพืชคลุมดินหรือปลูกไม้กันลม ปรากฏการณ์ของการชะผิวดินโดยลมนี้จะเกิดในพื้นที่แห้งแล้ง หรือพื้นที่ที่เกิดความแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน เช่นในพื้นที่ในเขตแห้งแล้งของรัฐต่างๆ ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอเมริกาเป็นต้น ซึ่งการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดินจากลม (soil erosion) อาจทำได้โดยวิธีการต่างๆ เช่นปลูกไม้กันลม ปลูกพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับเขตแห้งแล้งได้ดี เช่น มีลักษณะการงอกเป็นต้นอ่อนได้เร็ว มีใบขนาดใหญ่แผ่กว้างคลุมดิน ให้ซากพืชมากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ซึ่งซากพืชจะช่วยปกคลุมผิวหน้าดินป้องกันไม่ให้ลมสัมผัสกับผิวดินโดยตรงได้ วิธีการเขตกรรมแบบ minimum หรือ Zero tillage โดยไม่มีการไถพรวนดิน การแนะนำให้มีการปลูกพืชระบบ fallow cultivation system ในเขตแห้งแล้งทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอเมริกาก็เป็นวีธีหนึ่งที่ช่วยลด soil erosion โดยลมได้ผลดีเช่นกัน (Triplett} 1978)

3. มลพิษของน้ำ (Water Pollution)
ในระบบการเกษตรที่ใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดวัชพืช โรคและแมลงจำนวนมาก และต่อ
เนื่องเป็นเวลานาน โดยวิธีที่ไม่เหมาะสม เมื่อฝนตกลงมาจะเกิดการชะล้าง และไหลพาสารเคมีต่างๆลงไปยังแหล่งน้ำ จะทำให้เกิดการปนเปื้อนของน้ำ และเกิดการสะสมสารประกอบต่างๆ เช่น ไนเตรต สารฟอสเฟตทำให้ระดับความเป็นกรด-เบส เปลี่ยนแปลงไป และสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืช โรคและแมลง ทำให้แหล่งน้ำเป็นพิษซึ่งจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์สัตว์น้ำ สัตว์เลี้ยง พืชน้ำ รวมทั้งทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินอีกด้วยเนื่องจากปุ๋ยฟอสฟอรัสที่พืชจำพวกสาหร่ายใช้ประโยชน์ไดดีทำให้มัการขึ้นแข่งขันการอย่างหนาแนนทำให้ซากสาหร่ายที่ตายแล้วเกิดการทับทมกันจนทำให้สระน้ำตื้นเขิน

4. มลพิษของบรรยากาศ (Atmospheric Pollution)
ในการทำการเกษตรให้ไดผลผลิตจำนวนมาก และตรงตามความต้องการของตลาดนั้น
เกษตรกรจำเป็นต้องใช้สารเคมีพ่นฆ่าแมลงและป้องกันโรคพืช และสารเคมีที่ใช้กำจัดโรคพืชเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีผลทำให้ในบรรยากาศประกอบไปด้วยของเสียต่างๆ เหล่านี้นับว่าเป็นผลเสียแก่พืชปลูกเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น สาร 2,4-D ที่ใช้กำจัดวัชพืชในแปลงข้าว ละอองของน้ำที่มีสารเคมีนี้สามารถปลิวไปตามลมได้ไกลถึง 25-30 กิโลเมตรและเป็นอันตรายต่อแปลงฝ้ายที่ปลูกในบริเวณที่อยู่ใกล้ๆ กัน เช่นเดียวกับสารเคมีชนิดอื่นๆ อาจเป็นอันตรายต่อพืชชนิดต่างๆ แมลงที่เป็นประโยชน์ สัตว์เลี้ยง และมนุษย์ ก็ได้

5. การใช้ไฟในการเพิ่มผลผลิต และผลกระทบของไฟ (Use of Fire to Improve Yield and Effects of Fire)
การใช้ปัจจัยของไฟในการเกษตรมีความจำเป็นมากต่อการจัดการ เพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชเป็นอย่างมากในพื้นที่ต่างๆ เช่น การเผาตอชังของฟางข้าว เพื่อใช้ปลูกถั่วเหลืองหลังนา ซึ่งจะช่วยเพิ่มธาตุโปแตสเซียมจากเถ้าของฟางข้าวเพิ่มมากขึ้น และช่วยกำจัดวัชพืช โรคและแมลงต่างๆให้ลดน้อยลง

ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการปลูกหญ้าเพื่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์ หรือทำหญ้าแห้งสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ ได้ใช้วิธีการเผาแปลงทุ่งหญ้า ซึ่งช่วยให้หญ้าที่ปลูกมีการเจริญเติบโตเร็วยิ่งขึ้น หลังไฟไหม้แปลงหญ้าแล้ว ต้นหรือหน่ออ่อนที่ขึ้นมาจะถูกใจหรือสัตว์เลี้ยงกินอร่อย มีการแข่งขันของวัชพืชน้อยลง และช่วยควบคุมโรค และแมลงที่ระบาดให้ลดน้อยลง

อย่างไรก็ตามการใช้ปัจจัยไฟกำจัดซากพืช (crop residues) ในแปลงปลูกพืชหรือแปลงหญ้าโดยกระทำอย่างต่อเนื่องและขาดหลักวิชาการ จะให้โทษบางประการ เช่น
ก. การเผาแปลงหญ้าโดยใช้ไฟจะทำลาย vegetative materials ต่างๆ ที่มีอยู่ในแปลงหญ้าให้หมดไป ทำให้ปริมาณ humus หรือ soil nitrogen ลดลง ดินจะเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ ถ้าหากการเผาแปลงหญ้านั้นได้กระทำอย่างต่อเนื่องและขาดหลักวิชาการ
ข. การใช้ไฟเผาแปลงหญ้า ไฟจะทำลายโครงสร้างของดิน และอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อการช่วยอุ้มน้ำของดิน และความอุดมสมบูรณ์ด้วย
ค. ทุ่งหญ้าที่ประกอบด้วยหญ้าที่มีระบบรากตื้น (shallow rooted grass) จะได้รับอันตรายและเสียหายมากหลังจากใช้ไฟเผา การฟื้นตัวของของต้นหญ้าจะช้าและให้ผลผลิตต่ำในฤดูปลูกต่อไป
ง. ในเขตแห้งแล้ง ถ้ามีการใช้ไฟเผาแปลงในปีที่มีฝนตกน้อย จะทำให้เพิ่ม drought stress มากขึ้นและทำให้ผลผลิตของแปลงหญ้าลดลงมากกว่าแปลงที่ไม่มีการเผา

6. ผลกระทบต่อปัจจัยของสิ่งมีชีวิต (Effect of Biotic Factor)
ในการทำการเกษตรที่มีการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช โรคและแมลงชนิดเดียวอย่างต่อ
เนื่อง โดยไม่เปลี่ยนชนิดอื่น จะมีผลทำให้ วัชพืช แมลง หรือศตรูพืช เกิดการปรับตัว และอาจจะทำให้เกิดการแปลงพันธุกรรมหรือกลายพันธุ์โดยเฉพาะแมลงศัตรูพืช ทำให้มีความตานทานต่อสารเคมีต่างๆ ทำให้ควบคุมศตรูพืชยากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสำคัญมาก และในการใช้สารเคมีอาจทำให้แมลง พืช แบคทีเรีย เชื้อรา และสิ่งมีชีวิตที่มีที่มีประโยชน์ ตายและสูญพันธุ์ไปได้

7. ผลกระทบต่อปัจจัยอื่นๆ
ในการทำการเกษตร จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบนิเวศเกษตรที่อยู่ใกล้เคียงด้วย ว่าเหมาะ
สมต่อระบบนิเวศเกษตรของเราหรือไม่ ซึ่งระบบการทำเกษตรของเราอาจจะไปทำอันตรายต่อระบบนิเวศเกษตรข้างเคียงก็ได้ เช่นสารเคมีกำจัดวัชพืช 2,4-D ที่เราใช้ในนาข้าวละอองของน้ำที่มีสารเคมีนี้สามารถปลิวไปตามลมได้ไกลถึง 25-30 กิโลเมตรและเป็นอันตรายต่อแปลงฝ้ายที่ปลูกในบริเวณที่อยู่ใกล้ๆ กันได้

ในการปลูกพืชพืชแซม การปลูกเหลื่อม การปลูกพืชผสมรวม ต้องคำนึ่งถึงชนิดของพืชปลูก อายุของพืชปลูก การตอบสนองต่อช่วงแสง ระยะเวลาและฤดูของการปลูกพืชของแต่ละชนิด รวมทั้งระยะหาง แนวหรือแถวปลูก รวมทั้งสรีระวิทยา และสันฐานวิทยาของพืชอีกด้วย ต้องพิจารณาว่าผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตและคุณภาพแก่พืชปลูกหลักหรือไม่ เช่นไม่การแก่งแย่งแข็งขันแร่ธาตุอาหารและน้ำ มีการบดบังแสงซึ่งกันและกันหรือไม่ รวมทั้งการระบาดของโรค และแมลงต่างๆ เป็นต้น

 

10 อัตถ์ อัจฉริยมนตรี
นับตั้งแต่สมัยโบราณที่มนุษย์รู้จักการทำการเกษตรทำการเพาะปลูก และสะสมพืชไว้ใช้ในชุมชนครอบครัวเรื่อยมาจนถึงการทำเกษตรเพื่อขายและต้องการผลผลิตสูงสุดเพื่อที่จะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่สูงเช่นเดียวกัน ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องทำการเขตกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สูญเสียผลผลิตน้อยที่สุด ในการทำเกษตรสมัยใหม่ (Modern Agricultural Practices) ประสบผลสำเร็จเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกเป็นผลทำให้ความต้องการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรเพื่มขึ้นตามไปด้วยโดยเฉพาะพืชไร่ที่เป็นอาหารหลักของประชากรโลก (Staple Crops) เช่น ข้าว, ข้าวโพด และมันฝรั่งเป็นต้น
จากสถานการณ์นี้การทำการเกษตรสมัยใหม่ทำให้ต้องพึงพาเทคโนโลยีในการผลิต และการจัดการฟาร์มมากยิ่งขึ้น เช่นการพัฒนาสายพันธุ์พืชใหม่โดยการปรับปรุงพันธุ์ให้มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะปลูกในพื้นที่ขนาดเล็กก็ตาม หรือ เป็นการจัดการระยะเวลาในการใส่ปุ๋ย และฉีดพ่นสารเคมี รวมทั้งระบบการชลประทานที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้ลดการสูญเสียผลผลิต และเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นแต่ในทางกลับกัน กลายเป็นการทำลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในธรรมชาติอย่างมาก โดยทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ความหลายหลายทางพันธุกรรม และใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้นั่นคือพลังงานเชื้อเพลิงต่าง ๆ โดยสรุปแล้วการเกษตรสมัยใหม่นี้ไม่มีความยั่งยืนซึ่งในระยะยาวการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงชาวโลกอาจไม่ต่อเนื่อง และลดลงไปเรื่อย ๆ จนขาดแคลนในที่สุด
Conventional Agriculture เกี่ยวข้องกันกับจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ ผลิตให้มาก และทำให้ได้กำไรสูงที่สุด (Maximization of Production & Maximization of Profit) ในการเกษตรแบบนี้ไม่ได้พิจารณาในพลวัตของระบบนิเวศเกษตร และนิเวศวิทยา จาก Gliessman, 1998 ได้แบ่งการปฏิบัติการเขตกรรมของระบบ Conventional ออกเป็น 6 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

1. Intensive tillage (การใช้เครื่องจักกรเกษตรในการไถพรวนดิน)
เป็นการเขตกรรมที่มีผลโดยตรงต่อดิน โดยทำลายโครงสร้างของดิน (Soil Structure) ให้เป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อการระบายน้ำที่ดี และให้รากพืชเจริญได้รวดเร็วรวมทั้งการควบคุมวัชพืชในแปลงที่ทำการเขตกรรมด้วย ในการทำการเกษตรแบบ Conventional นั้นมักปลูก Monoculture ดังนั้นระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวสั้นและต้องไถพรวนหลาย ๆ ครั้งต่อปีทำให้อินทรียวัตถุพวกใบไม้ยังไม่ทันที่จะย่อยสลาย ความอุดมสมบูรณ์ในดินลดลงเรื่อย ๆ ปัญหาการอัดแน่นของดินเนื่องจากน้ำหนักของเครื่องไถพรวน และอาจเกิดปัญหาการพังทลายของดิน (Soil Erosion) จากน้ำ และลมอีกด้วย

2. Monoculture (การปลูกพืชชนิดเดียว)
ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งของ Conventional Agriculture เป็นการปลูกพืชชนิดเดียวในแปลงปลูกพื้นที่เดียวกันซึ่งง่ายต่อการที่ปลูกและเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรกล และมักจะทำเป็นอุตสาหกรรมการผลิต และอาจรวมถึงการแปรรูป ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการในปริมาณมากมายมหาศาล เมื่อปลูกในพื้นที่กว้างใหญ่แรงงานคนใช้น้อยลง และใช้เทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตถึงจุดสูงสุด ในปัจจุบันเข้ามาแทนที่การทำเกษตรแบบ Traditional Polycultural Subsistence Agriculture แล้วในหลายประเทศ
3. Irrigation (การชลประทาน)
ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ใช้ในการผลิตทางการเกษตรซีงเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดแหล่งน้ำมีได้หลายแหล่งจากน้ำใต้ดิน, น้ำผิวดิน, อ่างเก็บน้ำ, บ่อน้ำ, แม่น้ำลำคลอง และทะเลสาบ บางพื้นที่ถมแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่ทำการเกษตรทำให้จำนวนแหล่งน้ำในโลกลดลง ประกอบกับปริมาณการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น บางประเทศพบว่าปริมาณการใช้น้ำที่สูบขึ้นมาจากใต้ดินมีปริมาณมากกว่าปริมาณน้ำที่ได้มาจากฝน (Rainfall) ทำให้เกิดการแก่งแย่งแหล่งน้ำกันระหว่างเกษตรกรด้วยกัน อาจมีการกีดขวางทางน้ำทำให้ทิศทางน้ำเปลี่ยนไปซึ่งเป็นปัญหามาก
4. Application of Synthetic Fertilizer (การใส่ปุ๋ยเคมี)
การใส่ปุ๋ยเคมีสามารถตอบสนองให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนง่ายต่อการใช้ และแตกต่างกันไปในแต่ละพืชรวมถึงแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต การให้ปุ๋ยเคมีนั้นพืชจะนำไปใช้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในระยะยาวเกษตรกรเพิกเฉยต่อการบำรุงดิน และเพิ่มปุ๋ยในดินทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในการทำการเกษตร ส่วนประกอบของแร่ธาตุในปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ง่ายต่อการถูกชะล้างจากการให้น้ำจากระบบชลประทาน เกิดปัญหาว่าปุ๋ยเคมีที่ให้ไปนั้นส่วนใหญ่จะถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำดื่มใช้ของมนุษย์เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ รวมทั้งระบบนิเวศที่สูญเสียไปในระยะยาว
5. Chemical Pest Control (การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช)
การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชสามารถจัดการศัตรูพืชได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ผลของสารเคมียังพ่นรวมไปถึงแมลงศัตรูธรรมชาติอีกหลายชนิด และจำนวนประชากรแมลงมีอัตราการเกิดใหม่ที่รวดเร็วเนื่องจากวงจรชีวิตสั้นจนบางครั้งเกษตรกรเพิ่มระดับความเข้มข้น และความถี่มากขึ้นทำให้สิ้นเปลืองสารเคมีและทำลายสภาพแวดล้อม และเมื่อพ่นไปนาน ๆ ทำให้แมลงสามารถพัฒนาตัวมันเองให้ต้านทานต่อสารเคมีทำให้ต้องเพิ่มส่วนผสมเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาพแวดล้อม และระบบนิเวศในระยะยาวได้
6. Genetic Manipulation of Crop Plant (การจัดการพันธุ์พืชปลูก)
มนุษย์เลือกลักษณะของพืชที่ใช้ปลูกเพื่อเป็นอาหารมานานมากกว่า 1,000 ปีมาแล้วมีการคัดเลือกพันธุ์ดีเด่นที่มีคุณลักษณะ และผลผลิตที่ตอบสนองต่อความต้องการปริมาณอาหารที่เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีเริ่มมีส่วนทำให้เกิดการปรับปรุงพันธุกรรมพืชมากขึ้น เช่น ทำให้พืชต้านทานต่อโรค และแมลง หรือทำให้พืชได้ผลลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น หรือการผสมลักษณะดีเด่นจาก 2 สายพันธุ์ให้เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกกันว่า Hybrid แต่ในบางสายพันธุ์ Hybrid ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างดีทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติมาก การปรับปรุงพันธุ์ด้วยการตัดต่อพันธุกรรมนี้ทำให้เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อเมล็ดพันธุ์ Hybrid ในทางการค้าซึ่งมีราคาแพงกว่าเดิมมากขึ้นอีกด้วย
จากที่กล่าวมานั้นมีผลทำให้การทำการเกษตรไม่มีความยั่งยืน และเป็นผลเสียมากกว่าผลดีสำหรับการผลิตผลผลิตออกมาในอนาคต และทรัพยากรธรรมชาติก็จะถูกทำให้เสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ ทั้ง ดิน น้ำ และความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งเราพบเห็นสัญญาณเหล่านี้ได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
1. Soil Degradation (การเสื่อมสภาพของดิน)
อาจสังเกตได้จากการที่ดินมีเกลือมากทำให้ดินเค็มไม่สามารถปลูกพืชได้ การจับตัวของดินเป็นชั้นแข็ง (Compaction) การปนเปื้อนของสารเคมีที่เป็นพิษสะสมในดิน สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้คุณภาพของโครงสร้างดินเปลี่ยนไป การสูญเสียธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุในดิน และการพังทลายของดินซึ่งล้วนมีผลจากความสัมพันธ์ของการทำเกษตรแบบ Conventional

2. Waste and Overuse of Water (การใช้น้ำที่เสียเปล่า และเกินความจำเป็น)
ในภาคการเกษตรเป็นส่วนที่ใช้น้ำในการเพาะปลูกมากที่สุดซึ่งใช้น้ำในปริมาณที่มาก และหมดไปในระยะเวลาที่สั้นเพราะพืชดูดน้ำไปใช้ในส่วนต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันจึงพยายามที่จะหาทางในการให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม และยังคงได้ผลผลิตสูงสุดอยู่นั่นคือ การใช้ระบบน้ำหยด (Drip Irrigation System) และการเลือกปลูกพืชที่มีความต้องการใช้น้ำน้อยในการเจริญเติบโต บางพื้นที่ที่มีการทำการเกษตรในพื้นที่ใหญ่เป็น 1,000 กว่าไร่ มีส่วนทำให้น้ำหมดไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงนิเวศทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามีน้อยกว่าในพื้นที่ที่ยังคงเป็นระบบนิเวศตามธรรมชาติ ทำให้มีปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ในที่สุด

3. Pollution of the Environment (มลพิษ และสภาพสิ่งแวดล้อม)
มลพิษทางน้ำส่วนมากมาจากการทำการเกษตร ขยะที่เป็นพิษจากสารเคมี ยาฆ่าแมลง และสารกำจัดวัชพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมี และอื่น ๆ ภายหลังจากการใช้แล้วย่อมมีการชะล้างไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง นอกจากนั้นสารเคมียังอาจสะสมในสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศทางน้ำ และเป็นอันตรายต่อห่วงโซ่อาหารในลำดับสูงขึ้นไป แม้ว่าปุ๋ยที่ถูกชะออกมาจากแปลงปลูกยังมีความเป็นพิษมากกว่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่าง ๆ แต่ยังก่อให้เกิดความเสียหายมากต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติต่าง ๆ การเจริญเติบโตของสาหร่ายในแม่น้ำลำคลองทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และทำให้น้ำเน่าเสียได้ในที่สุด หรือจะเป็น Nitrates จากปุ๋ยที่มักจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่มที่มนุษย์บริโภคในหลายพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลมากจากการทำการเกษตรแบบ Conventional Agriculture ทั้งสิ้น ทำให้นิเวศวิทยาทางธรรมชาติสูญเสียความสมดุลยไป

4. Dependence on External Inputs (การพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอก)
ในการทำการเกษตรแบบ Conventional นั้นที่ได้ผลผลิตสูง เพราะได้ใช้ปัจจัยในการผลิตต่าง ๆ รวมทั้งการใช้พลังงานที่สูงมาก ได้แก่ การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร การใช้ปั๊มน้ำในระบบชลประทาน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และปุ๋ยเคมี การสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ Hybrid และอื่น ๆ อีกมาก ที่ไม่ยั่งยืนเพาะว่าปัจจัยการผลิตนั้นเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วมีวันที่จะหมดไป และปัจจัยการผลิตบางตัวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงไปตามสถาณการณ์ในแต่ละประเทศ เช่น ความขาดแคลนอาหาร การเปลี่ยนแปลงของราคาในตลาด และอื่น ๆ
5. Loss of Genetic Diversity (การสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรม)
ผลเสียเกิดขึ้นมาจาการที่คัดเลือกพันธุ์ที่ดีเด่นจนละเลยพันธุ์อื่น ๆ ที่มีลักษณะที่ดีแตกต่างกัน การสูญเสียทางพันธุกรรมนี้เกิดขึ้นมาจากการเกษตรแบบ Conventional โดยเน้นในการเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะสั้น เมื่อพันธุ์ที่ให้ผลผลิตมากถูกพัฒนาขึ้นเกษตรกรก็หันมาใช้พันธุ์ดังกล่าวมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ และพันธุ์เดิมก็จะค่อย ๆ ถูกกลืนหายไป หรือในทำนองเดียวกันการใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อแมลงบางชนิดทำให้แมลงนั้นขาดอาหารที่จะดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติแบเดิมจึงค่อย ๆ สูญหายไปหรืออาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ เป็นต้น


11 จักรกฤษณ์ ขันทอง
การทำการเกษตรให้มีผลผลิตที่สูงสุดนั้นสามารถทำได้โดยมีการจัดการที่ดี การใส่ปุ๋ย การใส่ยาปราบวัชพืชและการใส่ยาปราบแมลงศัตรูพืชซึ่งเป็นการเกษตรสมัยใหม่(Modern farming)
การเกษตรสมัยใหม่นั้น สามารถทำให้พืชปลูกได้ผลผลิตที่สูง โดยได้จากแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเพียงพอ การปลูกพืชในปัจจัยแวดล้อมที่มีความจำเพาะเจาะจงหรือเป็นสภาพแวดล้อมที่มนุษย์เป็นผู้กำหนดเพื่อความเหมาะสมของพืชปลูกแต่ละชนิด แต่การเกษตรสมัยใหม่นี้ไม่เป็นผลดีต่อระบบนิเวศวิทยาในระยะยาวเนื่องจากเกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างไม่คุ้มค่าก่อให้เกิด การเสื่อมของสภาพแวดล้อม เช่น การกร่อนของดิน ปัญหาสภาพการเป็นพิษ ซึ่งเกิดจากการใช้สารกำจัดวัชพืช และแมลง ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อความสมดุลในระบบนิเวศวิทยา การเกษตรสมัยใหม่นั้นส่งผลในระดับผู้บริโภคทั้งในด้านสังคม และด้านสุขภาพ ในด้านสังคมนั้นจะเห็นได้ว่าการเกษตรสมัยใหม่นั้น จะเป็นไปในรูปแบบของธุรกิจมากกว่าการทำการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต ทำให้การเกษตรในรูปแบบ family farm นั้นหายไป การทำการเกษตรในระบบครอบครัว แบบพอมีพอกินนั้นได้ลดลงไปตามยุคสมัย และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับการเกษตรซึ่งการนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนนั้นทำให้ระบบการผลิตมีคุณภาพมากขึ้นแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยตรงเช่นกัน และในด้านสุขภาพนั้นจะเห็นได้ว่าพืชผักในปัจจุบันนี้มีสารพิษตกค้างค่อนค้างมากซึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรใช้สารกำจัดวัชพืช และแมลงในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งหากมีการสะสมมากขึ้นย่อมก่อเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน
ในระดับประเทศนั้นการเกษตรสมัยใหม่นั้นส่งผลในแง่ของระดับเศรษฐกิจ และธุรกิจทางการเกษตรเนื่องจากในปัจจุบันทั่วโลกเริ่มหันมาเอาใจใส่ในเรื่องของควมปลอดภัยของผู้บริโภค การตรวจสอบในเรื่องของการมีสารพิษตกค้าง การมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโลก ดังนั้นทั่วโลกจึงมีมาตรการในการจำกัดการส่งออกของประเทศที่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยงเกี่ยวกับความอันตรายต่างๆในผลผลิตที่ผลิตออกมาสู่ผู้บริโภค รวมไปถึงความเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมโลก

 

12 พิกุล ซุนพุ่ม
รูปแบบการจัดการของการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงสุดในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด การทำการเกษตรสมัยใหม่เป็นไปในรูปแบบของเกษตรกรรมเคมี ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติ นับตั้งแต่เริ่มไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ ซึ่งทำลายโครงสร้างของดินและสิ่งมีชีวิตในดิน การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดวัชพืช โรคแลแมลงศัตรูพืช ตลอดจนการใส่ปุ๋ยเคมี สารเคมีต่างๆ เป็นตัวทำลายสมดุลและวงจรชีวิตในธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาซับซ้อนตามมาเช่น ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ ทำให้เกิดการดื้อยา พบการระบาดเพิ่มมากขึ้นและยังอาจมีสารพิษตกค้างในดินและน้ำ เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงบริเวณใกล้เคียงนอกจากจะมีผลต่อสภาพแวดล้อมแล้วยังมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสุขภาพ ตั้งแต่ระดับเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภคและระดับประเทศ ทางด้านสุขภาพ เกษตรกรเป็นผู้ปฏิบัติงานในแปลงจึงมีโอกาสได้รับพิษภัยจากสารเคมีโดยตรง ผลผลิตที่ได้อาจมีสารพิษตกค้างอยู่ เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทางด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ในระดับประเทศทำให้เสียเงินตราให้ต่างประเทศ เพราะสารเคมีที่ใช้ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประะเทศและหากพิษตกค้างในผลผลิตในระดับที่เป้นอันตรายก็อาจถูกกีดกันทางการค้าในระดับการค้าระหว่างประเทศ แล้วผลจะย้อนมาตกที่เกษตรกร เพราะจะทำให้ราคาผลผิตตกต่ำและเกษตรกรมีรายได้น้อยลง

 

13 ณัฐชยา ปิงอินถา
การทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด (maximum yield) หรือเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด (maximum profit) หรือที่เรียกว่า conventional agriculture เป็นการทำการเกษตรแผนใหม่เพื่อให้เกษตรกรนั้นได้ผลผลิตและกำไรในการเพาะปลูกสูงตามที่ต้องการ ซึ่งการทำเช่นนี้เกษตรกรต้องมีการเพิ่มปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอาหารภายในดินให้แก่พืชโดยการใส่ปุ๋ยเคมี การใช้ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช ในปริมาณที่มากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการหรือแบบแผนในการเพาะปลูก เช่น การใช้เครื่องจักรกล มีการไถพรวนแปลงเพาะปลูกมากขึ้น การจัดการด้านการชลประทาน การเผาทำลายฟางหรือเศษซากพืชที่เหลือจากการเพาะปลูกเป็นต้น ผลพวงของการเกษตรกรรมสมัยใหม่ การใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ขาดความระมัดระวัง และการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การเตรียมดิน ระบบการเกษตรที่ทำลายระบบนิเวศ การใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีที่ผิดวิธี ตลอดจนการเก็บรักษาแปรรูปที่ไม่ถูกต้อง ยังผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและมลภาวะเพิ่มขึ้นและพื้นที่การเกษตรมีปัญหาเพิ่มขึ้น เช่น เกิดการชะล้าง พังทะลายหน้าดิน ตัวอย่างในเขตพื้นที่เมดิเตอร์เรเนียนพบว่า พื้นที่ทำการการเกษตรเกิดการชะล้างและการพังทะลายของหน้าดิน 50-70 % นอกจากนี้แล้วการชลประทานที่ผิดสถานที่ อาจทำให้เกิดพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ทำการเกษตรขยายตัวเร็วขึ้น
ในด้านการใช้วัตถุมีพิษการเกษตรที่ปริมาณสูงและไม่ถูกวิธี มีผลกระทบโดยตรงและผลค้างในดิน น้ำ ผลิตผลทางการเกษตรทำให้เกิดอันตรายโดยตรงแก่เกษตรกรผู้ปลูก ผู้บิโภค สัตว์เลี้ยง และสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติทั้งทางบกและในน้ำ การใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็นก่อให้เกิดผลเสีย ซึ่งไม่เพีงแต่กระทบกระเทือนต่อผู้ใช้หรือผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น หากแต่ยังมีผลกระทบในระยะยาว ทำให้สมดุลทางสภาพธรรมชาติสูญเสียไป ทำให้ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นตามมา ในกรณีของแมลงศัตรูพืชเกิดอาการต้านทานสารเคมีหรือดื้อยา เกิดการระบาดของศัตรูพืชชนิดใหม่ๆ เป็นเพราะว่าสารเคมีที่พ่นไปทำอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ ซึ่งได้แก่ แมลงตัวห้ำ ตัวเบียน ที่เป็นกลไกธรรมชาติที่ช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชมีมากเกินสมดุล การเสียสมดุลทางธรรมชาติเปิดโอกาสให้ศัตรูพืชเกิดระบาดทำลายขึ้นมาอย่างรุนแรง นอกจากนี้ การใช้สารเคมีและวัตถุมีพิษในดินมีผลทำให้จุลินทรีย์ดินที่มีอยู่ในธรรมชาติและมีประโยชน์ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ มีประโยชน์ในการบำรุงดิน และบางอย่างเป็นศัตรูของศัตรูพืชถูกทำลายไปด้วย จะทำให้ดินลดความอุดมสมบูรณ์และสภาพทั้งทางกายภาพและทางเคมีเลวลงและเพิ่มปริมาณศัตรูพืชขึ้นเรื่อยๆ
การใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่สูงสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมได้ เช่น การใช้ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจน มีผลทำให้ระดับไนเตรทในน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ นอกจากนี้ปุ๋ยไนโตรเจนยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้นเพราะเพิ่มการเกิดภาวะเรือนกระจก รวมทั้งการเกิดน้ำเน่าเสียตามแหล่งน้ำต่างๆเพราะไนโตรเจนที่มีอยู่ในน้ำจำนวนมากๆจะไปเร่งการเจริญเติบโตของสาหร่ายและพืชน้ำต่างๆทำให้ขาดออกซิเจนขึ้นในแหล่งน้ำต่างๆเหล่านั้น ในปุ๋ยฟอสฟอรัสเมื่อเกิดการสะสมในแหล่งน้ำในปริมาณมากก็ให้ผลเช่นเดียวกันกับปุ๋ยไนโตรเจน
นอกจากนี้แล้วการใช้เครื่องจักรกลในการเกษตร การเผาฟางหรือเศษซากพืชที่เหลือจากการเกษตรเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการเรือนกระจกมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เนื่องจากมีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และยังมีผลทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศเพิ่มขึ้น
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการทำการเกษตรแบบใหม่เพื่อให้ได้ผลผลิตและกำไรสูงสุดนั้น ก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งมนุษย์ซึ่งได้แก่ เกษตรกร และผู้บริโภค ที่มีโอกาสได้รับสารพิษที่เกิดจากการตกค้างในสิ่งที่บริโภคเข้าไป รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้แล้วยังมีผลทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวคือสารพิษที่ตกค้างในผลผลิตเกษตรสามารถใช้เป็นข้อกล่าวอ้างในการกีดกันการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรไปยังประเทศต่างๆอีกด้วย ดังนั้นในการทำการเกษตรนั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องผลิตผลผลิตออกมาเพียงเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดหรือผลผลิตที่สูงสุดแต่ควรผลิตในจุดที่เหมาะสมที่มีผลกระทบต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด