ความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกข้าวของเกษตรกร  
   
 
    ความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกข้าวของเกษตรกร  
       
   

้ลักษณะทั่วไปของข้าวสามารถปลูกได้ในสภาพดินทรายถึงดินเหนียว แต่ในดินเหนียวจะมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าทั้งนี้เนื่องจากสามารถเก็บรักษาน้ำได้นาน ความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ไม่เป็นกรดจัด (pH<4) และไม่เป็นด่างจัด (pH>7)อย่างไรก็ดีข้าวมีการเจริญเติบโตได้ดี pHอยู่ในช่วง 5.5-6.5 ในการวิเคราะห์ดินก่อนการปลูกข้าวเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินจะใช้ได้ดีกว่าการวิเคราะห์พืช

โดยเฉพาะในแง่ของการตรวจสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและโปแตสเชียม หากมีปริมาณฟอสฟอรัสที่สกัดด้วย Brey II ต่ำกว่า 10 ppm ควรที่จะต้องมีการจัดการใส่ปุ่ยฟอสฟอรัสเพิ่มเติมเพื่อจะให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณโปแตสเซียมที่สกัดด้วย 1 N ammonium acetate pH 7 ต่ำกว่า 50 ppm ควรที่ต้องใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมเพิ่มเติม เป็นต้น ลักษณะสภาพพื้นที่การปลูกข้าวของเกษตรกรในพื้นที่วิจัยมีดังนี้ ( ตารางที่ 5..2)


5.2.1 พื้นที่แม่แตง


สภาพดินในที่นาของเกษตรกรที่ร่วมโครงการโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนดินเหนียว (48-61% clay 31-35% silt) ค่าpH เฉลี่ยเท่ากับ 5.5 มีปริมาณโปแตสเซียมสูงเฉลี่ย 122 ppm และมีปริมาณฟอสฟอรัสปานกลางเฉลี่ย 17 ppm มีปริมาณอินทรียวัตถุปานกลางเฉลี่ย 2.85 % และมีปริมาณไนโตรเจนเฉลี่ย 0.16 % ปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดินไม่เพียงพอต่อความต้องการของข้าว จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและโปแตสเซียม ซึ่งทำให้ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินนาดีขึ้น ผลจากากรวิเคราะห์ดินจัดได้ว่าเป็นดินที่มีความเหมาะสมสำหรับปลูกข้าวมากเมื่อเปรียบเทียบกับอีก 2 พื้นที่วิจัย แต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์คุณสมบัติของดินยังพบว่าในพื้นที่ยังมีเกษตรกรบางรายที่ยังคงมีปัญหาและควรที่ต้องปรับปรุงสภาพของดินในการปลูกข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวซึ่งได้แก่

  • ความเป็นกรดเป็นด่าง ในดินที่ต่ำกว่า 5.5 ซึ่งพบในเกษตรกร 11 ราย และควรจะปรับปรุงดินโดยการใช้ปูนขาวเพื่อยกระดับ pHให้สูงขึ้นเล็กน้อย (pH ไม่เกิน 6.5) เพราะการใส่ปูนจะช่วยเร่งปฏิกริยาของจุลินทรีย์ในดินเพื่อการสลายสารประกอบอินทรียในนาข้าวและปลดปล่อยแอมโมเนียมเป็นประโยชน์ต่อข้าว ทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินดีขึ้น เช่นช่วยลดการตรึงฟอสฟอรัสโดยเหล็กและ อลูมินัมลง นอกจากนี้ยังช่วยชลอการสูญเสียธาตุโปแตสเซียมจากการชะล้างในดินร่วนทราย เป็นต้น
  • ปริมาณฟอสฟอรัสในดินที่ต่ำกว่า 10 ppm พบว่าเกษตรกรจำนวน 11 ราย (คิดเป็น 50 %) ที่ต้องมีการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่มเติมให้แก่ข้าว และในจำนวนพื้นที่เหล่านี้พบว่า มีโปแตสเซียมในพื้นที่เกษตรกรเพียงรายลเดียวเท่านั้น ที่มีปริมาณโปแตสเซียมในดินต่ำกว่าปริมาณที่เหมาะสม (มากกว่า 50 ppm) และควรที่ต้องมีการใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมเพิ่มเติม นอกจากการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและการใส่ปูนขาวเพื่อยกระดับ pH ของดินให้สูงขึ้น

5.2.2 พื้นที่สันทราย


ลักษณะดินในพื้นที่วิจัยแปลงปลูกข้าวของเกษตรกรโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นดินร่วนถึงดินร่วนปนดินเหนียว มีค่า pH เฉลี่ยเท่ากับ 5.87และเป็นดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงเฉลี่ย 52 ppm ซึ่งพอเพียงต่อการปลูกข้าว และปริมาณไนโตรเจนเฉลี่ย 0.08 % แต่ปริมาณโปแตสเซียมและปริมาณอินทรียวัตถุค่อนข้างต่ำเฉลี่ย 50 ppm และ1.43 % ตามลำดับ ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงหรือการใส่เพิ่ม ปัญหาในพื้นที่เกษตรกรที่ควรปรับปรุงสภาพดินคือ

  • ความเป็นกรดด่างของดิน ที่ต่ำกว่า 5.5 พบในพื้นที่เกษตรกรจำนวน 7 รายและควรปรับปรุงดินโดยการใส่ปูนขาวเพื่อยกระดับ pHให้สูงขึ้น
  • ปริมาณโปแตสเซียมที่ปริมาณต่ำกว่า 50 ppm จำนวน 12 ราย หรือคิดเป็น 67 % ของเกษตรกรทั้งหมด

5.2.3 พื้นที่สันกำแพง


สภาพดินที่ทำการปลูกข้าวในพื้นที่เกษตรกรโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นดินร่วนปนดินเหนียว
ค่า pH เฉลี่ยค่อนข้างต่ำเท่ากับ 5.3 ปริมาณโปแตสเซียมในดินค่อนข้างสูงเฉลี่ย 96 ppm ปริมาณอินทรียวัตถุ 1.56 % และปริมาณไนโตรเจนเฉลี่ย 0.09 % เป็นดินที่มีปัญหาการขาดฟอสฟอรัสโดยมีปริมาณฟอสฟอรัสเฉลี่ค่อนข้างต่ำเฉลี่ย 10 ppm ต้องมีการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่มในการปลูกข้าว และปรับปรุงด้านอินทรียวัตถุหรือการใส่ปูนเพื่อยกระดับ pH ดินให้สูงขึ้น ดินในพื้นที่นี้จัดว่ามีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวน้อยกว่าพื้นที่แม่แตงและสันทราย ปัญหาที่พบในสภาพดินของเกษตรกรได้แก่

  • ความเป็นกรดเป็นด่าง บางพื้นที่มี pH ต่ำเท่ากับ 4.6 และในพื้นที่ของเกษตรกรต่ำกว่า 5.5 จำนวน 9 ราย(คิดเป็น 75 %) และควรปรับปรุงดินโดยการใช้วัสดุปูนเพื่อยกระดับpH ให้สูงขึ้น
  • ปริมาณฟอสฟอรัสในดินต่ำกว่า 10 ppm พบจำนวนเกษตรกร 10 ราย ทีต้องปรับปรุงดินในการเพิ่มการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส




 
    ......................................................................................................................................................................................  
    ฐานความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน  
    ......................................................................................................................................................................................  
 

 

 

 
  (กลับเกษตรที่ลุ่ม) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)