การเจริญเติบโตของข้าวนาปี  
   
 
    การเจริญเติบโตของข้าวนาปี  
     เกษตรกรปักดำข้าวนาปี สัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ประมาณ 30 วันหลังปลูก พบการระบาดของหอยเชอรี และเพลี้ยกระโดดหลังขาวโดยเฉพาะที่สันทราย แต่ได้รับความช่วยเหลือจาก องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และสามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดหลังขาวได้
เกษตรกรสังเกตเห็นความแตกต่างของการเจริญเติบโตของต้นข้าวระหว่างแปลงที่มีโสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสดและแปลงที่ไม่มีโสน
เกษตรกรที่เลือกปลูกข้าวคลองหลวง 1 เป็นครั้งแรกมีความพอใจกับการเจริญเติบโตของข้าว ลำต้นและใบของข้าวคลองหลวงจะมีลักษณะและสีเขียวเข้มกว่า และแตกกอรวดเร็วกว่าข้าวขาวดอกมะลิ และกข 6 และแสดงความประสงค์ที่จะคัดรวงเป็นเมล็ดพันธุ์ขยายต่อไป
น้ำหนักแห้งของข้าวในช่วงตั้งท้องที่มีการไถกลบโสน ดังตารางที่ 6.2
 
       
    ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว  
    การสุ่มวัดตัวอย่างข้าวที่ระยะตั้งท้อง เพื่อตรวจสอบผลของโสนต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวในแปลงเกษตรกรพบว่าแปลงข้าวที่ไถกลบโสน โดยทั่วไปจะมีการเจริญเติบโตดีกว่าแปลงที่ไม่มีโสน โดยเฉลี่ยสูงกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 6.2)  
       
   
  • ผลผลิตข้าวและลักษณะที่สัมพันธ์กับผลผลิต
 
       
    ตารางที่ 6.3 แสดงลักษณะผลผลิตและลักษณะที่มีผลต่อผลผลิตเมล็ดข้าว 3 พันธุ์ จาก 3 พื้นที่วิจัยจำนวนรวงต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตร (จำนวนรวง/ตารางเมตร) ของข้าวพันธุ์คลองหลวง 1 สูงกว่าทุกพันธุ์ โดยเฉพาะภายใต้สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินดี เมื่อได้ไถกลบโสนอัฟริกัน เฉลี่ย 200 รวง/ตารางเมตร ซึ่งโดยทั่วไป จำนวนรวง/ตารางเมตร ที่ระดับนี้ผลผลิตข้าวจะอยู่ใน เกณฑ์ที่ดี แต่ทั้งนี้ยังคงต้องขึ้นอยู่กับขนาดของรวง จำนวนเมล็ด/รวง และน้ำหนักเมล็ด
ผลผลิตเมล็ดข้าว 3 พันธุ์ ภายใต้การไถกลบโสนอัฟริกัน พบว่าสูงกว่าที่ไม่ได้รับโสน เฉลี่ยตั้งแต่ 12 ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ คลองหลวง 1 ให้ผลผลิตต่างกัน 88 กก./ไร่ ขาวดอกมะลิให้ผลผลิต ต่างกัน 116 กก./ไร่ ในขณะที่ กข 6 ผลผลิตของการใส่โสนต่างกัน 112 กก./ไร่

 
   


 
   
  • ประสิทธิผลของโสนอัฟริกันในพื้นที่วิจัย
 
       
   

เกษตรกรที่ร่วมทดสอบการใช้โสนในนาข้าวได้แบ่งพื้นที่สำหรับการใช้โสนแต่ไม่ใส่ปุ๋ย และการใช้โสนบวกการใส่ปุ๋ย อาจเกิดจากความไม่มั่นใจผลของโสนหรือเพื่อต้องหารเพิ่มผลผลิต ให้สูงกว่าการใช้โสนอย่างเดียว รูปภาพที่ 6.2 6.3 และ 6.4 ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตข้าว กับการใส่ปุ๋ยและไม่ใส่ปุ๋ยภายใต้การใช้โสนเป็นปุ๋ยพืชสดทุกแปลง

อำเภอแม่แตง


เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มเติมจากการใช้โสนตั้งแต่ 1.5 ถึง 6.0 กก.N/ไร่ ผลผลิตของข้าวพันธุ์คลองหลวงที่ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี แต่ใส่โสนอย่างเดียว เฉลี่ย อยู่ในช่วง 678 กก. ถึง 1114 กก./ไร่ ซึ่งคลอบคลุมความแปรปรวนของผลผลิตข้าวที่ใช้ปุ๋ยเคมีและใส่โสน การตอบสนองข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีรูปแบบความแปรปรวนของผลผลิตที่ใส่โสนและใส่ปุ๋ยเคมี ส่วนข้าวกข 6 เกษตรกรที่ทดสอบโสนอัฟริกัน ได้ใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมทุกแปลง ผลผลิตเฉลี่ยใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105


อำเภอสันทราย


พื้นที่ทดสอบในอำเภอสันทราย ไม่พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติม จะให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้โสนเพียงอย่างเดียว


อำเภอสันกำแพง


พื้นที่ทดสอบอำเภอสันกำแพง การใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมในแปลงที่มีโสน ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 สูงกว่าในพื้นที่อำเภอแม่แตง และสันทราย สำหรับพันธุ์คลองหลวงซึ่งมีเพียงหนึ่งตัวอย่าง ให้ผลผลิตสูงภายใต้การใช้โสนเพียงอย่างเดียว (> 800 กก./ไร่) ส่วนพันธุ์ กข6 ภายใต้การเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 4 กก./ไร่ ให้ผลผลิต 600 กก./ไร่

เกษตรกรใน 3 พื้นที่ พบว่าต้นโสนในแปลงทดสอบที่มีการเจริญเติบโตพอสมควร จะช่วยให้การเจริญเติบโตของต้นข้าวดีกว่าแปลงที่ไม่มีโสน และมีผลผลิตข้าวสูงกว่าเช่นเดียวกัน จากการสุ่มเก็บตัวอย่างพืชและประเมินผลผลิต เกษตรกรมีความพึงพอใจกับผลของการใช้โสนเป็นปุ๋ยพืชสด โดยเฉลี่ยทั้งสามพื้นที่ แปลงที่ใช้โสนจะให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรหลายรายได้หว่านปุ๋ยเคมีเสริมในแปลงข้าว เมื่อเห็นว่าต้นโสนเจริญเติบโตไม่ดีเหมือนที่เห็นในสถานีทดลอง หรือในแปลงเพื่อนเกษตรกร จึงไม่กล้าที่จะเสี่ยงโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี
การวิเคราะห์การยอมรับโสนของเกษตรกรในโอกาสต่อมา พบว่าเกษตรกรที่มั่นใจในระบบโสน - ข้าว เพราะว่าโสนให้ผลตอบแทนสูงในแปลงของตน ไม่ใช่เป็นเพราะข้อมูลจากแปลงอื่น ดังนั้นเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่โดยทั่วไปจากการวิเคราะห์รวมไม่จำเป็นจะเหมาะสมในแปลงของเกษตรกรแต่ละราย

 
       
       
       
    ......................................................................................................................................................................................  
    งานทดลองในสถานีเพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกร  
    ......................................................................................................................................................................................  
 

 

 

 
  (กลับเกษตรที่ลุ่ม) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)