ฐานความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน  
   
 
    ฐานความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน  
       
   


เกษตรกรใช้วิธีการในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินหลากหลายวิธี เช่น หว่านมูลสัตว์/หรือที่นาเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ไถกลบวัชพืช เช่นหญ้าปากควาย หญ้านกเขา หญ้าหวาย ฯลฯ หรือการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียวฯลฯ หลังนาในพื้นที่มีชลประทาน วัตถุประสงค์หลัก คือการสร้างรายได้พร้อมทั้งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การใช้ปุ๋ยพืชสดยังเป็นวิทยาการใหม่ที่แนะนำโดยกรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร โดยผ่านสำนักงานเกษตรอำเภอ เช่นถั่วเขียว นำแจกให้กับเกษตรกรตั้งแต่ปี 2541 ในอัตรา 5 กก./ไร่ ขั้นตอนบำรุงการใช้ถั่วเขียวเป็นพืชบำรุงดินก่อนข้าวประกอบด้วยไถพรวนที่นา หว่านเมล็ด ถั่วเขียวต้นฤดูฝน เมื่อถั่วเขียวเจริญเติบโตได้ 45 วัน ทดน้ำเข้าแปลงปลูกข้าวด้วยการทำเทือก โดยไม่ต้องไถพรวน พบว่าได้ผลดีพอสมควร แต่เกษตรกรยังคงใช้ปุ๋ยเคมีหว่านในฤดูปลูกข้าวเช่นเดิม การใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยพืชสดชนิดใหม่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนเลย


ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่วิจัยพบว่ากว่าร้อยละ 60 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกโสนอัฟริกันเพื่อฟื้นฟูดินในครั้งนี้ เคยใช้วิธีต่างๆ เพื่อฟื้นฟูดิน โดยประมาณร้อยละ 66.7 ปลูกพืชตระกูลถั่วหลังการปลูกข้าว ซึ่งเป็นการปลูกเพื่อเก็บผลผลิตจำหน่ายแล้วไถกลบต้นที่เหลือ ร้อยละ 21.7 เคยใส่ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ และร้อยละ 45.5 ปลูกพืชบำรุงดินอื่นๆ ซึ่งรวมทั้งโสนอัฟริกันที่เกษตรกรบางรายเคยปลูกมาก่อน (ตารางที่ 5.3)


ส่วนเกษตรกรตัวอย่างที่ไม่ได้ปลูกโสนอัฟริกัน ร้อยละ 53.3 เคยใช้วิธีอื่นๆ นอกจากการใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อปรับสภาพดินและบำรุงดิน วิธีการที่ใช้มากได้แก่ การใส่ปุ๋ยคอกประเภทมูลโค มูลไก่ (ร้อยละ 59 ) และการปลูกพืชตระกูลถั่วหลังการปลูกข้าว (ร้อยละ 26.7) สำหรับการปลูกพืชตระกูลถั่วหลังการปลูกข้าวส่วนใหญ่จะปลูกถั่วเหลือง มีเพียง 1 - 2 ราย ที่ปลูกถั่วเขียวและถั่วดำ ทั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตขายแล้วจึงไถกลบลำต้น ไม่ใช่ปลูกเพื่อบำรุงดินโดยตรง สำหรับการปลูกพืชบำรุงดินอื่นโดยตรงไม่พบว่ามีเกษตรกรรายใดเคยปฏิบัติในทั้ง 3 พื้นที่ (ตารางที่ 5.4)

ผลดีที่เกษตรกรเห็นจากการปลูกพืชบำรุงดินและการใส่ปุ๋ยคอกนั้น เกษตรกรทุกรายกล่าวว่าทำให้สภาพดินในแปลงร่วนซุยขึ้น มี 11 ราย หรือร้อยละ 18.3 ของเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมดกล่าวว่าทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และบางรายที่ทำบ่อยๆ กล่าวว่าช่วยลดการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ลง

 
    ......................................................................................................................................................................................  
    การจัดการปุ๋ยเคมีในข้าวนาปีของเกษตรกร  
    ......................................................................................................................................................................................  
 

 

 

 
  (กลับเกษตรที่ลุ่ม) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)