ขอบเขตการวิจัยและนักวิจัย  
   
   
  งานด้านการพัฒนาพันธุ์ข้าว ปรับปรุงพันธุ์ข้าวต่างๆได้ให้ความสนใจกับการพัฒนาโดยมีเกษตรกรมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆในการพัฒนา ปัจจุบันพบว่าบทบาทของเกษตรกรไม่ได้เป็นเพียงผู้ใช้เทคโนโลยีแต่ยังมีส่วนสนับสนุนความสำเร็จของขบวนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ และเทคโนโลยีการเกษตร ดังนั้นจำเป็นต้องผนวกขบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรไว้
  .................................................................................................................................................................................
  ขอบเขตของงานวิจัย
  งานวิจัยด้านการปรับปรุงข้าวนาน้ำฝนโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมได้ศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มดำเนินงานวิจัยปี 2545
 
ภาคเหนือตอนบน: หน่วยวิจัยเกษตรยั่งยืน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวแพร่
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี
   
  กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน
 
ประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยเกษตรกรและเจ้าหน้าที่องค์กรส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการประมวลความคิดเห็นปัญหา และแนวทาง แก้ไขปัญหาข้าวนาน้ำฝน เริ่มระยะแรกเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 60 คน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 5 คน จาก 17 อำเภอ ใน 3 จังหวัด (จังหวัดเชียงราย ลำปาง และพะเยา)
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการปรับปรุงข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือ
 
วัตถุประสงค์
    1. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของเกษตรกรเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาในการปลูกข้าวนาน้ำฝนภายใต้สภาพนิเวศเกษตรแบบต่างๆ
2. เพื่อจัดทำกรอบโครงร่างงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวสำหรับนาน้ำฝน สำหรับภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. เพื่อระบุประเด็นที่ต้องการวิจัยในเชิงลึก ขั้นตอนที่สมควรดำเนินการสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน

     
 
สำรวจและสัมภาษณ์กลุ่มและครัวเรือนเกษตรกร ใช้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 จังหวัด โดยสัมภาษณ์เกษตรกรใน 3 จังหวัด
    วัตถุประสงค์
   
1. ลักษณะทางนิเวศเกษตรของข้าวนาน้ำฝน ทรัพยากรของครัวเรือนเกษตรกร
2. ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะแล้ง การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรภายใต้สภาวะแล้ง และความเสี่ยง
3. การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ แนวคิดและวิธีการจัดการของเกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิต
4. ลักษณะพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรต้องการ
 
การทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ข้าว โดยปี 2545 ได้ทดสอบร่วมกับเกษตรกรที่ จ. ลำปาง จ. เชียงราย และ จ. พะเยา
    วัตถุประสงค์
   
1. เพื่อทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ข้าวโดยกรมีส่วนร่วมของเกษตรกร
2. เพื่อประเมินผลผลิตร่วมกับเกษตรกร
3. เพื่อประเมินลักษณะพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรต้องการ
 
พันธุ์ข้าวที่ใช้ในการทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ร่วมกับเกษตรกร
    เบอร์ 1 สกลนคร
    เบอร์ 2 UBN92110-NKI-B5-30-1
    เบอร์ 3 กข 6
    เบอร์ 4 กข 15
    เบอร์ 5 KKNLR84149-SRN-35-1-1-1-6
    เบอร์ 6 IR57514-PMI-5-B-1-2
    เบอร์ 7 ขาวดอกมะลิ 105
    เบอร์ 8 เหนียวอุบล 2
    เบอร์ 9 เหนียวเมืองปาย
    เบอร์ 10 กข 8
     
  นักวิจัยในโครงการ
  + ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ
    กุศล ทองงาม
    บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
 
.
.....................................................................................................
    + ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ กรมวิชาการเกษตร
    บุญรัตน์ จงดี
 
.
.....................................................................................................
    + คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    อนันต์ พลธานี
    ปัทมา ศิริธัญญา
 
.
.....................................................................................................
    + ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร
    เกรียงไกร พันธุวัลย์
     
     
  ( งานวิยข้าวนาน้ำฝน) : (กลับเกษตรบนทีลุ่ม) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)