การจัดการของเกษตรกรกรณีขาดแคลนข้าว

 
 

 


 

การจัดการของเกษตรกรกรณีข้าวขาดแคลน


ครอบครัวปาเกาะญอ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนข้าว ซึ่งมีระยะตั้งแต่ 4-8 เดือน โดยการจัดตั้งธนาคารข้าว ปลูกพืชพาณิชย์เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งซื้อข้าวบริโภค รับจ้างทั่วไปในพื้นที่ และอาศัยการยืมจากเครือญาติหรือเพื่อนบ้านที่มีข้าวเพียงพอ

ความรุนแรงของภาวะการขาดแคลนข้าวจะเกิดขึ้นเมื่อการปลูกข้าวล่าช้าจนถึงเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม เนื่องจากฝนล่าหรือฝนแล้งต้นฤดู และมีการระบาด ของเพลี้ยกระโดดหลังขาว อย่างเช่นในปีฤดูปลูก 2541 ผลผลิตของตำบลบ้านจันทร์ อ.แม่แจ่ม ลดลงร้อยละ 65-80 จากปี 2540 ทำให้ทุกครัวเรือนขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค

ในปี 2543 ผลผลิตข้าวส่วนใหญ่เพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือนของเกษตรกรจากการสำรวจเกษตรกร 20 ราย พบว่าเกษตรกร 17 รายเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบ กับผลผลิตข้าวปี ปี และเกษตรกร 3 รายจาก 20 รายผลผลิตข้าวน้อยกว่าปี 2542 (ตารางที่ 7) สำหรับปี 2544 ผลผลิตเฉลี่ย สูงกว่าข้าวทุกปี เฉลี่ย 468 กก./ไร่จากการสุ่มเก็บ ตัวอย่างข้าวจำนวน 45 ตัวอย่างพื้นที่เก็บ 1 ตารางเมตร แต่ยังพบเกษตรกรขาดแคลนข้าวอยู่

  ตารางที่ 7 ผลผลิตข้าวของชุมชนปาเกาะญอตามลำน้ำต่างๆ
 
ผลผลิต
จำนวนเกษตรกร
 
น้อยกว่าปี 42
3
 
เพียงพอ
17
   

สำหรับชุมชนที่วัฒนธรรมการดำรงชีพผูกพันกับการปลูกพืชพาณิชย์ เช่น ชุมชนม้ง ซึ่งสร้างรายได้จากพืชพาณิชย์ เพื่อซื้อข้าวบริโภค จะมีปัญหาการขาดแคลน ข้าวน้อยกว่าชุมชนปาเกาะญอ เพราะกลุ่มนี้มีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ที่ดินเพื่อปลูกพืชพาณิชย์ ทั้งที่เป็นพืชผัก และไม้ผลเมืองหนาว อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์ที่ดิน และรูปแบบการผลิตแตกต่างไปจากชุมชนปาเกาะญอ กล่าวคือจะเน้นการใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่องจนกว่า ผลิตภาพ ของดินจะเสื่อมจนไม่คุ้มกับการฟื้นฟู หรือปัญหาด้านศัตรูพืชรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้ ก็จะย้ายพื้นที่เพาะปลูกใหม่ แต่ในกรณีที่ชุมชนพัฒนาการใช้ ้ประโยชน์อย่างถาวรโดยการปลูกไม้ผลยืนต้น พืชผักพาณิชย์ก็จะปลูกเป็นพืชแซมร่วมกับไม้ผล ทำให้ การขยายพื้นที่ ทำกินลดลงซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของ การใช้ที่ดินแบบแผ้วถางและเผา (alternatives to slash and burn) และพัฒนาเป็นระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืนได

 
  ตารางที่ 7 ผลผลิตข้าว (กก.) ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ปุ๋ยเคมีในกลุ่มเกษตรกรบ้านเด่น
 
ชื่อเกษตรกร
จำนวน (ตัว)
พันธุ์ข้าว
พื้นที่นา(ไร่)
ปุ๋ย
(กส).
ผลผลิต (กก.)
ข้าวขาด
(เดือน)
สมาชิกในครัวเรือน
 
วัว
ควาย
ผลผลิต
ี่เพิ่มขึ้น
 
1. จ่อดี
-
3
ปอเมาะ,
4
2
450
30
-
7
 
2. มูเหล่อ
-
4
วาโป
3.5
2
300
30
-
7
 
3. ส่าเลอพอ
-
4
โปเละ
4
2
450
30
-
7
 
4. เพเง
7
5
ปอเมาะ
4
2
300
45
-
8
 
5. โมคา
4
6
โปโละ
2
1
150
30
3
6
 
6. ประสิทธิ์
2
4
ปอเมาะ
4
2
270
30
-
8
 
7. เก่อเฮ
-
-
โปเละ
3.5
1.5
165
30
3
11
 
8. วิรุญ
-
-
โปเละ
3.5
1.5
165
30
-
5
 
9. ส่าทอง
-
-
วาโป
2.5
1
247
โรค
-
7
 
เฉลี่ย
4
4
3.5
1.5
277
31.8
3
7

 

  ตัวอย่างการจัดการกรณีขาดแคลนข้าว  
  เกษตรกรที่ขาดแคลนข้าว 3 เดือน ปริมาณข้าวที่บริโภค 100 กก.ข้าวสาร/เดือน
1 คน/ครึ่งกก./วัน. การจัดการกรณีขาดข้าว นายมูคา
1. ปลูกผักโครงการหลวง
2. เก็บของป่า
3. รับจ้าง
4. ยืมจากธนาคารข้าว
5. ยืมร้านค้า
 

จากการศึกษา พฤกษ์ และคณะ (2537) พบว่าแนวทางในการลดปัญหาการขาดแคลนข้าวเกษตรกร 95 ครัวเรือนที่ทำการสัมภาษณ์จาก 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านจันทร์ บ้านเด่น บ้านหนองเจ็ดหน่วย และห้วยบง พบว่าจำนวนปาเกาะญอที่ทำงานนอกอาชีพการเกษตรเพื่อนำรายได้มาชดเชยการขาดแคลนข้าวสูงถึง 89 ปอร์เซ็นต์ 65 เปอร์เซ็นต์ยืมข้าว จากธนาคารข้าวในหมู่บ้าน 51 เปอร์เซ็นต์ขายสัตว์เลี้ยง เช่น วัว หมู ไก่ และอืนๆ 47 เปอร์เซ็นต์ และ 43 เปอร์เซ็นต์ปลูกพืชเศรษฐกิจ จากข้อมูลตั้งแต่ปี 2537 ปี 2544 พบว่าชุมชนปาเกาะญอที่มีอาหารไม่เพียงพอจะปฏิบัติคล้ายคลึงกัน

  ตารางที่ 8 การจัดการของเกษตรกรบ้านเด่น และห้วยบงในกรณีขาดแคลนข้าว
 
ปี 2537 **
ปี 2544*
 
บ้านเด่น หนองเจ็ดหน่วย ห้วยบง และบ้านจันทร์
บ้านเด่น
บ้านห้วยบง
  1. รับจ้างภายในหมู่บ้าน 1.ขายควายซื้อข้าว 1. ขายวัว ขายควาย
  2. ยืมข้าวเปลือกจากธนาคารข้าว 2.รับจ้างภายในหมู่บ้าน 2. รับจ้างในหมู้บ้าน ต. บ้านจันทร์
  3. ขายสัตว์เลี้ยง 3.ปลูกพืชโครงการหลวง (ผัก,ฟักทอง) 3. ธนาคารข้าว อพป. (อาสาพัฒนาป้องกันตนเอง) สำหรับ (โครงการเมล็ดพันธุ์) ยืมข้าวเปลือกได้ประมาณ 370 ถัง เวลาส่งคืน ส่งดอก 3 ลิตร ต่อถัง (ข้าวเปลือก)
  4. ยืมจากญาติ และเพื่อนบ้าน 4.ยืมข้าวจากธนาคารข้าวในหมู่บ้าน 4. ยืมจากญาติ ทั้งข้าวเปลือก และข้าวสาร
  5. รายได้เสริมจากหัตถกรรม; ทอผ้า 5.ยืมญาติ (ข้าวสาร ข้าวเปลือกโดยไม่มีดอกเบี้ย) 5. ยืมเงินซื้อข้าว (5บาท/เดือน ดอกเบี้ย)
  6. แหล่งอาหารอื่นๆ 6.สินเชื่อจากร้านค้า ตามราคาขาย (บวกกำไรจากราคาของแล้ว) ในหมู่บ้าน 6. ยืมจากร้านค้าในราคาเท่าเงินสด เวลา < 1 เดือน
  7. เก็บและขายพืชอาหารจากป่า 7.เก็บของป่าขาย เช่นเดือนพฤษภาคม เก็บเห็ดถอบขาย 7. แลกเปลี่ยนสินค้า เช่น ข้าว แลก ของป่า
  8. อื่นๆ   8. การยืมที่ดิน (ป่าหมุนเวียน) ปลูกโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า
  9. รับจ้างนอกหมู่บ้าน    
  ที่มา: * Gypmantasiri, at.al (1994) และ ** ประชุมกลุ่มเกษตรกรบ้านเด่น และบ้านห้วยบง 2544

ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาขาดแคลนข้าว


เกษตรกรในพื้นที่ทุกคนทราบดีว่าปี 2540 ผลผลิตข้าวจะลดลงเนื่องจากการปลูกข้าวล่าช้าไปประมาณ 1 เดือน และจากงานทดลองปี 2539 ได้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อปลูกข้าวในเดือนกรกฎาคม ผลผลิตจะลดลงประมาณ 40 % และถ้าปลูกในเดือนสิงหาคมผลผลิตจะลดลงเหลือ 100 กก/ไร่ เกษตรกรได้สรุปแนวทางแก้ไขปัญหาผลผลิตข้าวไม่เพียงพอในปี 2540 ดังนี้

  ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาขาดแคลนข้าว  
  1 พันธุ์ข้าว เกษตรกรยังคงยึดพันธุ์ข้าว บือโปโหละ และ บือปอเมาะ เป็นพันธุ์หลักใน
การปลูกข้าวทุกปี แต่ในสภาพฝนแล้งและฝนทิ้งช่วงนาน เกษตกรมีความเห็นว่าพันธุ์
บือโปะโหละจะให้ผลผลิตสูงกว่าบือปอเมาะ เนื่องจากมีอายุการเก็บเกี่ยวช้ากว่า
2 ใช้ระยะปลูกชิด พันธุ์ข้าวทั้งสองพันธุ์มีขีดความสามารถในการแตกกอน้อย เมื่อการ
ปลูกล่าช้ามีผลทำให้การแตกกอลดลงอีก เกษตรกรคิดว่าการปลูกชิดจะช่วยพยุงผล
ผลิตข้าวได้
3 การใส่ปุ๋ยเคมี เกษตรกรที่สามารถซื้อปุ๋ยเคมีได้มีความประสงค์ที่จะใส่ปุ๋ยเคมี
16-20-0 ในอัตรา 25 กก/ไร่ (ตัวอย่าง เกษตรกรมูเหล่ แตเดิมเคยใช้ปุ๋ยเคมี
2 กระสอบต่อไร่ ปีนี้จะเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ยเป็น 3 กระสอบในพื้นที่เดียวกัน)

 



 

 

  (กลับเกษตรบนที่สูง) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)