การใช้ที่ดินเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

 

วิถีชีวิตของชุมชนปาเกาะญอยังคงผูกผันกับระบบการผลิตและรูปแบบการถือครองที่ดิน ซึ่งชาวปาเกาะญอได้แบ่งประเภทการ ใช้ที่ดินเพื่อการผลิตอาหารในครัวเรือนเป็น 5 ประเภท ดังนี้

ที่นา

ถือได้ว่าเป็นพื้นที่สำคัญที่สุดของชาวปาเกาะญอ ใช้สำหรับปลูกข้าวนาเป็นการผลิตเพื่อยังชีพ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 300-400 กก./ไร่ เกษตรกรบางรายมีการใช้ปุ๋ย 16-20-0 ที่อัตรา 12 กก./ ไร่ สามารถผลิตข้าวได้ 574 กก./ ไร่ (พฤกษ์ และสุพร 2539) เกษตรกรบางรายกล่าวว่า ในบางพื้นที่มีน้ำเพียงพอ ในฤดูแล้งสามารถ ที่ปลูกข้าวนาปรังได้ซึ่งต้องปลูกก่อนวันที่ 20 กรกฎาคม ในกรณีน้ำไม่ค่อยสมบูรณ์จะกลางถึงปลายเดือนกรกฎาคม พบว่าพื้นที่มีน้ำทั้งปีบ้านห้วยฮ่อม สามารถ ปลูกข้าวนาปรังได้ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่

ป่าใช้สอย

โดยทั่วไปเป็นป่าที่ชาวปาเกาะญอสามารถเข้าไปเก็บผลผลิตหรือเก็บไม้ฟืนใช้ในครัวเรือน ถือว่าเป็นแหล่งอาหาร ในบางพื้นที่เช่นบริเวณริมนาสามารถผลิตผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือการปลูกผักเพื่อส่งโครงการหลวง เช่น ฟักทอง เผือกเป็นต้น

ป่า

โดยทั่วไปหมายถึงป่า ที่ชุมชนให้ทำเกษตรหรือตัดไม้แต่สามารถเก็บพืชอาหารจากป่าได้ ส่วนมากเกษตรกรจะเก็บพืชอาหาร จากไม้ใหญ่ เช่น ลูกก่อนำไปผสมกับข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณ แป้งมากในกรณีที่ข้าวขาดแคลน ปกติลูกก่อติดลูกปีเว้นปี 2544 ลูกก่อติดดอกน้อยคาดว่าผลผลิตจะต่ำ

แปลงหมุนเวียน (ป่าหมุนเวียน)

การจัดการใช้ประโยชน์จากแปลงหมุนเวียนเพื่อการเพาะปลูกมีความสัมพันธ์กับพื้นที่เพาะปลูกแปลงอื่นของครัวเรือน ชาวปาเกาะญอใช้พื้นที่เพื่อสำรองปลูกข้าวไร่ โดยเฉพาะผลผลิตรวมจากที่นาและที่ไร่ ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในครัวเรือน โดยเกษตรกรจะแผ้วถางและเผา แต่จะเหลือไม้ใหญ่ล้อมรอบแปลง ภายในแปลงที่เผาจะปล่อยให้มีการพักตัวตามธรรมชาติ ต้นไม้ใหญ่บางต้นเหลือไว้ในแปลงให้สูงไม่น้อยกว่า 1 เมตรเพื่อเปิดโอกาส ให้ไม้เหล่านี้เจริญต่อ ไปอีกในปีต่อมาหลังการปลูกข้าวไร่ พฤกษ์และสุพร (2539) พบว่าบริเวณลุ่มน้ำวัดจันทร์ เกษตรกรมีพื้นที่หมุนเวียนสำหรับปลูกข้าวเฉลี่ย 3 แปลงต่อครัวเรือน และปล่อยให้แปลงหมุนเวียนพักตัวเฉลี่ย 3.2 ปี บางรายมีแปลงหมุนเวียนมากกว่า 3 แปลง สามารถปล่อยให้ระยะฟื้นฟูนานถึง 10 ปี ปัจจุบันเกษตรกร ใช้แปลงหมุนเวียนทั้งแปลงเดิมและเปิดใหม่ แต่สัดส่วนของแปลงเปิดใหม่ลดลงเนื่องจากแรงต้านของภาครัฐที่ต้องการลดการทำไร่แผ้วถางและเผา ดังนั้นเกษตรกรที่เปิดแปลงใหม่ในกรณีที่แปลงปลูกเดิมไม่สามารถฟื้นฟูได้ และกรณีที่มีที่ไร่หมุนเวียนไม่พอ นอกจากนี้เป็นเรื่อง ของจำนวนประชากร เพิ่มขึ้น สัดส่วนการใช้พื้นที่ไร่หมุนเวียนต้องมีการจัดสรร นอกจากนี้ชุมชนชาวปาเกาะญอ ผลของระบบป่าหมุนเวียนแบบแผ้วถางและเผาต่อวิถีชีวิตของชุมชนปาเกาะญอ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและความมั่นคงทางอาหาร

ไร่หมุนเวียน

หมายถึงที่ไร่มี่ชาวปาเญอ ใช้พื้นที่เป็นที่ไร่สำหรับปลูกข้าวไร่ ซึ่งเผาให้โล่งเตียน ปลูกข้าวไร่อาศัยน้ำจากน้ำฝน ปาเกาะญอจะหมุนเวียนปลูกข้าวไร่สลับพืชชนิดอื่น เช่น พืชตระกูลถั่ว หรือพืชเศรษฐกิจ เช่น เผือก ขิง และยังไม่มีการพัฒนาเป็นไม้ผลใดๆ ในบางรายก็ไม่มีการปลูกพืชใดๆเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ


 
 
 

 

 

   
   
  (กลับเกษตรบนที่สูง) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)