การผลิตข้าวนาดำในลุ่มน้ำย่อยต่างๆ

การผลิตข้าวนาดำในลุ่มน้ำย่อยต่างๆ  
 

พื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาปีของ ต.บ้านจันทร์ จะกระจายอยู่ในลุ่มน้ำย่อยตามลำน้ำเล็กๆของน้ำแม่แจ่ม รวมพื้นที่ประมาณ 2600 ไร่ (แผนภาพที่1) ลักษณะที่สำคัญของลุ่มน้ำย่อยขนาดต่างๆเหล่านี้ที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของข้าวนาดำคือ

 

 

ปริมาณน้ำต้นทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการปลูกข้าวตลอดฤดูกาลแตกต่างกัน ครอบครัวปาเกาะญอต้องจัดวันปลูกข้าวให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงจากภาวะขาดแคลน


อุณหภูมิในแต่ละลุ่มน้ำมีความแตกต่างกัน อิทธิพลที่สะสมตลอดฤดูทำให้การเจริญเติบโตของข้าวแตกต่างกันได้ ซึ่งปาเกาะญอมีความตระหนักในเรื่อง "ความเย็น" ของสภาพพื้นที่นา ทำให้เกิดการคัดเลือกพันธุ์ข้าวเฉพาะพื้นที่ที่ทนต่อสภาพ "หนาวเย็น"


ความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำที่พอเพียงกับอุณหภูมิที่เหมาะสม ที่แสดงออกในแต่ละลุ่มน้ำย่อยทำให้การจัดการการปลูกข้าวเพื่อลดความเสี่ยงด้านผลผลิตต้องยุ่งยากมากขึ้น
การสำรวจผลผลิตข้าวโดยการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวในพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร ได้ดำเนินการติดต่อกันตั้งแต่ปี 2539-2544 ในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยต่างๆดังแสดงในรูปภาพที่ 2 เพื่อศึกษาถึงความแปรปรวนของผลผลิตข้าวภายใต้การเขตกรรมของเกษตรกรปาเกาะญอ


ผลผลิตข้าวเฉลี่ยข้าวนาปีดังแสดงในตารางที่1 ได้ชี้ให้เห็นว่าความแปรปรวนของผลผลิตเฉลี่ยระหว่างปีสูงถึงร้อยละ 28 ของผลผลิตเฉลี่ยรวม โดยเฉพาะฤดูปลูกปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภาวะแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอสำหรับสำหรับข้าวนาปีทำให้ผลผลิตต่ำกว่าทุกปี เฉลี่ย 224 กก./ไร่ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 75 ของผลผลิตเฉลี่ยรวม 4 ปี
การสุ่มเก็บข้อมูลผลผลิตข้าวไม่ได้ดำเนินการในทุกลุ่มน้ำย่อยอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 2539-2544 และจำนวนตัวอย่างสุ่มเก็บในแต่ละปีไม่เท่ากัน ทำให้ไม่สามารถ เปรียบเทียบผลิตภาพของแต่ละลุ่มน้ำย่อยได้ อาศัยข้อมูลที่มีอยู่พบว่า ผลผลิตเฉลี่ยข้าวนาปีในแต่ละปีมีความแปรปรวนสูงตั้งแต่ 23 ถึง 39 เปอร์เซ็นต์
ข้อมูลผลผลิตเฉลี่ยของแต่ละลุ่มน้ำย่อยในแต่ละปีมีความแปรปรวนแตกต่างกัน จากการสำรวจในพื้นที่พบว่า

นอกจากปัจจัยเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของน้ำในแต่ละแปลงปลูกแล้ว การใช้พันธุ์ข้าว การดูแลกำจัดวัชพืช และการจัดการธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็น ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความแปรปรวนสูงระหว่างเกษตรกรปาเกาะญอในลุ่มน้ำย่อยเดียวกันในภาวะขาดแคลนน้ำ เช่นปี 2540 ลุ่มน้ำย่อยหนองเจ็ดหน่วยให้ผลผลิตสูงถึง 312 กก./ไร่ ซึ่งสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของลุ่มน้ำทั้งหมดถึง 39 เปอร์เซ็นต์

สำหรับลุ่มน้ำย่อยห้วยเมี่ยงซึ่งมีข้อมูล 3 ปี ติดต่อกัน (2540-2542) แสดงศักยภาพผลผลิตในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของลุ่มน้ำทั้งหมดเช่นเดียวกัน ในสภาพที่ฤดูปลูก ใกล้เคียงปกติ เช่น ปี 2544 ลุ่มน้ำย่อยบ้านเด่นมีค่าผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดถึง 464 กก./ไร่ ลุ่มน้ำแม่แจ่มในปี 2544 ผลผลิตเฉลี่ยค่อนข้างสูง 547 กก./ไร่ และภาพผลผลิตโดยรวมเมื่อเปรียบเทียบกับปีต่างๆพบว่าผลผลิตข้าวเฉลี่ยสูงกว่าทุกปี

 
(กลับเกษตรบนที่สูง) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)