แนวทางเลือกและโอกาสในการเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร

 
 
 
โอกาสพืชอาหารอื่นๆกับการลดปัญหาการขาดแคลนข้าว    
   
.........................................................................................
..........................................................................................
การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
 
การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวสามารถทำได้หลายด้าน เช่นทางเลือกในการเพิ่มผลผลิตข้าวนาดำ ประกอบด้วย การเพิ่มผลผลิตโดยการใช้ปุ๋ยเคมีระยะสั้น ซึ่งปัจจุบันชาวปาเกาะญอจัดการอยู่ แต่ในบางรายไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากขาดปัจจัยการผลิต การจัดตั้งกองทุนปุ๋ยเป็นโอกาสหนึ่งที่สนับสนุนเปิดโอกาสให้เกษตรกร ในรายที่ข้าวไม่เพียงพอไม่มีกำลัง ในการซื้อปัจจัยการผลิตสามารถนำไปใช้กับแปลงข้าวนาดำของตัวเองได้ แต่อย่างไรก็ตามการจัดโดยการให้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว คงไม่เพียงพอต่อการปรับปรุงผลผลิตในระยะยาว โอกาสของพืชบำรุงดินตระกูลถั่ว และปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยน้ำหมักที่มีการพัฒนาจากการใช้เศษที่เหลือจากฟาร์มนำมาผลิต เป็นหัวเชื้อน้ำหมักซึ่งที่นาลุ่มภาคเหนือตอนล่างได้มีการใช้และพัฒนาวิธีการต่างๆอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะเปิดโอกาสในการเพิ่มผลผลิตข้าวในระยะยาวได้

การใช้กล้าอายุสั้นและกล้าเส้นเดียวเป็นทางเลือกหนึ่งจากการทดสอบในพื้นที่เกษตรกรหน้าสถานีโครงการหลวงวัดจันทร์ และสถานีวิจัยเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรได้ดำเนินการวิจัยและทดสอบโดยใช้พันธุ์พื้นเมืองคัดเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงพบว่าสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวนาดำบนที่สูงได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์


การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ไม่ไวต่อช่วงแสงและสามารถทนต่อสภาวะอากาศได้เนื่องจากอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ เนื่องจากอุณหภูมิต่ำบนที่สูงมีผลทำ ให้การเจริญเติบโตของข้าวช้าส่งผลถึงการลดลงของผลผลิตข้าว โอกาสของพื้นที่มีน้ำตลอดทั้งปี และใช้พันธุ์ข้าวนาดำที่ไม่ไวแสงช่วงนาปรังได้ จากการคัดเลือกพันธ ุ์ที่ทดสอบสามารถปลูกเป็นข้าวนาปรังได้ของ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร ประมาณ 5 พันธุ์และเคยนำมาทดสอบบนที่สูงบ้านจันทร์พบว่าสามารถใช้ได้ประมาณ 3 พันธุ์ อย่างไรก็ตามการพัฒนาพันธุ์เหล่านี้ยังมีความต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะงานวิจัยเกี่ยวกับข้าวที่สูงในการตัดเลือกพันธุ์ และการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์

ส่วนการปรับปรุงด้านที่ป่าหมุนเวียนเพื่อปลูกข้าวไร่ นั้นโอกาสในการพัฒนาการที่ลดระยะเวลาในการฟื้นฟูดินโดยการใช้ชีวมวลของไม้ป่า การปลูกพืชตระกูล ถั่วลงไปในดินเพื่อปรับปรุงโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน พันธุ์ข้าวไร่ที่ใช้ควรต้องมีการ เนื่องจากการเพิ่มธาตุอาหาร ในแปลงหมุนเวียนโดยวิธีการธรรมชาติต้องใช้เวลา ดังนั้นการใช้แปลงหมุนเวียนเพื่อปลูกข้าวไร่จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของผลผลิตต่อระยะเวลาการฟื้นตัว แนวทางการเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่มีประสิทธิภาพในการใช้ธาตุอาหารและมีเสถียรภาพของผลผลิต ซึ่งลักษณะพันธุ์ข้าวดังกล่าว จะเป็นประโยชน์มากสำหรับแปลงหมุนเวียนที่มีระยะการพักตัวสั้น อย่างไรก็ตามจากการทดสอบพันธุ์และติดตาม ผลของการใช้พันธุ์ข้าวไร่ในแปลงหมุนเวียน ของเกษตรกรยังมีข้อจำกัดหลากหลาย เช่นการใช้แรงงานในกำจัดวัชพืช โดยปกติเกษตรกรใช้แรงงานแลกเปลี่ยนแต่ในบางครั้งการกำจัดวัชพืชในช่วงเวลา ทีช้าส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง

 
 
    ระบบการใช้ป่าหมุนเวียน
 
       
    การใช้ประโยชน์จากแปลงหมุนเวียนเพื่อการเพาะปลูกจะมีความสัมพันธ์กับการใช้พื้นที่เพาะปลูกอื่นๆของครัวเรือน ซึ่งโดยทั่วไป ชาวปาเกาะญอ ใช้พื้นที่แปลงหมุนเวียนเป็นพื้นที่สำรองสำหรับปลูกข้าวไร่เฉพาะเมื่อผลผลิตรวมจากที่นา และที่ไร่ ไม่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน(พฤกษ์ และสุพร, 2539; พฤกษ์ และบุศรา, 2544) ในกรณีที่ข้าวข้าวพอเพียงต่อการบริโภคของครัวเรือน
 
       
    การเตรียมพื้นที่ในแปลงหมุนเวียนโดยวิธีการแผ้วถางและเผา จะยังคงเหลือตอไม้ใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งตอไม้เหล่านี้สามารถแตกยอดใหม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งชีวมวลธรรมชาติที่ช่วยฟื้นฟูพื้นที่ในระยะพักตัว อย่างไรก็กระบวนดังกล่าวต้องอาศัยเวลา ในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ ์ของดินจึงเน้นการย่นระยะเวลาการฟื้นตัวหรือการเพิ่มปริมาณชีวมวลในเวลาอันสั้น แปลงหมุนเวียนเป็นพื้นที่ๆ ชาวปาเกาะญอสามารถที่ใช้ที่ดิน โดยระบบการยืมพื้นที่จากเพื่อนบ้านเพื่อเพาะปลูกได้ วิธีการปลูกข้าวไร่ปลูกโดยการหยอดหลุม อาศัยความชื้นจากน้ำฝนในการงอก และเจริญ เติบโต อย่างไรก็ตามพบว่าเกษตรกรปลูกพืชอาหารอื่นๆผสมผสานเข้าไปในแปลงปลูกข้าวไร่ ซึ่งแต่ละครัวเรือนเกษตรกรจะมีการปลูกชนิดพืชที่ ี่แตกต่างกันออกไป แต่พืชหลักที่นิยมปลูกได้แก่ ผักสำหรับบริโภค(พืชตระกูล มะเขือ น้ำเต้า ฟักทอง ฟัก) พืชอาหาร (ข้าวโพด, เผือก, เดือย) เครื่องเทศ (ขิง พริก) สมุนไพร ผักสำหรับเลี้ยงหมู ไม้ดอกใช้ป้องกันแมลง และอื่นๆ
 
       
    พื้นที่แปลงหมุนเวียนที่เกษตรกรมีข้าวเพียงพอจะไม่มีการใช้แปลงหมุนเวียน ไม่ป่าจะเจริญเติบโตจากต้นตอเดิมที่ถูก เผาและเจริญ เป็นไม้ป่าธรรมชาติ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้าเก็บฟืน หรือใช้ประโยชน์สำหรับเลี้ยงเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติ
 
       
    ปาเกาะญอจะผลิตข้าวไร่โดยอาศัยระยะการพักตัวของที่ดินติดต่อกัน 5-7 ปี โดยอาศัยระบบชีวมวลของไม้ป่าเป็นวัสดุฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งสามารถรักษาเสถียรภาพของข้าวไร่ได้ดีพอสมควร ระบบดังกล่าวนี้ปัจจุบันชุมชนปาเกาะญอตำบลบ้านจันทร์ยังคงปฏิบัติกัน กล่าวได้ว่าการใช้ ระบบป่าหมุนเวียนในระบบการใช้ที่ดินบนที่สูงยังมีความจำเป็นที่ปาเกาะญอ นิยมปฏิบัติเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนข้าวซึ่งผลผลิตข้าวไร่โดยเฉลี่ย 200-300 กก./ไร่ อย่างไรก็ตามในแปลงหมุนเวียนการลดลงของธาตุอาหารค่อนข้างรวดเร็วเมื่อปลูกข้าวติดต่อกัน และผลผลิตข้าวลดลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อปลูกติดต่อกันในปีที่ 2 แปลงเดิม ถึงแม้แปลงดังกล่าวจะมีระยะการฟักตัวนานถึง 7 ปี (พฤกษ์ และสุพร, 2539)
 
       
    ปัจจุบันจะพบว่าระยะเวลาการพักฟื้นของแปลงหรือป่าหมุนเวียนนี้ในลุ่มน้ำวัดจันทร์ลดลงเหลือประมาณเพียง 3 ปี เนื่องจากความ อุดมสมบูรณ์ของดินลดลง และผลตอบแทนจากการผลิตข้าวไร่เป็นเพียงแค่การเสริมความต้องการสำหรับการบริโภคภายในครัวเรือนเท่านั้น นอกจากนี้ พฤกษ์ (2544) รายงานว่าผลจาก นโยบายของรัฐที่ต้องการลดระบบการแผ้วถางและส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชน เช่นการเพิ่มของประชากร กับการใช้พื้นที่ ป่าหมุนเวียนในการปลูกข้าวไร่ไม่สามารถ ขยายพื้นที่ปลูกได้อีก และนอกจากนี้การทำการเกษตร แบบแผ้วถาง และเผา โดยในกระบวนการผลิตจำเป็น ต้องใช้แรงงานสูงทั้งแรงงานในครัวเรือนและการพึ่งพิงแรงงานแลกเปลี่ยน ประเด็นเรื่องการตัดสินใจใช้พื้นที่ป่าปลูกข้าวไร่ ต้องดำเนินการในระดับกลุ่ม ตั้งแต่การแผ้วถางและเผา การทำแนวกันไฟ และการ ทำรั้วเพื่อป้องกันการทำลายพืชผลจากสัตว์เลี้ยง เหตุผลดังกล่าวมาส่งผลให้มีบางชุมชนหยุดการแผ้วถางและเผาที่แปลงหมุนเวียนแบบ แผ้วถางและเผาได้ลดน้อยลง บางกลุ่มได้ปล่อยให้พื้นที่ป่าหมุนเวียนฟื้นตัวกลับเป็นป่ารุ่นสอง และใช้ประโยชน์จากการหาของป่า  
       
    ดังนั้นโอกาสของการใช้ป่าหมุนเวียนในอนาคตมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมีกลุ่มเกษตรกรมากกว่า 50เปอร์เซ็นต์ที่จะยังคงต้องพึ่งพิง ระบบดั่งกล่าวเนื่องจาก เนื่องจากข้าวไม่พอและการทำไร่แบบแผ้วถางและเผานี้ถือได้ว่าเป็นวิธีกา รที่ถูกถ่ายทอดมาแต่บรรพบุรุษ และเป็นการปฏิบัติที่สืบต่อกันมา อย่างไรก็ตามโอกาส ที่ใช้การพักฟื้นของป่าปัจจุบันมีระยะเวลาที่สั้นลง ประกอบกับข้าวไร่ มีการดึงธาตุอาหาร จากดินไปใช้ค่อนข้างเร็ว จึงส่งผลให้ผลผลิตข้าวไร่ไม่เพียงพอต่อ การบริโภคในครัวเรือน นอกจากนี้สภาพแวดล้อม ของพื้นที่แปลงหมุนเวียน ยังมีส่วนสำคัญที่สนับสนุนระบบการผลิตข้าวไร่บนที่สูง แนวทางการสร้าง ทางเลือกของเกษตรกร ที่ใช้พื้นที่ไร่หมุนเวียน โดยระบบแผ้วถาง และเผานั้น ยังมีความสัมพันธ์กับ การใช้ประโยชน์ที่ดินของครัวเรือน ในการผลิตข้าวอื่นๆ ที่นา ที่ไร่ และที่แปลงหมุนเวียน นอกจากนี้ยัง พบว่าป่าหมุนเวียนยังเกี่ยวข้องกับการวิถีชีวิตของชุมชนปาเกาะญอบ้านจันทร์
 
       
    ระบบการผลิตผัก
 
       
    ระบบการผลิตผักกึ่งพาณิชย์ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกภายใต้โครงการหลวงวัดจันทร์ซึ่งเกษตรกรผู้ผลิตผัก "โครงการหลวง" จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพนักงานภาคสนามของมูลนิธิโครงการหลวง ด้านการใช้ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต และการตลาด โดยทั่วไปแล้วจะมีความเสี่ยงน้อย โดยเฉพาะด้านการตลาด อย่างไรก็ตาม การลดต้นทุนการผลิตในขณะที่ยังคงรักษาระดับ ผลผลิตและคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ จะเป็นประเด็นด้านการจัดการที่สำคัญ ระบบการผลิตผักนี้ ถือได้ว่าเป็นทางเลือกของเกษตรกรที่มีความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น อยู่ใกล้แหล่งน้ำ
 
       
    พืชผักเมืองหนาวหลายชนิด เช่นหอมญี่ปุ่น ถั่วแขก ถั่วลันเตา สลัดหวาน สลัดหอมห่อ ฯลฯ เป็นพืชอายุสั้น และต้องการ การเขตกรรม ที่แม่นยำและการดูแลอย่างใกล้ชิด การจัดการด้านการผลิตในรูปแบบของ "แปลงรวม" โดยที่เปิดโอกาสให้เกษตรกร หลายรายดำเนนการ ปลูกพืชในแปลงรวมที่มีพืชหลากหลายชนิด จะช่วยให้การติดตามโดยเจ้าหน้าที่สนาม และการเรียนรู้ระหว่างเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ ี่มีประสิทธิผล มากยิ่งขึ้น ส่วนไม้ผลซึ่งมีอายุการพัฒนาที่ยาวนานกว่า สามารถปลูกได้ในแปลงของเกษตรกรในพื้นที่แต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างความพร้อม และทักษะการผลิตแบบสมัยใหม่ พร้อมทั้งระบบการสนับสนุนปัจจัยการผลิตแบบสมัยใหม่ พร้อมทั้งระบบการสนับสนุน ปัจจัยการผลิตระยะแรก จะสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่สามารถปรับตัวเข้ากับระเบียบเศรษฐกิจใหม่ได้ เช่นกระบวนการสร้างกลุ่มยุวเกษตรกรของโครงการหลวง แม่แฮที่ประสบความสำเร็จในด้านการเพิ่มศักยภาพการพึ่งตนเองได้ สามารถใช้เป็นต้นแบบของการพัฒนากลุ่ม ที่สนับสนุนการผลิตทางเกษตร ที่เน้นคุณภาพและสนองต่อความต้องการของตลาดได้
 
       
    นอกจากระบบการผลิตผักภายใต้โครงการหลวงแล้ว ระบบการผลิตผักแบบดั่งเดิมเพื่อบริโภค ที่เหลือจำหน่ายภายใต้การทำฟาร์ม ผสมผสานจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนอาหารในครัวเรือนเกษตรกร ตัวอย่างเกษตรกร ที่ขุดบ่อเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน สามารถที่ปลูกผักเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ผักกาดเขียวปลี ฟักทอง พริก ผักชี ผักกาดกวางตุ้ง หอมแบ่ง และอื่นๆ ซึ่งเกษตรกร สามารถนำมาบริโภคภายในครัวเรือนที่เหลือสามารถขายในหมู่บ้านได้ การเก็บอาหารจากพื้นที่ป่ายังเป็นอาหารและสามารถ เพิ่มรายได้ให้ ้กับครัวเรือนตามฤดูกาลต่างๆได้เช่นต้นฤดูฝน เห็ดถอบ เห็ดต่างๆ หน่อไม้ ฯลฯ ซึ่งเกษตรกรมีความรู้และชำนาญ ในการหาของป่าโดยเฉพาะ ชาวปาเกาะญอผู้หญิง นอกเหนือจากพืชที่ให้ผลผลิตที่ใช้บริโภคตามฤดูกาลแล้ว พืชอื่นๆที่ป่าเกาะญอเก็บจากป่าสำหรับใช้ เช่นสมุนไพร พืชหัว ฯลฯ สามารถนำมาใช้ในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาและอาหารจากภายนอก

 
       
    บทบาทของฟาร์มผสมผสานกับการเพิ่มความมั่นคงทาง  
    ระบบการทำฟาร์มแบบผสมผสาน  
       
    ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่เดียวกัน เป็นระบบใหม่ที่เกษตรกรปรับเปลี่ยนที่นาบางส่วน ขุดสระน้ำเพื่อกักเก็บน้ำใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง และใช้บ่อน้ำเพื่อเลี้ยงปลา เนื่องจากเป็นระบบที่มีความมั่นคงทางอาหารและรายได้ และสามารถสร้างงานได้ตลอดปี เกษตรกรที่คุ้นเคยกับการ ผลิตพืชผักร่วมกับโครงการหลวง จะสามารถใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ดังกล่าว วางแผนระบบการปลูกพืชได้ทันที การได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์พืช ที่มีคุณภาพจะเป็นปัจจัยหลักสำหรับระบบการผลิตดังกล่าว ซึ่งจะมีผลต่อความหลากหลายของพืชองค์ประกอบในฟาร์มแต่เดิมชุมชนปาเกาะญอ ซึ่งยึดเหนี่ยวกับวัฒนธรรมการปลูกข้าว และค่อนข้างจะอนุรักษ์นิยม มักจะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการลดพื้นที่นาบางส่วน เพื่อสร้างเสริมกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับครัวเรือน อย่างไรก็ตามบทบาทของประมงหมู่บ้าน และพันธุ์ปลาน้ำจืด ที่สามารถ จัดหาได้ง่ายกว่าเดิม เปิดโอกาสให้เกษตรกรบางรายได้ทดลองและประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะความเป็นเอนกประสงค์ของบ่อปลา ซึ่งเป็นแหล่งกัก เก็บน้ำในไร่นาสำหรับการปลูกพืชในฤดูแล้ง ทำให้ชุมชนบนที่สูงสามารถพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน และแบบประณีตในการรสร้าง ความมั่นคงทางอาหารและการสร้างรายได้ตลอดปี กิจกรรมหลักในการผลิตระบบฟาร์มผสมผสานจะสอดคล้อง กับวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน ปาเกาะญอ เริ่มจาการจัดเตรียมพื้นที่จะขุดบ่อหาพันธุ์ปลา ก่อนฤดูกาลเพาะปลูกซึ่งมีแรงงานพอเพียงการการขุดบ่อ ในต้นฤดูฝนทำนา และในขณะเดียวกันมีเวลาว่างที่สามารถดูแลให้อาหารปลา นอกจากนี้ช่วงที่ข้าวเจริญเติบโต เกษตรกรสามารถผันน้ำจากบ่อปลา เพื่อทำการ ปลูกผักได้ ระบบเกษตรผสมผสานที่มีสระกักเก็บน้ำในฟาร์มเป็นองค์ประกอบหลัก จะสามารถดำเนินการได้เฉพาะในพื้นที่นา ที่มีแหล่งน้ำจาก ลำน้ำขนาดต่างๆหล่อเลี้ยงตลอดปี ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการพัฒนา เกษตรผสมผสาน ยังมีไม่มากเนื่องจากการ ขุดบ่อหรือสระน้ำจำเป็นต้องใช้ทุนสูง นอกจากนี้การวางแผนกิจกรรม ทางเกษตรภายในฟาร์ม ที่สอดคล้องกับตลาด ในชุมชนยังไม่มีหน่วยงาน ที่สนับสนุนการให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่กลุ่มเกษตรกร  
       
    ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่นาบนที่สูง มีศักยภาพที่จะให้ผลตอบแทนสูงทั้งที่เป็นรายได้ อาหารและโอกาสการสร้างงานตลอดปี แต่พัฒนาการดังกล่าวถึงแม้จะสามารถผลักดันให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง การพัฒนาระบบนี้จำเป็นต้องพิจารณาถึงผลข้างเคียง ต่อเกษตรกร ที่ใช้ประโยชน์จากลำน้ำเดียวกัน ความจำเป็นที่ต้องพัฒนาตลาดควบคู่กับการผลิตทั้งภายในชุมชนและตลาดนอกพื้นที่ โดยเฉพาะในระยะแรก การใช้ประโยชน์จากตลาดของโครงการหลวงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการผลิตในฟาร์ม  
       
    กประการหนึ่งที่สำคัญซึ่งเกษตรกรกล่าวว่า การมีบ่อปลาในพื้นที่จะทำให้ขยายแนวคิดในการการจัดการฟาร์มอื่นๆ ได้แก่ การปลูกผัก การเลี้ยงหมูผสมผสานกับบ่อปลา เนื่องจากเกษตรกรมีเวลามากขึ้นที่อยู่ดูแลปลา เนื่องจากปัญหาการลักขโมยปลา อย่างไรก็ตามการขยาย แนวความคิดหรือการพัฒนาความคิดด้านการจัดการปลูกในพื้นที่ตัวเองก็มีมากขึ้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาด้านอื่นๆ ยังมีความสำคัญ และจำเป็นต่อชุมชนปาเกาะญอ ได้แก่ การให้ความรู้เกษตรกรด้านการจัดการ ประสานงานต่างๆ เริ่มตั้งแต่ พันธุ์ปลาที่ใช้ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณา เนื่องจากบนพื้นที่สูงอุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลา ดังนั้นวิธีการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลา การป้องกันโรคปลา รวมถึงการจัดการผสมผสาน ระหว่างการเลี้ยงหมูกับการเลี้ยงปลาภายในหมู่บ้าน เหล่านี้จำเป็นที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆของเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับต่างๆ รวมถึงหน่วยงานพัฒนาเอกชนต่างๆ และ มหาวิทยาลัย  
       
    ไม้ผลแบบผสมผสาน  
       
    สภาพภูมินิเวศน์บนที่สูงมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในการผลิตพืชสวนชนิด ต่าง ๆ เช่น ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก แนวทางการพัฒนาเกษตรที่สูงของโครงการหลวงในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ได้ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติจำเพาะของสภาพภูมินิเวศน์บนที่สูงนี้ สำหรับการพัฒนาและส่งเสริมพืชสวน เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นของชุมชนบนที่สูง ความสำเร็จของการส่งเสริมพืชสวนในศูนย์ต่าง ๆ ของโครงการหลวง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและขีดความสามารถในการจัดการและทักษะของผู้ผลิต เนื่องจากวิธีการผลิตและการเขตกรรม ของพืชสวนกึ่งเมืองหนาวเหล่านี้ไม่เป็นที่คุ้นเคยของเกษตรกรบนที่สูง ดังนั้นกระบวนการผลิตของพืชบางชนิด ซึ่งต้องการความ แม่นยำ ในการควบคุม อาจจะไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมและวิถีความเป็นอยู่ของชุมชน พืชที่มีมูลค่าสูงหลายชนิดจึงไม่สามารถจัดการได้ในหลาย ๆ พื้นที่  
       
   

ชุมชนที่มีการจัดตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร มักจะปรับใช้ระบบการใช้ที่ดินที่มีไม้ผลเป็นพืชหลัก และผสมผสานกับพืชผักอายุสั้นในระยะแรก ๆ ที่ไม้ผลยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เทคโนโลยีการผลิตและพันธุ์ไม้ผลต่าง ๆ ส่วนมากจะได้รับการแนะนำและสนับสนุนจากมูลนิธิโครงการหลวง และกองเกษตรที่สูง ไม้ผลชนิดหลักได้แก่ พลับ พลัม ท้อ บ๊วย แมกคาเดอเมีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม้ผลพื้นเมืองเช่น มะม่วง ส้มโอ ขนุน เป็นไม้ผลที่ปลูกในบริเวณรอบบ้านสำหรับบริโภค


ไม้ผลที่มีมูลค่าสูงทั้งหลายที่พัฒนาและส่งเสริมภายใต้มูลนิธิโครงการหลวง มีความต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแตกต่างกัน ความรู้พื้นฐานด้านความต้องการของพืช และข้อมูลสภาพแวดล้อมของพื้นที่มีความจำเป็นเบื้องต้นสำหรับวางแผนการผลิต นอกจากนี้ ชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมาย จะต้องได้รับการชี้แจงและสร้างความเข้าใจ เพื่อเสริมสร้างทักษะการผลิตที่ถูกต้อง ไม้ผลมูลค่าสูงเหล่านี้เป็นพืชต่างถิ่น และจะต้องแข่งขันกับผลิตผลจากประเทศใกล้เคียง การผลิตที่ให้ได้คุณภาพจึงเป็นเป้าหมายหลักในด้านการจัดการ นอกจากนี้
การผสมผสานไม้ผลเหล่านี้กับการปลูกกาแฟอราบิก้า จะช่วยลดความเสี่ยงด้านตลาดและราคาได้ดีกว่าการพัฒนาเป็นสวนไม้ผลเชิงเดียว ดังนั้นการใช้ไม้ผลมูลค่าสูงเพื่อฟื้นฟูการใช้ที่ดินป่าหมุนเวียน จะเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการสร้างทางเลือกเพื่อลดระบบแผ้วถางและเผา กล่าวได้ว่าบทบาทของการทำสวนผสานเป็นอีกทางเลือกหนึ่งลดความเสี่ยงโดยเฉพาะชุมชนบนที่สูง เนื่องจากความได้เปรียบด้านภูมินิเวศน์ และภูมิอากาศโดยเฉพาะความได้เปรียบของชนิดไม้ผลเมืองหนาว

 
       
    บทบาทของปศุสัตว์  
       
    การเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่าถือได้ว่าการเลี้ยงแบบธรรมชาติของชุมชนปาเกาะญอ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตของปาเกาะญอ โดยเกษตรกร จะปล่อยวัวในตอนเช้าและต้อนกลับเข้าคอกในตอนเย็น เป็นวิธีที่จัดการง่าย ใช้ต้นทุนน้อย และสามารถข่ายได้กำไร หรือนำไปบริโภค ในครัวเรือนเกษตรกรได้ กระบวนการพัฒนากองทุนโคเนื้อเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อลดภาวะความยากจนของครัวเรือน เป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาการแคลนพืชอาหาร  
       
   

เกษตรกรกล่าวว่าการเลี้ยงโคเนื้อจะเป็นการตลาดประเภทเดียวที่ชาวปาเกาะญอมีอานาจในการต่อรองและการกำหนดราคา
ดังนั้นการพัฒนาทางเลือกที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น และผสมผสานกับวิทยากรและรูปแบบการจัดการด้านการผลิตบางส่วนของมูลนิธิโครงการหลวง โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์และการกำหนดทางเลือกของชุมชน ผูกผันกับการตัดสินใจและการทำงานระดับกลุ่ม จะเป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของนิเวศน์ที่สูงเช่นเดียวกัน สัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงกันทั่วไปบนพื้นที่สูง ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่ และม้า สัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ และม้า เดิมมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์แรงงาน และเป็นแหล่งสะสมทุนเป็นสำคัญ การนำมาใช้เป็นอาหาร ไม่ใช่จุดประสงค์สำคัญ ปัจจุบันนี้ เนื่องจากเครื่องจักรขนาดเล็ก และรถบรรทุกเล็ก เข้ามาแทนที่แรงงานสัตว์ บทบาทแรงงานจากสัตว์ลดลง อย่างมาก คงเหลือแต่บทบาทที่เป็นแหล่งสะสมทุนหรือรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโค มีความสำคัญต่อรายได้ของชุมชนเป็นอย่างมาก เช่น ชุมชนปาเกาะญอ จะมีประสบการณ์และความรู้ในการใช้ประโยชน์จากป่าในการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อสร้างรายได้ เป็นกรณีตัวอย่าง หนึ่งของการอยู่ ร่วมกันระหว่างคนกับป่าและโคเนื้อ นอกจากนี้โคเนื้อเป็นสินค้าเดียวที่เกษตรกรกำหนดราคากับผู้ซื้อ ความรู้และความสามารถในการคัดเลือก พันธุ์โคที่มีลักษณะดี และพื้นที่ป่าที่มีอาหารสำหรับการเลี้ยงสัตว์ในฤดูฝนและฤดูแล้ง ดังที่ได้พบเห็นในชุมชนปาเกาะญอนี้ ควรจะได้นำมาพัฒนา และส่งเสริมการปรับปรุงประชากรพันธุ์โคเนื้อบนที่สูงตามแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน จะทำให้ลดการนำเข้าโคเนื้อจากประเทศใกล้เคียง สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนได้ จากรายงานการสำรวจรายได้ของหมู่บ้านในเขตอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงไทย-เยอรมัน พบว่า มีหลายหมู่บ้านรายได้ที่เป็นเงินสดของครัวเรือนเกินกว่าร้อยละ 50 มาจากการขายโค
ระบบการเลี้ยงโคเนื้อของปาเกาะญอมีความผูกพันธ์กับการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่า เช่น การคัดเลือกและการจัดสรรพื้นที่แทะเล็ม

การเลี้ยงโคเนื้อจะเป็นการเลี้ยงแบบอิสระและเจ้าของวัวจะเป็นผู้มีฐานะในหมู่บ้าน ในกรณีที่มีการว่าจ้างมัก จะมีการแบ่งสรรประโยชน์ระหว่างเจ้าของและผู้เลี้ยงอย่างยุติธรรม เช่น การเลี้ยงผ่า ต่อมาได้มีการบริหารจัดการเลี้ยงแบบกลุ่มภายใต้กองทุนวัวโดยองค์กรพัฒนา เอกชน เช่น โครงการที่ได้การสนับสนุนจาก Heifer International, โครงการ Karen Baptist Church (KBC) ระบบดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ครัวเรือนยากจนมีโอกาสได้รับส่วนแบ่งสัตว์เลี้ยงเป็นของตนเองได้ ดังนั้นความสำเร็จของกลุ่มจึงขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการกลุ่ม จำนวนสมาชิก และจำนวนสัตว์ในระยะแรกที่เริ่มโครงการ ระบบการเลี้ยงสัตว์จะสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับครัวเรือน แต่ปัจจุบันการควบคุมดูแลสัตว์ยังไม่สามารถดำเนินการตามหลักวิชาการได้ ดังนั้นการผสมผสานกระบวนการเลี้ยงโคเนื้อของปาเกาะญอกับวิธีการสัตวบาลที่เหมาะสมจะช่วยปรับปรุงระบบการเลี้ยงโคเนื้อให้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างที่เสนอดังต่อไปนี้เป็นการเลี้ยงโคเนื้อในรูปกองทุนที่เกษตรกรร่วมกันคิดเนื่องจาก การดำเนินการกองทุนช่วยสนับสนุนเกษตรกรที่ไม่มีโอกาสเนื่องจากขาดเงินทุนสนับสนุน การเลี้ยงโคเนื้อต้องการใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เพื่อซื้อพ่อแม่โคเนื้อพื้นเมือง อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหาร จำเป็นต้องสอดคล้องและผูกผันวิธถีการดำเนินชีวิต ของชุมชนปาเกาะญอ ซึ่งทางเลือกดังได้เสนอในรูปแบบกองทุนการเลี้ยงโครงเนื้อ นี้เป็นอีกทางเลือกที่สามารถ แก้ไขปัญหาความ ไม่มั่นคง ทางอาหารของชุมชนที่สูงได้

 
       
       
       
     
(กลับเกษตรบนที่สูง) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)