พืชอาหารจากป่า

 

พืชอาหารจากป่า

ชุมชนปาเกาะญอมีชีวิตผูกผันกับป่าโดยปกติเข้าหาพืชอาหารและพืชอื่นๆเพื่อเป็นอาหาร เครื่องปรุง ยารักษาโรค รวมถึงการใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น เป็นอาหารสัตว์ สีย้อมผ้า สัดส่วนพืชที่สำรวจกับเกษตรกรชาวปาเกาะญอในพื้นที่ป่าดิบเขา ต. บ้านจันทร์ พบว่าพืชที่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ด้านสมุนไพรมีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงถึง 175 ชนิด คิดเป็น 61 เปอร์เซ็นต์ของการใช้ประโยชน์อื่นๆ รองลงพบชนิดพืชที่สามารถใช้เป็นอาหาร 32 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่2)

 
ตาราง 2 ประเภทและจำนวนของพืชที่ใช้ประโยชน์ในครัวเรือนปาเกาะญอ
 
ประเภทของการใช้ประโยชน์
จำนวนพืชที่พบ (ชนิด)
 
พืชอาหาร
92
 
สมุนไพร
175
 
สีย้อมผ้า
16
 
อื่นๆ
5
 
ที่มา : สำรวจพื้นที่ป่าดิบเขา ปี 2542

การจำแนกการใช้ประโยชน์ของพืชอาหารของผู้ที่มีความรู้ด่นเก็บอาหารจากป่าพบส่วนต่างๆที่สามารถนำมาเป็นอาหารหรือประกอบอาหาร โดยแบ่งตามประเภทส่วนที่สามารถนำมาบริโภคได้ โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ ส่วนหัว หน่อ ดอก ผล ใบ ยอดอ่อน และลำต้น พบว่าส่วนของใบและยอดอ่อน ถึง 44 และ 37 ชนิด จากจำนวนชนิดพืชอาหารทั้งหมด 125 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 35 และ 30 ของชนิดพืชอาหารที่พบ (ตารางที่3)


นอกจากนี้จำนวนของพืชอาหารยังสามารถพบกระจายตัวในป่าดิบเขาตลอดทั้งปี แต่สัดส่วนที่พบชนิดของพืชอาหารค่อนข้างมากช่วงเดือนเมษายนจำนวนมากถึง 75 ชนิด ส่วนในเดือนต่างๆก็พบประมาณตั้งแต่ 43 ชนิดขึ้นไป ( แผนภาพที่2) จากข้อมูลเหล่านี้พบว่านอกเหนือจากพืชอาหารที่เป็นข้าวแล้ว ชาวปาเกาะญอยังใช้ พืชอาหาร ชนิดอื่นในการเสริมในครัวเรือนเพื่อลดการขาดแคลนอาหาร และบางชนิดสามารถนำไปรักษษโรคและเป็นประโยชน์ต่อครัวเรือนในด้านอื่นๆ รวมถึงสามารถเป็นรายได้เสริมแก่ครัวเรือนได้

  ตาราง 3 สัดส่วนต่างๆของพืชอาหารที่สามารถนำมาบริโภคของชาวปาเกาะญอ
  ส่วนที่นำมาใช้บริโภค
จำนวน
สัดส่วน (%)
  หัว
2
2
  หน่อ
6
5
  ดอก
9
7
  ผล
22
17
  ใบ
44
35
  ยอดอ่อน
37
30
  ลำต้น
5
4
  รวม
125
100
  ที่มา : สำรวจพื้นที่ป่าดิบเขา ปี 2542
 
  แผนภาพที่ 2 ชนิดพืชอาหารที่เกษตรกรสามารถนำมาบริโภคและขายได้ในแต่ละเดือน
 
  ที่มา : สัมภาษณ์เกษตรกร ปี 2542
   


 

 

  (กลับเกษตรบนที่สูง) :( เกษตรยั่งยืน) :( หน้าหลัก)