เรื่อง : การจัดการเพื่อแก้ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่นาน้ำฝน
 
ผู้รับบริการ : เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลครึ่ง เกษตรตำบล ผู้ใหญ่บ้าน รวม 50 คน
ผู้ดำเนินงาน : อาจารย์พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และคณะ
หน่วยงาน : ระบบเกษตรยั่งยืน
วันและเวลา : วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2548 เวลา 10.00 - 14.30 น.
สถานที่จัด : ณ องค์การบริการส่วนตำบลครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย
 
ที่มาและความสำคัญ :

พื้นที่ของต.ครึ่ง อ.เชียงของ ร้อยละ 75 เป็นป่าเบญจพรรณตลอดแนวเหนือจดใต้ พื้นที่ราบลุ่มจะอยู่ตามแนวซ้ายมือของถนน และร้อยละ 85 ของประชากรประกอบอาชีพการเกษตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณร้อยละ 65 ของพื้นที่ทั้งหมด มีพื้นที่ข้าวนาดำร้อยละ 11 ของพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย พื้นที่นาน้ำท่วมร้อยละ 60-70 นาลุ่มร้อยละ 30-40 และนาดอนร้อยละ 10 โดยมีพื้นที่นามากกว่า 18,000 ไร่ (รวมสามตำบล ได้แก่ ครึ่งและห้วยซ้อ และศรีดอนไชย) สำหรับต.ครึ่งมีพื้นที่นาทั้งสิ้นประมาณ 5,600 ไร่ ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาน้ำท่วมทุกๆปี
ปรากฏการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายดือนกรกฏาคมจนถึงกลางเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับน้ำของแม่น้ำโขงสูง ประกอบกับน้ำจากกว๊านพะเยา รวมไหลเข้าสู่แม่น้ำอิงซึ่งมีลักษณะคดเคี้ยวทำให้การระบายน้ำทำได้ช้า สามารถทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณพื้นที่กว้างของบริเวณสองฝั่งแม่น้ำอิงในกรณีที่น้ำท่วมขัง ความเสียหายเนื่องจากน้ำท่วมทำให้หลายพื้นที่เกิดเสียหาย ตัวอย่างเช่น พื้นที่นาเสียหายรวมมูลค่ามากกว่า 6 ล้านบาทต่อปี
ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลครึ่งร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ได้จัดการประชุมพื่อวางแผนร่วมกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยได้เชิญหน่วยงานศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลผิตทางเกษตรที่เคยมีประสบการณ์และทำงานร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2546 เพื่อดำเนินการระดมความคิดเห็นและทางเลือกเพื่อนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะประเด็นการจัดการเพื่อแก้ปัญหาแหล่งน้ำเกษตรขาดแคลนในพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝน และ การหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเรื้อรัง

 
ผลสรุป : (309 kb)
 
ภาพกิจกรรม :
 
 
ผลประเมิน : -