โครงการ"แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิภายใต้สภาพเสี่ยงเชิงชีวภาพ"
 
  • ที่มาและความสำคัญ
  •       การศึกษานี้ต้องการเสนอแนวทางเพื่อขยายการผลิตข้าวหอมมะลิในประเทศไทย โดยการศึกษาตัวอย่างเกษตรกรจาก 3 พื้นที่ คือ เชียงใหม่ พิษณุโลก และทุ่งกุลาร้องไห้ทั้งนี้โดยพยายามทำความเข้าใจเกษตรกรที่ผลิตข้าวหอมมะลิและเกษตรกรที่มิได้ปลูกข้าวหอมมะลิ หรือปลูกเพียงเล็กน้อยในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะนำไปสู่การวางมาตรการส่งเสริมการผลิตร่วมกับข้อความรู้ในด้านการผลิตและผลตอบแทน อันเป็นแรงจูงใจในการขยายการผลิตข้าวหอมมะลิในสภาพแวดล้อมทางกายภาพและการตลาดซึ่งแตกต่างกันใน 3 พื้นที่ นอกจากนี้การทำความเข้าใจระบบตลาดท้องถิ่น เพื่อให้เห็นสภาพแวดล้อมการตลาดที่ใกล้ตัวเกษตรกร โดยเน้นวิธีการซื้อขายของพ่อค้าในท้องถิ่น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข้าว การตั้งราคารับซื้อ และการส่งผ่านราคา จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้วางนโยบายว่าระบบตลาดในปัจจุบันสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรได้ดีเพียงไร หรือควรจะพัฒนาแก้ไขในด้านใดเพื่อให้เกิดแรงจูงใจอย่างเพียงพอ ในอันที่จะพัฒนาคุณภาพของข้าวหอมมะลิต่อไป

 
งานวิจัย
ผลกระทบของโรคไหม้คอรวงและประสิทธิภาพการผลิตข้าวดอกมะลิ 105 (Abstract) (Full paper)
ลักษณะของทัศนคติของเกษตรกรและโอกาสในการขยายการผลิตข้าวหอมมะลิ (Abstract) (Full paper)
ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ : เชียงใหม่ พิษณุโลก และทุ่งกุลาร้องไห้ (Abstract) (Full paper)
การตลาดท้องถิ่นข้าวหอมมะลิ : เชียงใหม่ พิษณุโลก และทุ่งกุลาร้องไห้ (Abstract) (Full paper)
On Estimation of Stochastic Produciton - Fronties with Self-Selectivity: Jasmine and
    Non-Jasmine Rice in Thailand (Abstract) (Full paper)

 


ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร(ศวพก.), คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000 Homepage: http://mccweb.agri.cmu.ac.th