ผลกระทบของการบริการทางการเงินที่มีต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกรผู้ปลูกข้าในภาคเหนือตอนบน
 
  • ที่มาและความสำคัญ
    เยาวเรศ เชาวพูนผล

            หลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี2540สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารและองค์กรการเงินชุมชนได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากรัฐบาลทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยลดปัญหาทางเศรษฐกิจปัญหาความยากจน และช่องว่างระหว่างรายได้ของคนในเมืองและชนบทนอกจากนี้รัฐบาลยังได้ส่งเสริมมาตรการทางการเงินเฉพาะในอันที่จะเพิ่มโอกาสทางการเงินให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มยากจนในชนบทดังนั้นองค์กร การเงินชุมชนในชนบทที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลดังกล่าวจึงมีบทบาทอย่างมากในการช่วยพัฒนาชนบทนอกเหนือจากสถาบันการเงินที่อยู่ในรูปแบบธนาคารเช่นธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรซึ่งเป็นสถาบันการเงินหลักในอดีตการมีแหล่งทุนเพิ่มขึ้นเท่ากับการเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนในชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรในการเพิ่มศักยภาพในการผลิตการศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษา ถึงผลกระทบของการบริการทางการเงินของสถาบันในระบบการเงินในชนบทที่มีต่อผลิตภาพและประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในภาคเหนือตอนบนโดยใช้dataenvelopmentanalysis(DEA) (non–parametric)และstochasticfrontior(parametric)เพื่อทราบถึงผลของสินเชื่อชนบทที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวนาปีในพื้นที่เพาะปลูกหลักในภาคเหนือตอนบนอันนำมาซึ่งการวางนโยบายเพื่อพัฒนา ของระบบการเงินในชนบทอย่างมีประสิทธิภาพ