การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สุดท้าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการผลิตและการตลาดของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป พื้นบ้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรพื้นบ้าน อันจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการยกระดับรายได้ การบรรเทาปัญหาการว่างงาน และกระจายรายได้ไปสู่ภาคการเกษตรหรือชนบทของประเทศ และเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เฉพาะกล่าวคือ

1. เพื่อทราบถึงสภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรมแปรรูปพื้นบ้าน โดยเจาะลึกถึง ผู้ประกอบการแต่ละราย (ทั้งรายเดี่ยวและรายกลุ่ม) ในประเด็นต่างๆ อาทิ โครงสร้างการผลิต โครงสร้างการตลาด โครงสร้างทางการเงิน การระดมทุนลักษณะ การประกอบการหรือการดำเนินธุรกิจ รูปแบบการจัดองค์กร เทคโนโลย การผลิต/แปรรูป และศักยภาพในการขยายตลาด รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค์ต่างๆ  ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

2.เพื่อทราบถึงพฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพื้นบ้านของผู้บริโภค ในสินค้าเป้าหมาย แต่ละชนิดดังได้กล่าวไว้ในขอบเขต ของการศึกษาเพื่อเป็นแนวทาง ในการทำการตลาดสำหรับสินค้าแต่ละชนิดดังกล่าว

3. เพื่อทำแผนการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต การตลาด และการเงิน ที่เหมาะสมให้แก่ ผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละรายให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

4. เพื่อจัดทำ homepage สำหรับใช้ในการส่งเสริมการขาย ให้แก่อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปพื้นบ้าน และเพื่อเป็น ฐานข้อมูล ให้กับผู้ประกอบการ ในด้านเทคโนโลยี สถาบันการเงิน และการตลาด

5.เพื่อร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐวางแนวทาง จัดตั้งสมาคมผู้ประกอบการอาหารพื้นบ้าน อันเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็ง ให้กับอุตสาหกรรมนี้

6. เพื่อระบุประเด็นงานวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงการผลิตอาหารแปรรูปพื้นบ้าน

7. เพื่ออบรมผู้ประกอบการในการดำเนินการผลิตการตลาดให้ได้ตามแผนที่ได้วางไว้ร่วมกันระหว่าง ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ พร้อมทั้งอบรมการใช้ฐานข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการด้วย

8.เพื่อจัดประชุมระดมความคิดและหาความร่วมมือ ระหว่างผู้ประกอบการ และองค์กรท้องถิ่น ในการพัฒนา อุตสาหกรรมอาหารพื้นบ้าน โดยเน้นให้ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปพื้นบ้านเป็นธุรกิจชุมชน

9. เพื่อทดสอบแนวคิด "การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบครบวงจร"