ศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงระยะแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 8 มีการชะลอตัวอย่างมาก  ดังจะเห็นได้จากปี พ.ศ. 2540 และ 2541เศรษฐกิจมีการขยายตัวร้อยละ -0.4 และ -8.0 ตามลำดับ ส่วนในปี พ.ศ. 2542 ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะ มีการขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0เท่านั้น (http://www.bot.or.th/re...ublic/thaiecon/tkei.htm) ซึ่งในปี พ.ศ. 2542นี้สำนักงบประมาณ คาดว่าเศรษฐกิจจะยังคง อยู่ในช่วงปรับตัวจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (สำนักงบประมาณ, 2542
ากการที่เศรษฐกิจชะลอตัวติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2540ทำให้เกิดผลกระทบจาก วิกฤติเศรษฐกิจโดยเฉพาะปัญหาการว่างงาน และปัญหา การกระจายรายได้ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรพื้นบ้าน จึงเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถ แก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้และยังสอดคล้องกับนโยบายงบประมาณปี 2542 ซึ่งเน้นการจัดสรรทรัพยากร เพื่อก่อให้เกิดการกระจายรายได้ ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ในเขตเมืองและชนบทและผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเป็นการสนับสนุนหน่วยงานในท้องถิ่นในการเพิ่มผลผลิตหรือรายได ้ให้แก่ประชาชน ในท้องถิ่นให้มากขึ้น
แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมา หน่วยงานรัฐและเอกชนได้ให้ความสนใจและการดำเนินงาน เพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมเกษตรพื้นบ้านทั้งในด้านการ ให้บริการและมาตรการสนับสนุนเสมอมา แต่อุตสาหกรรมเกษตรพื้นบ้าน ยังคงถูกจัดให้มีความสำคัญในระดับที่ไม่สูงนักการดำเนินงานจึงมีความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อย และอยู่ในวงจำกัด ไม่สามารถมีบทบาทจริงจังต่อการยกระดับรายได้ และการกระจายรายได้ของภาคการเกษตร หรือชนบท
ารศึกษาถึงสภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรมเกษตรพื้นบ้าน โดย เจาะลึกถึงโครงสร้างการผลิตและการตลาด การจัดการองค์กร รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของผู้ประกอบการทั้งรายเดี่ยว และรายกลุ่มนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ ของอุตสาหกรรมเกษตรพื้นบ้าน ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาใช้เพื่อ พัฒนาการผลิต ของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีชีวภาพ ที่เหมาะสมเข้ามาช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต อีกทั้งยังชี้ให้เห็นถึงลักษณะ การจัดโครงสร้างองค์กรทั้งในการผลิต การตลาด และการเงิน อันจะนำไปสู่แผนการ การปรับปรุง โครงสร้างการผลิต การตลาด และการเงินที่เหมาะสม แนะนำลู่ทาง การขยายตลาด และจัดทำข้อมูลสารสนเทศทางการตลาดเพื่อความสะดวกในการติดต่อซื้อขายระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค ผู้ผลิตกับนักการตลาด ผู้ผลิตกับสถาบันการเงิน ผู้ผลิตกับผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยี การผลิตต่างๆรวมถึงการร่วมมือกับหน่วยงาน ในภาครัฐเพื่อจัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเป็นแนวทาง จัดตั้งสมาคมผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมเกษตรพื้นบ้าน 
นอกจากจะศึกษาทางด้านผู้ผลิตแล้ว ในการวิจัยนี้ยังได้ทำการศึกษาพฤติกรรม และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปพื้นบ้าน ทั้งนี้เพื่อ เป็นประโยชน์ใน การส่งเสริมทางด้านการตลาดต่อไป