การศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมแปรรูปพื้นบ้านในครั้งนี้ มีขอบเขตการศึกษาวิจัยดังนี้

1. เป็นการศึกษาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปพื้นบ้าน แบบเจาะลึกเป็นรายผู้ประกอบการ และรายผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อทราบสภาพการผลิตและการตลาด รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่แท้จริง และชัดเจนของผู้ประกอบการแต่ละราย และผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด

2. เป็นการศึกษาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปพื้นบ้านในรายละเอียดเฉพาะพื้นที่เป้าหมายใน 2 จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน ได้แก่ จังหวัดกเชียงใหม่ และลำพูน ทั้งนี้เพื่อเป็นการ ติดตามความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปพื้น บ้านจากที่เคยทำการศึกษามาก่อนหน้านี้ พร้อมทั้งศึกษาเชิงลึกเป็นรายกลุ่มผู้ประกอบการ และรายการสินค้าเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ปัญหา และอุปสรรคของการดำเนินงานเป็นรายๆ ไป อันจะเป็นประโยชน์ในการทำแผนปรับโครงสร้างการผลิต การตลาด และการเงินของผู้ประกอบการแต่ละรายหรือแต่ละกลุ่ม

การเก็บรวบรวมาข้อมูล

ในการศึกษานี้จะมุ่งเน้นการเก็บข้อมูลภาคสนามเป็นสำคัญ ซึ่งจะได้จากการสำรวจและการสัมภาษณ์ จากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารพื้นบ้าน และผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพื้นบ้าน จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ส่วนข้อมุลทุตยภูมินั้นจะเกี่ยวข้องกับ ข้อมูลเบื้องต้นด้านการผลิต และการตลาดของอุตสาหกรรมอาหารพื้นบ้าน อาทิ เช่น เทคโนโลยีการผลิต วิธีการผลิต มาตรฐานผลิตภัณฑ์ แหล่งเงินทุน ปริมาณการบริโภค เป็นต้นซึ่งจะได้จากแหล่งต่างๆ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานมอก. สำนักงานสาธารณสุข และ บอย.

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพื้นบ้าน
- เลือกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพื้นบ้านที่จะศึกษาโดยพิจารณาจากจำนวนผู้ผลิต และศักยภาพในการขยายการผลิต และการตลาด ทั้งสิ้น 10 ชนิด ได้แก่ : ปลาส้ม แคบหมู ไส้อั่ว หมูยอ น้ำพริก กระเทียมดอง มะม่วงดอง เต้าเจี้ยว ข้าวแตน และสมุนไพร

ผู้ประกอบการ
- เลือกตัวอย่างผู้ประกอบการ (ทั้งรายเดี่ยวและรายกลุ่ม) โดยพิจารณาจากขนาดธุรกิจทั้งสิ้น 40 ตัวอย่าง โดยแบ่งแยกตามชนิดผลิตภัณฑ์ละประมาณ 4 ตัวอย่าง

ผู้บริโภค
- เลือกตัวอย่างผู้บริโภค โดยแบ่งตามชนิดผลิตภัณฑ์ละ 25 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 250 ตัวอย่าง