รายละเอียดบทคัดย่อ


ปัทมา วิตยากร, วิไลวัจน์ กฤษณะภูติ และ นิตยา เมืองสนธ์. 2539. เงื่อนไขของเกษตรกรในการผสมผสานต้นไม้ในระบบการทำฟาร์มที่จังหวัดขอนแก่น.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 11 :ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2539 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี.  น.160-173.

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อวินิจฉัยเงื่อนไขของเกษตรกร ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขของเพศชายหญิง ในการผสมผสานต้นไม้ในไร่นา การศึกษาใช้วิธีการประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน (RRA) โดยทำการเลือกชุมชนที่ศึกษาในระดับหมู่บ้านได้แก่ บ้านผักหนาม ตำบลหนองกุงใหญ่ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น หน่วยที่ทำการศึกษาในระดับหมู่บ้านได้แก่ บ้านผักหนาม ตำบลหนองกุงใหญ่ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น หน่วยที่ทำการศึกษาได้แก่ครัวเรือน ทำการแบ่งกลุ่มครัวเรือนโดยใช้เงื่อนไข 4 อย่าง ได้แก่ ขนาดพื้นที่ถือครอง 2 ระดับ : มาก (22 - 80 ไร่) และน้อย (3 - 21ไร่), ลักษณะภูมิประเทศของฟาร์ม 2 ระดับ : ที่นามาก - ที่ไร่ (ดอน) น้อยและที่นาน้อย - ที่ไร่มาก, อายุ : มาก (มากกว่า 40 ปี) และน้อย (40 ปีลงมา), ประสบการณ์ ความรู้ 2 ระดับ : มากและน้อย จำนวนหน่วยศึกษาทั้งหมดมี 52 ครัวเรือนและ 85 ผู้ตอบสัมภาษณ์โดยส่วนใหญ่แยกสัมภาษณ์พ่อบ้านและแม่บ้านในแต่ละครัวเรือน การหาข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการหาข้อมูลในเดือนมีนาคม 2537 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าขนาดพื้นที่ถือครองเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการเกษตรกรจะผสมผสานต้นไม้ในระบบฟาร์มเกษตรกรที่มีพื้นที่ถือครองน้อยที่ไม่ต้องการปลูกต้นไม้เพิ่มจำนวนมากกว่า (36% ของครัวเรือนผู้มีพื้นที่น้อยทั้งหมด) ผู้มีพื้นที่มาก (25%) เหตุผลที่พบบ่อยที่สุดที่ผู้มีพื้นที่น้อย (ประมาณ 90% ของครัวเรือนผู้มีพื้นที่น้อยไม้ต้องการปลูกต้นไม้) ไม่ต้องการปลูกต้นไม้เพิ่มคือ ไม่มีพื้นที่พอที่จะแบ่งไปปลูกต้นไม้ เหตุผลอื่น ๆ ได้แก่ ต้นไม้ทำให้ข้าวและพืชไร่มีผลผลิตลดลง มีอุปสรรคเรื่องการปลูกและการดูแลรักษา เช่น วัว ควายเข้าทำความเสียหายความแห้งแล้ง และดินไม่ดี เป็นต้น เกษตรกรที่มีฟาร์มมีลักษณะพื้นที่เป็นที่นามาก - ที่ไร่น้อย ต้องการปลูกต้นไม้ในที่นา (23 ครัวเรือน) มากกว่าที่ไร่ (12 ครัวเรือน) ส่วนเกษตรกร ที่มีลักษณะพื้นที่เป็นที่นาน้อย - ที่ดอนมาก ต้องการปลูกต้นไม้ในที่นา (20 ครัวเรือน) น้อยกว่าในที่ไร่ (22 ครัวเรือน) โดยทั่วไปเกษตรกรเลือกที่จะปลูกต้นไม้ในระบบมากกว่าระบบไร่ สถานที่ในระบบนาที่เกษตรกรเลือกที่จะปลูกต้นไม้มากที่สุดคือเนินหัวนาและเถียงนา รองลงมาคือคันนา ในระบบไร่เกษตรเลือกที่จะปลูกตามแนวเขตหรือขอบไร่นามากที่สุด ไม้ประดู่เป็นไม้ก่อสร้างที่มีผู้ต้องการปลูกมากที่สุด ไม่แตกต่างกันระหว่างผู้มีพื้นที่มากและน้อย รองลงมาได้แก่ไม้ใช้สอยคือ ยูคาลิบตัส ส่วนไม้ผลมีความต้องการลูกน้อยกว่าไม้ก่อสร้าง ไม้ผลที่ได้รับการกล่าวถึงที่สุดได้แก่ มะม่วง ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจปลูกต้นไม้เพิ่ม เก็บต้นไม้เดิมไว้ หรือตัดต้นไม้ คือแรงงานสำคัญในการทำนาไร่ทั้งในกลุ่มผู้มีพื้นที่มากและน้อย ได้แก่พ่อบ้านและแม่บ้านตัดสินใจร่วมกันสำหรับบทบาทของแม่บ้านในการตัดสินใจตามลำพังมีน้อยมาก พบในกรณีหญิงม่ายเท่านั้น