รายละเอียดบทคัดย่อ


ณัฐพร เพ็ญสุภา. 2532. การพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ส่วนตัว.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 6 : . ระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2532 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ. ขอนแก่น.  น.125-142.

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของโครงการพัฒนาการเกษตรอสศัยน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ การหารูปแบบต่างๆ เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้น โดยวิธีการนำเอาเทคโนโลยีที่โครงการได้ดำเนินการทดสอบแล้วจะเห็นว่ามีศักยภาพไปประยุกต์ใช้ในไร่นาของเกษตรกร กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบผสมผสานในระดับครัวเรือนก็จะเป็นอีกลักษระหนึ่งที่มีการนำเอากิจกรรมต่างๆ ที่มีศักยภาพมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยให้มีการขุดบ่อน้ำตื้นผสมบาดาล การปรับรูปแบบแปลงนา เลี้ยงปลาในนาข้าวและปลูกพืชผักในฤดูแล้งในพื้นที่ของการเกษตร รายละประมาณ 1-5 ไร่ ในพื้นที่ ต. หนองแก้ว แคนใหญ่ อ. เมือง และ ต. นาเมือง อ.เสลภูมิ จ. ร้อยเอ็ด รวมทั้งสิ้น 30 ราย ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2530 - กุมภาพันธ์ 2531 จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวพบว่า เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 2,063.75 บาท/ไร่ โดยมีสัดส่วนรายได้จากการปลูกข้าว การเลี้ยงปลาในนาข้าว และการปลูกพืชผักเป็น 8.24: 2.66: 1 ซึ่งรายได้จากพืชผักส่วนใหญ่มาจากการปลูกแตงโมและยาสูบพันธืเตอรกีชเป็นหลัก และเกษตรกรในตำบลนาเมืองจะมีรายได้สูงกว่าเกษตรกรในตำบลหนองแก้วและแคนใหญ่ในแทบทุกกิจกรรม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกิจกรรมต่างๆ โดยหักค่าใช้จ่าย (ค่าวัสดุ) ออกแล้วปรากฏว่าเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเหนือค่าวัสดุ 1,517.24 บาท/ไร่ หรือเฉลี่ยรายละ 3,603.37 บาท และสัดส่วนของรายได้ดังกล่าวของกิจกรรมการปลูกข้าว เลี้ยงปลาในนาข้าว การปลูกพืชผักและปลูกปอ จะมีสัดส่วนเท่ากับ 29:1:3.51:9.36 กิจกรรมที่มีผลตอบแทนเหนือกว่าค่าวัสดุเรียงตามลำดับมีดังนี้คือ ปลูกข้าว ปลูกปอแก้วก่อนข้าว ปลูกพืชผักและเลี้ยงปลาในนาข้าว 1,062.70, 343.02, 128.87 และ 36.65