Main Menu


 


เกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ

           การสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติเป็นการประชุมวิชาการ ทางด้าน การเกษตร และจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ แนวคิดเชิงระบบในการวิจัย และการพัฒนา การประชุมวิชาการ ดังกล่าว จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี  พ.ศ. 2520 โดยใช้ชื่อว่า การสัมมนาระบบการปลูกพืช ต่อมาได้มีการขยายงานครอบคลุมระบบฟาร์ม จึงเปลี่ยนชื่อ การประชุมวิชาการเป็น  การสัมมนาระบบการทำฟาร์ม  ก่อนที่ จะเปลี่ยนเป็น   การสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ   ในปี พ.ศ. 2543 เพื่อให้ สอดคล้องกับงานวิจัยและพัฒนาเชิงระบบที่ขนายขอบเขต กว้างขวางขึ้น
           การสัมมนาดังกล่าวเป็นความร่วมมือทางด้านวิชาการและงบประมาณสนับสนุน การจัดประชุมจาก สถาบันการศึกษา ได้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ตลอดจนหน่วยงานในสังกัด กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เช่น  กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน เป็นต้น

หลักการและเหตุผล

       งานวิจัยและพัฒนาระบบเกษตร เป็นการใช้แนวคิดเชิงระบบในการวิเคราะห์ ปัญหาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจภาพ รวม ของการเกษตรอันจะนำไปสู่การปรับปรุง สถานการณ์และแนวทางในการวาง แผนการพัฒนาการเกษตรของชุมชน ลุ่มน้ำ ประเทศ และภูมิภาคโดยงานวิจัย ดัง กล่าวได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมาโดยตลอด

       การสัมมนาวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ได้พัฒนามาจากการสัมมนาระบบ การปลูกพืช และการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520-2539 ตามลำดับ และเมื่อปี พ.ศ. 2543 ปี พ.ศ. 2545 และปี พ.ศ. 2547 กรม วิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เป็นเจ้าภาพ ในการจัดสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติครั้งที่ 1, 2 และ 3 ขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ การสัมมนาดังกล่าวได้รับผลดี ทั้งในแง่วิชาการและการนำไปปฏิบัติ ตลอดจนสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทาง การวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การบูรณาการงานวิจัย และพัฒนาระบบเกษตรของประเทศไทยและภูมิภาคได้เป็นอย่างดี

       ดังนั้น ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรจึงเห็นว่าหากหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านระบบเกษตร ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์แล้ว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการ สำคัญของระบบเกษตร ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือทาง วิชาการด้านระบบเกษตรให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

       ในการประชุมครั้งนี้ กำหนดให้หัวข้อการประชุมเน้น เกษตรเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม พร้อมรับโลกร้อน โดยมี หัวข้อประชุมย่อยดังนี้

  • เกษตรยั่งยืน
  • ระบบเกษตรและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
  • ระบบเกษตรและภาวะโลกร้อน
  • วิธีการทางระบบเกษตร
  • ธุรกิจเกษตรและวิสาหกิจชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการทางระบบเกษตร
  2. เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และระดมความคิดเห็น
    ระหว่างอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษา
  3. เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นเยาว์ ผู้ช่วยนักวิจัย และนักศึกษาได้เห็นศักยภาพและ
    ทิศทางการวิจัยทางด้านการพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  4. เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่งานวิจัย และผลงานทางวิชาการสู่ภาคปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์
    ต่อการพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อความกินดีอยู่ดี
    ของชุมชนภาคเกษตรและพร้อมรับมือกับสภาวะโลกร้อนในอนาคต
  5. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพงาน
    วิจัยและสามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
วันเวลาและสถานที่

          27-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส ถนนช้างคลาน จังหวัดเชียงใหม่