logo.jpg

ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์ตนเอง และผลการปฏิบัติงานตามแผนประจำปีงบประมาณ 2553

4.1 การวิเคราะห์ตนเอง ของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร ได้ผลดังต่อไปนี้

 

จุดแข็ง Strengths (S)

จุดอ่อน Weaknesses (W)

การเรียนการสอน

1.    มีคณาจารย์และบุคลากรมีความสามารถเฉพาะตัว และสหสาขาวิชา

2.    มีชื่อเสียงและมีงานวิจัยสนับสนุนด้านเกษตรศาสตร์เชิงระบบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เกษตรปลอดภัย เกษตรยั่งยืน

3.    มีศิษย์เก่าในหลายประเทศ

4.    หลักสูตร ป.เอก มีค่าธรรมเนียมไม่แพง

5.    มีประสบการณ์การบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติเป็นเวลานาน

6.    มีสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งแวดล้อมการทำงานดี

7.    มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

8.    บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรฯ สามารถปฏิบัติงานตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่หลากหลาย

การเรียนการสอน

1.    ชื่อหลักสูตรยังไม่ดึงดูดสอดรับกับภาวะการณ์ปัจจุบัน

2.    หลักสูตรนานาชาติ ต้องพึ่งพิงแหล่งทุนซึ่งมีน้อยลง

3.    นักศึกษาคนไทยมีน้อยเนื่องจากการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

4.    ขาดคณาจารย์ที่จะเปิดทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ

5.    การสื่อสารอัตลักษณ์และคุณภาพของบัณฑิตของหลักสูตรยังไม่เพียงพอ

การวิจัย

1.    นักวิจัยมีความสามารถเชิงสหสาขาวิชา มีโอกาสทำงานวิจัยได้หลากหลายและสามารถร่วมงานกับหน่วยงานอื่นได้เป็นอย่างดี

2.    มีสถานีวิจัย สนับสนุนงานวิจัย การเรียนการสอน และเครือข่ายการทำงานระดับท้องถิ่น ในเชิงบูรณการ

3.    งานวิจัยสอดคล้องกับประเด็นวิจัยระดับชาติและนานาชาติ

4.    มีระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ในการสนับสนุนการวิจัย

5.    มีที่ปรึกษาอาวุโสผู้ทรงคุณวุฒิ

6.    มีระบบการบริหารจัดการที่ดี

7.    นวัตกรรมมีชื่อสียงเป็นที่ยอมรับ (ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  เกษตรปลอดภัย เกษตรยั่งยืน)

การวิจัย

1.    ผลงานตีพิมพ์น้อย และมี impact factor ไม่มาก

2.    นักวิจัยรุ่นใหม่เข้าถึงแหล่งทุนไม่ดีพอ

3.    ขาดงานวิจัยที่ต่อเนื่อง หรือเชื่อมโยงกัน

การบริการวิชาการ

1.    มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในด้านเกษตรปลอดภัย เกษตรยั่งยืน ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

2.    มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ มีสถานที่ สถานี และแปลงเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการบริการวิชาการ

3.    มีการทำงานเชื่อมโยงกับชุมชน ทำให้สามารถรับทราบ วิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ตรงจุดและเพิ่มศักยภาพของชุมชน

4.    มีฐานงานวิจัยทีเป็นแหล่งความรู้เพื่อการบริการวิชาการ

5.    มีผลงานที่สามารถให้บริการวิชาการแก่ชุมชนได้หลายระดับ (ตั้งแต่ระดับเกษตรกรผู้ผลิต จนถึงระดับวางแผน)

6.    ผลงานที่ให้บริการชุมชน/ผู้รับบริการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ง่าย เป็นที่ต้องการทำให้มีการนำไปใช้และขยายผลในวงกว้าง

การบริการวิชาการ

1.    ระบบการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพศึกษายังไม่สมบูรณ์

2.    ขาดการวางแผนที่เป็นระบบในการให้บริการวิชาการ ทำให้กระทบต่อการทำงานด้านอื่นของนักวิจัย

3.    การประเมินผลเพื่อการปรับปรุงการให้บริการ ยังไม่สมบูรณ์

 

โอกาส Opportunities (O)

สิ่งคุกคาม Threats (T)

การเรียนการสอน

1.    มีเครือข่ายวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ

2.    มหาวิทยาลัยมีนโยบายเน้นการเรียนการสอนรองรับการเปิดตัวต่อประชาคมอาเซียน

การเรียนการสอน

มีคู่แข่งด้านเกษตรเชิงระบบ และหลักสูตรเกษตร

ศาตร์สาขาอื่น

หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมักไม่ได้ระบุชื่อปริญญาเกษตรศาสตร์เชิงระบบในการรับสมัครบุคคล

การวิจัย

1.    มีเครือข่ายวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ

2.    มียุทธศาสตร์ระดับชาติที่มีแนวเดียวกับการทำงานของศูนย์ฯ

การวิจัย

1.     แหล่งทุนต่างๆ มีแนวโน้มปรับลดงบประมาณสนับสนุนงานวิจัย

2.    ความคาดหวังการผลิตผลงานวิจัยและสิ่งตีพิมพ์ของมหาวิทยาลัยและ สกอ มีเพิ่มขึ้น

การบริการวิชาการ

1.    สังคมสนใจด้านสุขภาพและความปลอดภัยทางอาหารมากขึ้น

2.    มีเครือข่ายองค์กรภายนอกที่สามารถเชื่อมโยง ขยายผลการบริการให้สามารถเข้าถึงผู้รับบริการเป้าหมายได้มากขึ้น ในวงกว้าง

การบริการวิชาการ

1.    การย้ายสถานี ทำให้การความต่อเนื่องในการเชื่อมโยงกับชุมชน และ ผู้รับบริการวิชาการ

 

 

 

แนวทางการพัฒนา

ด้านการเรียนการสอน

  1. การรับนักศึกษาให้มีความสอดคล้องกับงานวิจัย
  2. สร้างโครงการเชิญผู้มีประสบการณ์ (ใน/นอกประเทศ) มาร่วมให้ความรู้การในการเรียนสอน
  3. ปรับปรุงหลักสูตรให้น่าสนใจรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน
  4. หาแนวทางจัดการทรัพยากรร่วมกับหลักสูตรอื่น
  5. สร้างหลักสูตรฯ ให้มีสอดคล้องกับงานวิจัย
  6. หลักสูตรเชิงรุกให้มากขึ้น โดยให้มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
  7. ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย/สอดคล้องกับปัจจุบันยิ่งขึ้น โดยเพิ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก ช่วยปรับปรุงหลักสูตร
  8. แสวงหาทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาคนไทย
  9. เตรียมองค์กรและกระบวนการทำงานเพื่อรองรับการทำงานกับต่างประเทศ

ด้านการวิจัย

  1. สร้างทีมงานวิจัย และกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดในด้านงานวิจัยเชิงระบบเพื่อขอทุนวิจัย
  2. สร้างโครงการเชิญผู้มีประสบการณ์ (ใน/นอกประเทศ) มาร่วมงานวิจัยและการเรียนการสอน
  3. ขยายเครือข่ายวิจัยและแสวงหาแหล่งทุน
  4. ส่งเสริมให้อาจารย์ นักวิชาการ มีความเป็นผู้นำทางวิชาการด้าน “ระบบเกษตร” อย่างเป็นรูปธรรม
  5. มีแผนการจัดการให้สอดคล้องกับการย้ายสถานีท่ามกลางทรัพยากรบุคคลที่ลดลง
  6. มีกระบวนการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่โดยใช้ระบบ mentor
  7. มีส่วนร่วมในเครือข่ายงานวิจัยต่างๆ เพื่อหาโอกาสขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย
  8. ทำงานวิจัยร่วมกับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อเพิ่มการตีพิมพ์ระดับชาติและนานาชาติ
  9. ส่งเสริมสนับสนุนให้นักวิจัยเข้าร่วมในเครือข่ายวิชาการระดับชาติและนานาชาติเพื่อหาทุนสนับสนุนงานวิจัยและผลิตผลงานตีพิมพ์
  10. สร้างโครงการเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้
  11. ปรับให้ไปในทางเดียวกัน และสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของศูนย์ฯ และสร้างกลุ่มวิจัยเพื่อพัฒนาโครงการวิจัย

ด้านการบริการวิชาการ

1.     เชื่อมโยงงานวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษากับการบริการวิชาการของสถานี

2.     พัฒนาสถานีวิจัยให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของนักศึกษา/กลุ่มเกษตรกร/หน่วยงานราชการ

3.     ประชาสัมพันธ์การย้ายสถานีให้กับชุมชนและเครือข่ายผู้รับบริการ

4.     จัดหาสถานที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการชั่วคราวในระหว่างดำเนินการย้ายสถานี

5.     พัฒนาระบบสนับสนุนและวางแผนการให้บริการวิชาการ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

6.     ให้มีการประเมินผลการบริการวิชาการอย่างสมบูรณ์และเป็นระบบ

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000