logo.jpg

ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานตามภารกิจหลัก

2.1 หลักสูตร และกระบวนวิชาที่เปิดสอน

 

              ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร ได้มีการดำเนินการสนับสนุนการเรียนการสอน โดยมีการเปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ หลักสูตรปกติ ตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรนานาชาติ เมื่อ พ.ศ.2531 โดยมีนักศึกษามาจากหลายประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว เวียตนาม เมียนมาร์ เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ ศรีลังกา อินโดนีเชีย  จีน  ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และในปี 2551 หลักสูตรฯ ได้เปิดสอนในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ เป็นปีแรก โดยทำการสอนเป็นหลักสูตรปกติ ซึ่งมี 2 โครงสร้าง คือ ระยะเวลาศึกษา 3 ปี และ 5 ปี  จากการที่เปิดสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกนั้น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน สร้างและขยายเครือข่ายวิชาการด้านการเกษตร ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่ได้ขยายสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยเนื้อหาของหลักสูตรจะเน้นการศึกษาเชิงระบบเกษตร การพัฒนา และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ทางด้านเกษตรศาสตร์เชิงระบบ เกษตรศาสตร์เชิงระบบและการพัฒนา  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร  การจัดการการปลูกพืชอย่างเป็นระบบ  การสร้างและวิเคราะห์แบบจำลองทางการเกษตร  ระบบการตลาดทางด้านการเกษตร เศรษฐศาสตร์การจัดการระบบวนเกษตร และเกษตรยั่งยืนในแนวคิดเชิงระบบ ผลจากการศึกษานั้น นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริบทของพื้นที่ที่นักศึกษานั้น ๆ ทำงานได้เป็นอย่างดี

IMG_3585small.JPG 

 

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ

 

                ชื่อภาษาไทย: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ

 

                ชื่อภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Agriculture Systems (International Program)

 

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ

 

                ชื่อภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ

 

                ชื่อภาษาอังกฤษ: Doctoral of Philosophy in Agricultural Systems

 

2.2 นักศึกษาและบัณฑิต

ปัจจุบันหลักสูตรฯ มีนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่กำลังศึกษาอยู่ จำนวน 19 คน ตามรายละเอียดดังนี้ 

 

นักศึกษา ปีการศึกษา 2553

 

ประเทศ

ระดับการศึกษา

รวม

หมายเหตุ

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ศรีลังกา

1

-

1

นักเรียนทุน TICA

เมียนมาร์

4

-

4

นักเรียนทุน TICA

เวียตนาม

1

-

1

นักเรียนทุน สกว.

ลาว

2

-

2

นักเรียนทุน สกว.

ไทย

-

11

11

 

รวม

8

11

19

 

 

DSC08648.JPG

 

     ผลจากการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรปกติตั้งแต่ปีการศึกษา 2527 เป็นต้นมา กระทั่งถึงปีการศึกษา 2553 นั้น  หลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบได้ผลิตบัณฑิตทั้งชาวต่างประเทศและชาวไทย จำนวนทั้งสิ้น 214 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

ประเทศ

ปีการศึกษา

2527-2553

ปริญญาโท

จีน

19

เวียดนาม

43

ลาว

7

กัมพูชา

8

เมียนมาร์

12

ฟิลิปปินส์

4

อินโดนีเซีย

7

บังคลาเทศ

5

ศรีลังกา

9

เนปาล

13

ภูฎาน

9

ไทย

78

รวม

214

 

2.3 งานวิจัย

    

     ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) มีการดำเนินงานแบบสหสาขาวิชาโดยความร่วมมือของบุคลากรของศูนย์ร่วมกับคณาจารย์จากภาควิชาต่างๆใน คณะเกษตรศาสตร์ และใช้แนวทางเชิงระบบในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเกษตร พัฒนาองค์ความรู้ และวิธีการวิเคราะห์ปัญหาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยฯ ได้ริเริ่มงานวิจัยด้านเกษตรเกี่ยวกับงานวิจัยระบบการปลูกพืช งานวิจัยระบบฟาร์ม งานวิจัยระบบเกษตร การพัฒนาระบบเกษตรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน การพัฒนา งานวิจัยเกี่ยวกับระบบการตัดสินใจทางเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ แบบจำลองการผลิตพืชและผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น

     ปัจจุบัน ศูนย์วิจัย แบ่งกลุ่มงานวิจัยออกเป็น  2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มงานวิจัยระบบเกษตรยั่งยืน และกลุ่มงานวิจัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตร  ในรอบปีที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มงานต่างมุ่งเน้นภารกิจการดำเนินงานวิจัยอย่างเข้มแข็ง โดยมีเป้าหมายเพื่อ 1) เสริมสร้างฐานการวิจัยเชิงระบบให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น  2) ขยายผลการใช้แนวทางการวิจัยเชิงระบบสู่การวางแผนพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร  3) ดำเนินการวิจัยไปสู่ความเป็นเลิศในด้านการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน และระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อวางแผนและพัฒนาการเกษตร รวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน  ในการดำเนินการวิจัยได้มีการวางแผนเขียนโครงการวิจัยเพื่อการทำงานร่วมกันในลักษณะสหสาขาวิชา แหล่งทุนที่ศูนย์วิจัยฯ เขียนโครงการขอรับทุนสนับสนุนมีทั้งแหล่งทุนภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง  โครงการหลวง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ส่วนแหล่งทุนจากต่างประเทศ เช่น  CIRAD TERA IRRI เป็นต้น  โดยศูนย์วิจัยมีจำนวนโครงการวิจัยที่ดำเนินการคาบเกี่ยวในระหว่างเดือนมิถุนายน 2553 – พฤษภาคม 2554 จำนวน 9 โครงการ และมีโครงการวิจัยใหม่ที่เริ่มดำเนินการในช่วงรอบปี 2553/54 จำนวน 6 โครงการ รวมโครงการที่ดำเนินการวิจัยในช่วงที่ประเมินทั้งสิ้น 15 โครงการ งบประมาณกว่า 6 ล้านบาท ตัวอย่างงานวิจัยที่ดำเนินการ เช่น โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง  โครงการการจัดที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางเกษตรให้เหมาะสมกับหลายวัตถุประสงค์  โครงการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนในชนบทกับทรัพยากรเกษตรตามเขตนิเวศน์ต่างๆ  รวมถึงงานวิจัยเพื่อพัฒนาและขยายผลการผลิตพืชในระบบปลอดภัยจากสารเคมีซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งโครงการวิจัยเหล่านี้ลักษณะเป็นการวิจัยเป็นเชิงระบบ มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันในลักษณะสหสาขาวิชา มีทีมวิจัยตั้งแต่นักวิจัยระดับอาวุโส นักวิจัยระดับกลาง นักวิจัยรุ่นใหม่ ตลอดจนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ทำให้สามารถดำเนินงานวิจัยได้บรรลุตามแผนและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ได้ผลงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ นำเสนอในการประชุมทางวิชาการและเสนอผลต่อผู้ใช้ผลงานวิจัย รวมทั้งมีกลุ่มผู้ใช้ที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้วย

 

โครงการวิจัย  ที่อยู่ในระยะเวลาเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 -  พฤษภาคม 2554

ที่

โครงการ

ระยะเวลา

หัวหน้าโครงการ

งบประมาณทั้งหมด

แหล่งทุน

1

การพัฒนาฐานข้อมูลผลผลิตลำไยในระบบการจัดการน้ำต่างๆ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจผลิต

1 ต.ค.52- 30 ก.ย. 53

ผศ.ดร.ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์

838,687

สกว.

2

การจัดที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางเกษตรให้เหมาะสมกับหลายวัตถุประสงค์

15 กย. 51 - 14 กย. 53

รศ.ดร.เบญจพรรณ เอกะสิงห์

3,291,305

สกว.

3

ระบบสนับสนุนตัดสินใจจัดสรรที่ดินเชิงพื้นที่เพื่อการเกษตร

1 พ.ย. 52 - 31 ตค. 53

รศ.ดร.เบญจพรรณ เอกะสิงห์

1,143,940

สกว.

4

การจัดทำฐานข้อมูลสถานภาพการใช้ทรัพยากรบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง

2 พ.ย. 52 - 30 ก.ย. 53

ผศ.ดร.ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์

1,419,600

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง

5

Climate Change in Southeast Asia and Assessment on Impact, Vulnerability and Adaptation on Rice Production and Water Resource

1 มี.ค. 52 -  5 ต.ค. 53

รศ.ดร.อรรถชัย  จินตะเวช

1,980,000 ($60,000)

APN

6

การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง

ธ.ค.52 -  ก.ย. 53

รศ.ดร.เบญจพรรณ เอกะสิงห์

850,000

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง

7

นวัตกรรมทางเกษตรที่สนับสนุนระบบผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรรายย่อยภาคเหนือ

1 เม.ย.53 -31 มี.ค.54

ดร.บุศรา  ลิ้มนิรันดร์กุล

200,000

สวทช.

8

การประเมินศักยภาพพันธุ์ข้าวด้วยเทคโนโลยีทางเลือกในระบบข้าวอินทรีย์

1 เมย.53 -31 มี.ค.54

นางกุศล  ทองงาม

176,000

สวทช.

9

การจัดการไนโตรเจนโดยใช้โสนอัฟริกันในระยะเวลาสร้างส่วนสืบพันธุ์ในระบบการผลิตข้าวอินทรีย์

1 เมย.53 -31 มี.ค.54

นายทัพไท  หน่อสุวรรณ

200,000

สวทช.

รวมงบประมาณทั้งหมด

10,039,532.00

 

 

โครงการวิจัยใหม่  เริ่มดำเนินการระหว่าง มิถุนายน 2553 - พฤษภาคม 2554

ที่

โครงการ

ระยะเวลา

หัวหน้าโครงการ

งบประมาณทั้งหมด

แหล่งทุน

1

โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง 2

24 พ.ย.53 - 19 ก.ย.54

รศ.ดร.เบญจพรรณ เอกะสิงห์

900,000

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง

2

การจัดทำสารสนเทศภูมิศาสตร์ขอบเขตลุ่มน้ำบนพื้นที่สูงใน 3 จังหวัด

1 พ.ย. 53 – 27 ส.ค. 54

ผศ.ดร.ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์

616,000

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง

3

การพัฒนาระบบการจัดการพืชผักปลอดสารพิษ ต.นาเติงและ ต.ทุ่งยาว อ.ปาย แม่ฮ่องสอน

1 ธค.53 - 30 พย. 54

นายจตุรงค์  พวงมณี

532,070

สกว.

4

การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมกับทรัพยากรที่ดินสำหรับการเกษตรกรรมพื้นที่สูง

1 ธ.ค.53 - 31 พ.ค. 54

ผศ.ดร.ถาวร  อ่อนประไพ

458,929

สกว.

5

ความเสี่ยงในการเกษตรระบบพันธะสัญญาในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน:ผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยความเชื่อมโยงต่อนโยบายสาธารณะ

1 ธ.ค. 53 – 30 พ.ย. 54

รศ.ดร.เบญจพรรณ เอกะสิงห์

1,863,533

สสส.

6

ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนในชนบทกับทรัพยากรเกษตรตามเขตนิเวศน์ต่างๆ

1 ก.พ. 54 - 31 ม.ค 55

ผศ.ดร.ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์

2,105,760

สกว.

รวมงบประมาณทั้งหมด

6,476,292

 

 

     นอกจากงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินและแหล่งทุนต่างๆ แล้ว ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรได้มีการจัดสรรงบประมาณจากเงินรายได้ของศูนย์วิจัยฯ  เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บุคลากรของศูนย์วิจัยฯ ได้ทำงานวิจัยได้อย่างเต็มความสามารถ ดังนี้

 

โครงการวิจัย ปีงบประมาณ 2554  แหล่งทุน เงินรายได้

ที่

โครงการ

ระยะเวลา

หัวหน้าโครงการ

งบประมาณทั้งหมด

แหล่งทุน

1

การศึกษาและสำรวจลักษณะกองมูลไส้เดือนในกอข้าวโพด

1 ต.ค.52-30 ก.ย.53

นายทัพไท  วงศ์สุวรรณ

50,000

เงินรายได้

2

การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีต่อผักปลอดสารพิษและผักอินทรีย์

1 ต.ค.52-30 ก.ย.53

นางกุศล  ทองงาม

30,000

เงินรายได้

3

โครงการศึกษาการผลิตมะเขือเทศปลอดสารพิษ

1 ต.ค.53-30 ก.ย.54

นายจตุรงค์  พวงมณี

50,000

เงินรายได้

4

การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในการผลิตกระเทียมอินทรีย์

1 ต.ค.53-30 ก.ย.54

นายชินกฤต  สุวรรณคีรี

50,000

เงินรายได้

รวมงบประมาณทั้งหมด

180,000

 

 

 

2.4 งานบริการวิชาการ

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มีการดำเนินงานต่อยอดงานวิจัยสู่งานบริการวิชาการแก่สังคม และประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน โดยความร่วมมือของบุคลากรของศูนย์ร่วมกับคณาจารย์จากภาควิชาต่างๆใน คณะเกษตรศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายบนฐานความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้าน ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยฯ ได้ดำเนินงานบริการวิชาการในด้าน ระบบการปลูกพืช ระบบฟาร์ม ระบบเกษตร การพัฒนาระบบเกษตรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน และการพัฒนาระบบการตัดสินใจทางเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

 

จุดเด่นในด้านงานบริการวิชาการของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร ในปัจจุบัน แบ่งเป็น งานบริการวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางการเกษตร และระบบการตัดสินใจทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยงานบริการวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางการเกษตรนั้น ศูนย์วิจัยฯ นับว่าเป็นผู้นำในด้านงานระบบเกษตรปลอดสารพิษ และงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงงานด้านความยั่งยืนในด้านการเกษตรโดยเน้นพันธุ์พืชพื้นบ้าน โดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานด้านเกษตร สาธารณสุข และฝ่ายบริหารในท้องถิ่นและจังหวัด  นอกจากนี้ศูนย์วิจัยฯ ยังเป็นผู้นำในการพัฒนาองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์ด้านระบบการตัดสินใจทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการถ่ายทอดความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีและการนำไปใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักศึกษา และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

 

DSC09440small.bmp 

 

สถานีเกษตรเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มีความสำคัญต่อการพัฒนางานวิจัย งานบริการวิชาการ และการสนับสนุนการเรียนการสอน ในด้านเกษตรยั่งยืน ในรูปแบบเกษตรปลอดสารพิษ และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งให้กับผู้เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบุคคล และหน่วยงานภายนอก งานวิจัยจากสถานีทดลองฯ ได้ถูกนำไปเผยแพร่และพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนักศึกษาจากหลากหลายสถาบัน ซึ่งงานวิจัยและบริการวิชาการด้านการผลิตและการตลาด เกษตรปลอดสารพิษ ในสถานีทดลองฯ เป็นที่ยอมรับและพัฒนาไปสู่การร่วมงานกับหน่วยงานระดับจังหวัด องค์กรส่วนท้องถิ่นและเกษตรกร

 

IMG_7502 small.JPG

 

โครงการบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2553

ที่

โครงการ

ระยะเวลา

หัวหน้าโครงการ

งบประมาณทั้งหมด

แหล่งทุน

1

การขยายแนวคิดการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพต่อระบบการผลิตชุมชนเกษตรผ่านเวทีการเรียนรู้

1 ต.ค.52- 30 ก.ย.53

อ.ดร.บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล

55,000

งปม.แผ่นดิน

2

การเรียนรู้การประเมินความหลากหลายชีวภาพในระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์

1 ต.ค.52- 30 ก.ย.53

อ.ดร.บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล

55,000

งปม.แผ่นดิน

3

การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการเรียนรู้และอนุรักษ์พืชผักพื้นบ้านในชุมชนบ้านเกิด

1 ต.ค.52- 30 ก.ย.53

นางกุศล ทองงาม

55,000

งปม.แผ่นดิน

รวมงบประมาณทั้งหมด

165,000

 

 

โครงการบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2554

ที่

โครงการ

ระยะเวลา

หัวหน้าโครงการ

งบประมาณทั้งหมด

แหล่งทุน

1

การขยายแนวคิดการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพต่อระบบอนุรักษ์ป่าและลดการขยายพื้นที่ป่าโดยผ่านเวทีการเรียนรู้ชุมชน (community learning platform)

1 ต.ค.53- 30 ก.ย.54

อ.ดร.บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล

24,000

งปม.แผ่นดิน

2

การพัฒนาแนวคิดการใช้ประโยชน์ความหลากหลายชีวภาพในระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์เขตชานเมือง

1 ต.ค.53- 30 ก.ย.54

อ.ดร.บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล

24,000

งปม.แผ่นดิน

3

แนวทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พืชผักพื้นบ้านและพืชป่าที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์

1 ต.ค.53- 30 ก.ย.54

นางกุศล ทองงาม

24,000

งปม.แผ่นดิน

4

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการธาตุอาหารพืชเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของเกษตรกรที่มีการปลูกข้าวโพดในระบบไร่หมุนเวียนบนพื้นที่สูง

1 ต.ค.53- 30 ก.ย.54

ดร. สิทธิชัย  ลอดแก้ว

24,000

งปม.แผ่นดิน

รวมงบประมาณทั้งหมด

96,000

 

 

     งานบริการวิชาการที่ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรที่อยู่ในลักษณะของโครงการวิจัยต่างๆ แล้ว ศูนย์วิจัยฯ ได้ให้บริการความรู้ทางการเกษตรแก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ โดยเป็นวิทยากรบรรยาย การเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา เป็นต้น

 

งานบริการวิชาการ

การศึกษาดูงาน การเผยแพร่ความรู้ และการสัมมนา

Picture2.jpg   DSC08288.JPG.jpg

ที่

วัน เดือน ปี

เรื่อง

ผู้เข้ารับบริการ

จำนวนคน

1

2 มิ.ย.53

สปก. เชียงใหม่นำกลุ่มเกษตรกรเข้าศึกษาดูงาน

เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสบเลิม ต.บ้านเป้า อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ต.ยางคราม อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

30

2

9 มิ.ย.53

บริษัทเพื่อนเกษตรดูงานการผลิตผักปลอดสารพิษ

พนักงานบริษัท เพื่อนเกษตร จำกัด เข้าเยี่ยมชมการผลิตผักปลอดสารพิษ

5

3

16 มิ.ย.53

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ.แม่ฮ่องสอน นำเกษตรกรเข้าศึกษาดูงาน

เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ.แม่ฮ่องสอน

23

4

27 มิ.ย.53

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ศึกษาดูงานวิจัยด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของ สพฐ. สกอ. สวทช. และ สสวท.

200

6

10 ก.ค.53

การจัดการผลผลิตผักปลอดสารพิษหลังการเก็บเกี่ยว

กลุ่มเกษตรกร เครือข่ายของแผนงานพืชอาหารปลอดภัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

20

7

15 ก.ค.53

การจัดการผลผลิตผักปลอดสารพิษหลังการเก็บเกี่ยว

กลุ่มเกษตรกรสหกรณ์เกษตรอินทรีย์แม่ทา อ.กิ่งแม่ออน จ. เชียงใหม่ ณ สหกรณ์เกษตรอินทรีย์แม่ทา อ.กิ่งแม่ออน จ. เชียงใหม่

30

8

15 ก.ค.53

American Pacific International School ทัศนศึกษาแปลงผลิตผักปลอดสารพิษ

นักเรียนชั้นอนุบาลโรงเรียนนานาชาติ American Pacific

17

9

30 ก.ค.53

วิทยากรบรรยายและนำศึกษาดูงาน

 

เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในโครงการขยายผลโครงการหลวง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน)

15

10

3 ส.ค.53

หน่วยงานประเทศเวียดนามเข้าศึกษาดูงาน

บุคคลากรจาก RCRD กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ Thai Nguyen University ประเทศเวียดนาม นำโดย Regional Center for Research and Development (RCRD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5

11

6 ส.ค.53

เผยแพร่ความรู้ ความรู้เรื่องการผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกรบ้านป่าไม้แดง อ.ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่

30

12

16 ส.ค.53

ระบบเกษตรเพื่อความสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาวิชาการ "ระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6: ระบบเกษตรเพื่อความสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม"

150

13

17 ส.ค.53

ระบบการผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกรที่สนใจการผลิตผักปลอดสารพิษ จากเครือข่ายศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

50

14

20 ส.ค.53

บรรยายเรื่อง Screening pollen viability in rice

พนักงานบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด

100

15

20 ส.ค.53

กระบวนการผลิตผักปลอดสารพิษและบริหารจัดการด้านการตลาด

เกษตรกรที่สนใจการผลิตผักปลอดสารพิษ จากเครือข่ายศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

50

16

20 -21 ส.ค.53

Knowledge Facilitator เรื่อง “การผลิตมะม่วงล่าฤดู”

เกษตรกรชาวสวนมะม่วง  โดยชมรมผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดเชียงใหม่

200

17

28 ส.ค.53

การบริหารจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสาน

นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาแมลงกับมนุษย์ ภาควิชากีฏวิทยา  คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่

 

200

18

1 ก.ย.53

นำนักศึกษาทัศนศึกษานอกสถานที่

 

นักศึกษาชั้นปีที่ 2  คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

20

19

10 ก.ย.53

กิจกรรมพัฒนาเกษตรกรสู่ระบบการผลิตมาตรฐาน GAP

เกษตรกรอำเภอสันป่าตอง จ.เชียงใหม่

30

20

24 ก.ย.53

การผลิตหอมหัวใหญ่

กลุ่มเกษตรกร ต. บ้านกาด อ.แม่วาง และกลุ่มเกษตรกร ต. บ่อหลวง อ. สันป่าตอง  จ. เชียงใหม่

24

21

27 ก.ย.53

การผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกรบ้านม่วงสร้อย ต.แม่นาเติง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

5

22

6 ต.ค.53

การผลิตหอมหัวใหญ่แบบปลอดภัยและแบบปลอดสารพิษ

กลุ่มเกษตรกร ต. บ้านกาด อ.แม่วาง และกลุ่มเกษตรกร ต. บ่อหลวง อ. สันป่าตอง  จ. เชียงใหม่

 

23

6 – 12 ต.ค.53

การจัดนิทรรศการ

บุคคลทั่วไปที่เข้าชมงาน "Great Food Good Health"

 

24

7 ต.ค.53

ประชุมการวางแผนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดสารพิษ

                                                                             

เกษตรกรตำบลสะลวง  อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่

 

25

9 ต.ค.53

การผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกร  ในโครงการ การพัฒนาและขยายผลการผลิตผักปลอดสารพิษ อ.กัลยาณิวัฒนา จ. เชียงใหม่

10

26

12 ต.ค.53

การผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกรตำบลหนองแหย่ง  อ.สันทราย จ. เชียงใหม่

25

27

14 ต.ค.53

การผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกรตำบลบ้านเป้า อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

20

28

14 ต.ค.53

การดูงานเกษตรอินทรีย์

เกษตรกรเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์ลุ่มน้ำแม่กวง ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 

20

29

19 ต.ค.53

ประชุมการวางแผนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดสารพิษ

 

เกษตรกรตำบลสันโป่ง  อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่

20

30

27 ต.ค.53

ประชุมการวางแผนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดสารพิษ

 

เกษตรกรตำบลห้วยทราย อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่

28

31

9 ต.ค.53

ติดตามผลกระบวนการผลิตผักปลอดสารพิษ

 

เกษตรกรตำบลสันโป่ง  อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่

20

32

11 พ.ย.53

ประชุมการวางแผนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกรตำบลช่อแล  อ.แม่แตง จ. เชียงใหม่

16

33

18 พ.ย.53

การเข้าเยี่ยมชมสถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทานในงานตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ 15

นักเรียน

50

34

25 พ.ย.53

การร่วมอภิปราย “การสร้างกลุ่มให้เข้มแข็งและทำอย่างไรจึงจะทำให้การผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออกประสบความสำเร็จ”

เกษตรกรชาวสวนมะม่วง โดย สถาบันเกษตรกรชาวสวนมะม่วงจังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มและจังหวัดนครราชสีมา

30

35

1 ธ.ค.53

การอภิปราย “แนวทางการแก้ไข ผลกระทบฝนยาวหนาวนานกับการผลิตมะม่วงในภาคเหนือตอนบนปีการผลิต 2553/2554 ให้ได้คุณภาพ”

เกษตรกรชาวสวนมะม่วงในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน

200

36

14 ธ.ค.53

ติดตามผลกระบวนการผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกร ตำบลแม่ละอูป อ.กัลยานิวัฒนา  จ. เชียงใหม่

10

37

17 – 18 ธ.ค.53

การจัดนิทรรศการ เปิดตัวโครงการการศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการพืชผักปลอดสารพิษ

กลุ่มเกษตรกร ตำบลแม่นาเติง ตำบลทุ่งยาว  ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

1,000

38

11 ม.ค.54

ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลกระบวนการผลิตผักปลอดสารพิษ

 

เกษตรกรตำบลสันโป่ง  อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่

20

39

13 ม.ค.54

นิทรรศการ ระบบการผลิตผักปลอดสารพิษ

 

เกษตรกรและประชาชนในตำบลห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

500

40

14 ม.ค.54

เยี่ยมชมการดำเนินงานของเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตพืชอาหารปลอดภัย

 

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

30

41

21 ม.ค.54

นิทรรศการผลงานทางวิชาการในงาน “พืชผักปลอดสาร อาหารปลอดภัยฯ ครั้งที่ 5

โรงเรียนชุมชนช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

1,000

42

25 ม.ค.54

นิทรรศการ ระบบการผลิตผักปลอดสารพิษ

 

คณะครู นักเรียนและประชาชนใน อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

1,000

43

27 ม.ค.54

การสัมมนา “การปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติโลกร้อนสำหรับชาวสวนมะม่วง”

เกษตรกรชาวสวนมะม่วง

200

44

9 ก.พ.54

การผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกร

 50

45

22 ก.พ.54

การฝึกปฏิบัติการเพาะกล้าในถาดหลุมและการใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า

กลุ่มเกษตรกร เครือข่ายของแผนงานพืชอาหารปลอดภัย

50

46

24 ก.พ.54

การผลิตมะม่วงผลสดและมะม่วงเพื่อการแปรรูป

ชาวสวน จ.สุพรรณบุรี

50

47

26 ก.พ.54

การผลิตมะม่วงบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นักวิชาการจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

 

48

28 ก.พ.54

การปลูกและผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกรชาวเขา รุ่นที่ 1/2554

 

49

4 มี.ค.54

จัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานและการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง

กลุ่มเกษตรกร อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่

 

50

5 มี.ค.54

วิกฤติโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อมะม่วง

เกษตรกรชาวสวนมะม่วง จังหวัดพิษณุโลก

 

51

17 มี.ค.54

ดูงานการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในระบบเกษตรปลอดพิษ

เกษตรกรจำนวน 19 ราย จากเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

 

52

18 มี.ค.54

การปลูกหอมแดงปลอดภัยจากสารพิษเพื่อวิถีตลาดที่ยั่งยืน

เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงพื้นที่ อ.แม่แจ่ม  จ.เชียงใหม่

 

53

24 – 25 มี.ค.54

การศึกษาดูงานระบบการผลิตผักปลอดสารพิษ

 

นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

54

25 มี.ค.54

การศึกษาดูงานระบบการผลิตผักปลอดสารพิษ

 

เกษตรกรจากชุมชนบ้านดอกแดง  อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เครือข่าย สวทช ภาคเหนือ)

 

55

29 มี.ค.54

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และ การผลิตพืชปลอดสารพิษ

เกษตรกรโครงการส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี 2554  อ.สันป่าตอง

 

56

7 เม,..54

การศึกษาดูงานระบบการผลิตผักปลอดสารพิษ

 

กลุ่มเกษตรกรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง บ้านต่อแพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

57

8 เม.ย.54

การสัมมนา “เส้นทางการพัฒนาพันธุ์มะม่วงไทย”

การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 17

 

58

22 เม.ย.54

การจัดรายการวิทยุและอภิปรายกลุ่ม “การปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกกับโอกาสของชุมชนดอยหล่อ”

ชุมชนเกษตรกรรมดอยหล่อ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

 

 

การฝึกอบรม

   

ที่

วัน เดือน ปี

เรื่อง

ผู้เข้ารับบริการ

จำนวนคน

1

23 – 24 มิ.ย.53

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

เจ้าหน้าที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 10 คน

10

2

20 ก.ค. 53

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ใช้ตัวชี้วัดเพื่อการเปรียบเทียบระดับความยั่งยืนของการดำรงชีพของชุมชนบนพื้นที่สูง

เกษตรกร นักวิชาการ องค์กรส่วนท้องถิ่น

17

3

2 -6 ส.ค. 53

การฝึกอบรม รสทก จังหวัดกาฬสินธุ์

นักวิชาการ ในหน่วยงานจังหวัดกาฬสินธุ์

10

4

9 – 11 ส.ค. 53

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาตัวชี้วัดความยั่งยืนการดำรงชีพในพื้นที่สูง

เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน)

3

5

17 – 18 ส.ค.53

การผลิตผักปลอดสารพิษ

เทศบาลตำบลสันโป่ง อ.แม่ริม และ อบต.แม่ละอูบ อ.กัลยานิวัตร จ.เชียงใหม่

 

6

17 ต.ค.53

การบรรยาย "การจัดการธาตุอาหารพืชเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม"

 

นักศึกษาฝึกงานชั้นปีที่ 2  คณะเกษตรศาสตร์   ม.เชียงใหม่

 

7

19 พ.ย.53

ฝึกอบรมการการทำกาวเหนียวดักแมลง

อบต.ห้วยทราย อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่

15

8

21 ม.ค.54

บรรยายการผลิตผักปลอดสารพิษ

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรที่สูง

20

9

4 ก.พ.54

ฝึกอบรม “มะม่วงกับโอกาสของชาวสวน”

เกษตรกรตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

100

10

9 – 11 ก.พ.54

ฝึกอบรมและมอบโปรแกรม รสทก ให้ อบจ.เชียงใหม่

เจ้าหน้าที่ อบจ.เชียงใหม่

30

11

15 ก.พ.54

กุญแจสู่ความสำเร็จในการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก: การดำเนินการในรูปแบบกลุ่ม

เกษตรกรชาวสวนมะม่วงจากกลุ่มต่างๆ ทั่วประเทศ

220

12

30 – 31 มี.ค.54

การจัดการธาตุอาหารพืชเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของเกษตรกรที่มีการปลูกข้าวโพดในระบบไร่หมุนเวียนบนพื้นที่สูง

เกษตรกร

40

13

31 มี.ค.54

วิทยากรบรรยายในการฝึกอบรม "หลักการพัฒนาลุ่มน้ำ" รุ่นที่ 2

เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน)

35

14

20 – 22 เม.ย.54

จัดฝึกอบรมการใช้โปรแกรมอัตโนมัติออกแบบจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

ข้าราชการ กรมพัฒนาที่ดิน

28

 

การฝึกงานของนักศึกษา

ที่

วัน เดือน ปี

เรื่อง

ผู้เข้ารับบริการ

จำนวนคน

1

16 มิ.ย. – 2 ก.ย.53

การให้บริการพื้นที่แก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มช เพื่อทำวิทยานิพนธ์

3

2

1 ก.ค.53 – 31 มี.ค.54

อนุเคราะห์สถานที่วางรังชันโรง

นักศึกษาภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มช

1

3

1 ก.ค.– 31 ธ.ค.53

ขอใช้บริการพื้นที่สถานีวิจัยฯ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน

นักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มช

3

4

1 ก.ย.53

นำนักศึกษาทัศนศึกษานอกสถานที่

นักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มช

20

5

13 – 17 ก.ย.53

นักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน ด้านอุตุนิยมวิทยา

นักศึกษา ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มช

152

6

20 ก.ย. – 6 พ.ย.53

 รับนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่เข้าฝึกงาน

นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่เข้าฝึกงาน

10

7

3 พ.ย.53- 9 ก.พ.54

การฝึกงานนักศึกษา

นักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มช

17

8

3 ม.ค. – 11 ก.พ.54

ให้ความอนุเคราะห์นักศึกษา ม.ราชภัฎอุตรดิตถ์ เข้าฝึกงาน

นักศึกษา ม.ราชภัฎอุตรดิตถ์ 

1

9

4 พ.ย.53 – 28 ก.พ.54

ให้ความอนุเคราะห์นักศึกษา ม.อุบล เข้าฝึกงาน

นักศึกษา ม.อุบล

1

10

26 ม.ค.54

นำนักศึกษาทัศนศึกษานอกสถานที่

นักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มช

20

11

1 มี.ค. – 5 เม.ย.54

ให้ความอนุเคราะห์นักศึกษา ม.ราชภัฎอุตรดิตถ์ เข้าฝึกงาน

นักศึกษา ม.ราชภัฎอุตรดิตถ์

1

 

วิทยากรที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ

ที่

วัน เดือน ปี

เรื่อง

ผู้เข้ารับบริการ

จำนวนคน

1

4 ส.ค.53

การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ        สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ

สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ

 

2

10 ก.ย.53

การวางแผนการผลิตผักปลอดภัย

เกษตรกรอำเภอสันป่าตอง

30

3

27 ก.ย.54

ปรึกษา ติดตาม การผลิตผักปลอดสารพิษ บ้านร้องขุด อ.สันป่าตอง จ. เชียงใหม่

กลุ่มเกษตรกรบ้านร้องขุด ต.แม่ก๊า  อ.สันป่าตอง จ. เชียงใหม่

20

4

29 ก.ย.53

การบริหารความเสี่ยง

บุคลากรวิทยาลัยสื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี

 

5

3 – 4 พ.ย.53

วิทยากร บรรยาย Agricultural technology development and extension systems in Thailand” และ “Farmer organization: community rice seed multiplication; crop-livestock integration; contract farming at Ban Dong Palan”

คณะ VVOB-Vietnam-PAEX (Participatory Agricultural Extension) study visit to Chiang Mai, Thailand

 

6

4 – 5ต.ค.54

การจัดการดูแลแปลงปลูกพืชผลทางการเกษตร

พนักงานบริษัทฮอทิเจนเนติคส์รีเสิร์ช (เอส อี เอเชีย)

30

7

20 ธ.ค.53

วิทยากร “แรงบันดาลใจในภาคเกษตรของไทยกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน

150

8

13 ธ.ค.53

ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินข้อเสนอโครงการ

สกว.

 

9

22 ธ.ค53

ผู้ทรงคุณวุฒิวิจารณ์ผลงานทางวิชาการสายสังคมศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์ เชียงใหม่

 

10

5 ม.ค.54

แนวทางการขอตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งชำนาญการ และตำแหน่งเชี่ยวชาญ

บุคลากร คณะเกษตรศาสตร์ มช

60

11

1 – 4 ก.พ.54

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานวิชาการ ในการจัดประชุมทางวิชาการครั้งที่ 49 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

12

25 ก.พ.53 – 23 ต.ค.54

กรรมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ Asian Simulation and Modelling 20-22 ตุลาคม 2554 ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

13

28 ก.พ.54

การปลูกและผลิตผักปลอดสารพิษ

เกษตรกรชาวเขา รุ่นที่ 1/2554  โดย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มช

30

14

8 มี.ค.54

การระดมความคิดในการจัดทำแบบจำลองเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำปิงและน่าน

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน)

40

15

29 มี.ค.54

บรรยายพิเศษเรื่อง Commod appraoch and practices in Thailand

Asian Institute of Technology (AIT)

15

16

11 – 14 เม.ย.54

ผู้ทรงคุณวุฒิ Center for International Forestry Research,  Vice Chair of Board ศูนย์วิจัยป่าไม้นานาชาติ (CIFOR)

Center for International Forestry Research

120

 

เครือข่ายเกษตรกร

ที่

วัน เดือน ปี

เรื่อง

ผู้เข้ารับบริการ

จำนวนคน

1

2 ก.ค.53

โครงการ "การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการเรียนรู้และอนุรักษ์ผักพื้นบ้านในชุมชนบ้านเกิด"

นักเรียน โรงเรียนบ้านเมืองก๊ะ ที่โรงเรียนบ้านเมืองก๊ะ

13

2

28 – 29 ก.ค.53

การเรียนรู้การประเมินความหลากหลายชีวภาพในระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์

การเรียนรู้การประเมินความหลากหลายชีวภาพในระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์

25

3

3 ก.ย.53

ประชุมกลุ่มเกษตรกร

เกษตรกรตำบลแม่นาเติงและตำบลทุ่งยาว อ.ปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน  25 คน

25

4

กันยายน 2552 – ปัจจุบัน

ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนปลอดสารพิษของกระทรวงพาณิชย์ (Farm Outlet)

ประชาชนทั่วไป

 

5

1 ต.ค.53 –31 พ.ค.54

โครงการพัฒนาและขยายการผลิตผักปลอดสารพิษ 

กลุ่มเกษตรกรและชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่

 

6

2 ก.พ.54

ประชุมวางแผน เรื่องการตลาดหอมหัวใหญ่ปลอดภัยและปลอดภัยจากสารพิษ

กลุ่มเกษตรกร อ.แม่วาง จ. เชียงใหม่

15

7

19 ก.พ.54

จัดเวทีเสวนาเครือข่ายเกษตรกร หัวข้อ "ฮ่วมถอดบทเฮียน แลกเปลี่ยนกำกึ้ด ผักปลอดสารพิษ"

กลุ่มเกษตรกรจาก ต.หนองแหย่ง อ.สันทราย ,ต.บ้านกาด  อ.แม่วาง, ต.ช่อแล อ. แม่แตง, ต.สะลวง,ต.ห้วยทราย,ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่  และกลุ่มเกษตรกร ต.แม่นาเติง   อ. ปาย  จ. แม่ฮ่องสอน

 

8

9 มี.ค.54

เวทีสมัชชาสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่

ประชาชนทั่วไป

 

9

30 – 31 มี.ค.54

การจัดการธาตุอาหารพืชเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของเกษตรกรที่มีการปลูกข้าวโพดในระบบไร่หมุนเวียนบนพื้นที่สูง

เกษตรกร อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

40

 

             BD21298_ งานบริการวิชาการที่ประชาสัมพันธ์ทางเวปไซต์ของ ศวพก.

            BD21298_ สืบค้นงานบริการวิชาการที่จัดเก็บในฐานข้อมูลเวปไซต์ของ ศวพก.

 

2.5 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร ได้ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรและนักศึกษา ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อาทิเช่น กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา การร่วมพิธีทอดกฐินของมหาวิทยาลัย การร่วมงานประเพณีสงกรานต์ของคณะเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่คณะเกษตรศาสตร์จัดขึ้น เช่น การร่วมงานทำความสะอาดคณะ Big Cleaning Day และศวพก.ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะด้านการพัฒนาระบบเกษตรไม่ใช้สารเคมีในพื้นที่สถานีเกษตรเขตชลประทาน รวมถึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงได้พัฒนาระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

การดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

 

  DSC_0452.jpg

 

การดำเนินงาน

วันเดือนปี

ประเภทผู้เข้าร่วม/

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1.ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ดำเนินงานในลักษณะการบูรณาการ ด้านการรณรงค์ให้ภาคประชาชนหันมาใส่ใจในการดูแลรักษาสุขภาพ และรักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ได้ดำเนินการได้แก่

1.1 ตลาดนัดผักปลอดสารพิษ (Farm Outlet)

1.2 แปลงสาธิตผักปลอดสารพิษ

1.1 และ 1.2 ทุกวันพุธ และวันเสาร์ของสัปดาห์ (เป็นโครงการต่อเนื่อง)

 

 

1. ประชาชนทั่วไป

จำนวน 500,000 คน

2.นักศึกษาและเด็กๆ

ชั้นอนุบาล

จำนวน 3,000 คน

3. กลุ่มเกษตรกรและ

ผู้นำชุมชนท้องถิ่น

 

2.ด้านการทำนุบำรุงด้านศาสนา มีกิจกรรม

ที่ ศวพก.สนับสนุนงานของคณะ และมหาวิทยาลัยโดยการสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณและให้บุคลากรเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร

2.1 ร่วมทำบุญกับมหาวิทยาลัยเนื่องในวันวิสาขบูชา

2.2 งานถวายเทียนพรรษา ณ วัดสวนพริก

ต.แม่เหียะ  อ.เมือง จ.เชียงใหม่

2.3 งานตักบาตรเทโวโรหณะ

2.4 งานทำบุญวันสถาปนาคณะเกษตร-ศาสตร์ ประจำปี

2.1 วันที่ 28 พฤษภาคม 2553

2.2 วันที่23 กรกฎาคม 2553

2.3 วันที่ 24 ตุลาคม 2553

2.4 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554

1.บุคลากร ศวพก.

จำนวน 45 คน

3.ด้านการรักษาวัฒนธรรมและประเพณี

ท้องถิ่น ศวพก. ได้เข้าไปสนับสนุนกิจกรรม

ในด้านดังกล่าว โดยตระหนักให้บุคลากร

มีความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี

อันดีงานขององค์กรและท้องถิ่น ได้แก่

3.1 งานสานสัมพันธ์บุคลากรประจำปี

3.2 เข้าร่วมบวนแห่พระพุทธสิหิงค์

3.3 รดน้ำดำหัวคณาจารย์อาวุโสและผู้บริหาร เนื่องในแบบวิถีของชาวล้านนา

 

3.1 วันที่ 29 ธันวาคม 2553

3.2 วันที่ 13 เมษายน 2554

3.3 วันที่ 22 เมษายน 2554

1.บุคลากร ศวพก.

จำนวน 45 คน

 

2.6 ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น

ศวพกมีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและ สถาบันวิจัยและพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านโครงการวิจัยและพัฒนา และการฝึกอบรม การบริการวิชาการ โดยมีหน่วยงานในประเทศ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ตลอดจนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งองค์กรมหาชน เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน)  มูลนิธิโครงการหลวง แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการส่งเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ)  สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) และองค์กรเอกชน เช่น เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ หน่วยงานในต่างประเทศ เช่น สถาบันการศึกษา คือ Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University, Japan, Australian National University, Australia, School of Agricultural and Food Science, The University of Queensland, Australia, University of North Calorina, USA, Hanoi Agricultural University, Hue Agricultural University, Viet Nam, University of Wagenigen, Netherlands, University of Hohenheim, Germany, มหาวิทยาลัยสุพานุวงศ์ สาธารณรัฐประชาชนลาว  สถาบันวิจัยการเกษตรนานาชาติ เช่น Center for International Forestry Research (CIFOR), International Rice Research Institute (IRRI),  World Agroforestry Center (ICRAF), International Center of Wheat and Maize Improvement (CIMMYT), Center of World Fish Center, Centre de Coopération Internationale en Rechercheagronomique pour le Développement (CIRAD) International Consortium of Agricultural Systems Application (ICASA)  และหน่วยงานแหล่งทุน หรือหน่วยงานอื่นเช่น Australian Centre for International Agricultural Research (ACIAR), World Bank, United Nations Food and Agriculture Organization, International Fund for Development (IFAD), กระทรวงเกษตรและป่าไม้ สาธารณรัฐประชาชนลาว  เป็นต้น

 

 

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000