logo.jpg

ส่วนที่ 1 บทนำ

1.1  ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร  http://www.mcc.cmu.ac.th/

1.2  ที่ตั้ง 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

1.3  ประวัติความเป็นมา

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Multiple Cropping Center (MCC) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2511 โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าของโครงการ และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าของโครงการแทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  การจัดตั้งในระยะเริ่มต้นได้มีการสนับสนุนทางการเงินและบุคลากรจากต่างประเทศโดยมีมูลนิธิฟอร์ดเป็นผู้สนับสนุนหลัก มีพันธกิจหลักในการวิจัยเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและเสนอแนะนโยบายทางด้านการเกษตร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ให้บริการวิชาการแก่สังคม และเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ศวพก. มีการดำเนินงานแบบสหสาขาวิชา โดยความร่วมมือของบุคลากรจากหลายสาขาวิชาทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์เกษตร และเศรษฐกิจสังคม และใช้แนวทางเชิงระบบในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเกษตร พัฒนาองค์ความรู้และวิธีการวิเคราะห์ปัญหาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีหน่วยวิจัยหลัก 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยวิจัยระบบเกษตรยั่งยืน และหน่วยวิจัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตร  นอกจากนี้ยังร่วมกันจัดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ (Agricultural Systems)

ศวพก. ให้การสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเกษตรศาสตร์เชิงระบบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรนานาชาติในปี พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบันหลักสูตรนี้ได้ผลิตมหาบัณฑิตให้แก่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ประเทศไทย จีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ตลอดจนประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ คือ ประเทศเนปาล ภูฐาน บังคลาเทศ และศรีลังกา จำนวนทั้งสิ้น 214 คน โดยเป็นบัณฑิตจากต่างประเทศในภูมิภาคดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งสิ้น 139 คน ปัจจุบันได้ขยายการจัดการเรียนการสอนสาขาเกษตรศาสตร์เชิงระบบโดยได้เปิดหลักสูตรปริญญาเอกเมื่อปี 2551 ซึ่งเป็นหลักสูตรปกติ (ไทย)

     ภารกิจหลักทางด้านการวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชน และการสนับสนุนการเรียนการสอนเป็นงานบูรณาการภายใต้การดำเนินงานของหน่วยวิจัย ได้แก่ หน่วยวิจัยระบบเกษตรยั่งยืน หน่วยวิจัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนและพัฒนาการเกษตร และการจัดการ กลุ่มวิจัยทรัพยากรพันธุกรรม ธาตุอาหารพืช และสถานีทดลองการเกษตรเขตชลประทาน

นอกจากนี้ ศวพก. ได้ให้คำปรึกษาอบรมในเรื่องที่เชี่ยวชาญแก่นักวิชาการ นักพัฒนา นักส่งเสริม และเกษตรกรทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

วิสัยทัศน์

 

“เป็นผู้นำภูมิภาคด้านการวิจัยเชิงระบบเพื่อการพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างยั่งยืน”

 

พันธกิจ

 

            - นำแนวทางเชิงระบบมาใช้ประโยชน์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตทางเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยเน้นทางด้านระบบเกษตรยั่งยืน ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนและพัฒนาการเกษตร ระบบธุรกิจเกษตรและการจัดการ

            - พัฒนาองค์ความรู้และวิทยาการทางเกษตรเพื่อสนับสนุนการวางแผนการผลิตและกระบวนการผลิต การฟื้นฟูทรัพยากรดินและน้ำ และการจัดการธุรกิจเกษตร

            - เสริมสร้างความเข้มแข็งของหลักสูตรนานาชาติวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ

            - มีการบริการวิชาการ เผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและเป็นที่ปรึกษาในเรื่องที่เชียวชาญแก่นักวิชาการ นักพัฒนา นักส่งเสริม และเกษตรกรทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

วัตถุประสงค์

 

การวิจัย

·         เสริมสร้างรากฐานการวิจัยเชิงระบบให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

·         ขยายผลการใช้แนวทางการวิจัยเชิงระบบสู่การพัฒนาการเกษตรและการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ

·     ดำเนินการวิจัยไปสู่ศูนย์แห่งความเป็นเลิศในด้านการพัฒนาระบบเกษตรแบบยั่งยืน ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อวางแผนและพัฒนาทางเกษตรและการบริหารและจัดการธุรกิจเกษตรเพื่อชุมชน

·         พัฒนาและดำเนินงานวิจัยเชิงสหวิทยาการ  ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนและการพัฒนาเกษตรในระดับจังหวัดภาคเหนือ

 

การสนับสนุนการเรียนการสอน

·     สนับสนุนการเรียนการสอนผ่านทางหลักสูตรมหาบัณฑิตเกษตรศาสตร์เชิงระบบ เพื่อผลิตบัณฑิตและบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ และทักษะทางระบบเกษตรทำงานให้สังคม

 

การบริการวิชาการ

·         การบริการวิชาการทางเกษตรศาสตร์เชิงระบบ ให้เข้มแข็ง

·         ให้การบริการวิชาการด้านเกษตรศาสตร์เชิงระบบให้ชุมชนภาคเหนือในจังหวัดต่าง ๆ

 

1.4  โครงสร้างองค์กร

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.)   เป็นส่วนงานภายใต้คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานและใช้ผลงานด้านการค้นคว้าและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา เกษตรกร และเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐและเอกชนทั้งในระดับภาค ประเทศ และภูมิภาค รวมทั้งสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์และมิตรภาพที่มั่นคงกับหน่วยงาน องค์กรและสถาบันทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเน้นการวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเชิงบูรณาการ มีพันธกิจหลักในการวิจัยเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและเสนอแนะนโยบายทางด้านการเกษตร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสนับสนุนการเรียนการสอนบัณฑิตศึกษาเกษตรศาสตร์เชิงระบบระดับนานาชาติ ทั้งนี้ได้ผลิตงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคเหนือและประเทศเป็นจำนวนมาก ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยวิจัย 2 หน่วยคือ

            (1) หน่วยวิจัยระบบเกษตรยั่งยืน (Sustainable Agricultural Systems Research Unit) เป็นหน่วยงานวิจัยที่บุกเบิกงานวิจัยระบบพืชและระบบฟาร์มเป็นเวลาติดต่อกันมากกว่าสามทศวรรษ ซึ่งให้ความสำคัญกับความหลากหลายและการกระจายการผลิตเพื่อลดความเสี่ยง และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชนโดยการผสมผสานวิธีการศึกษาด้านเกษตร สังคม และเศรษฐศาสตร์ เพื่อพัฒนาสู่ระบบการผลิตอาหารที่มั่นคง ปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน         รวมทั้งออกแบบระบบการผลิตที่สอดคล้องกับพื้นที่ที่สร้างนำไปสู่ “ความอยู่เย็นเป็นสุข” ของชุมชน สาระสำคัญประกอบด้วยการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบการผลิต การเสริมสร้างสมรรถนะของชุมชน การทำงานระดับกลุ่มและเครือข่าย และการเชื่อมโยงสู่นโยบายสาธารณะเพื่อกระจายผลในวงกว้าง กระบวนการพัฒนาเกษตรยั่งยืนจึงอาศัยทุนทางสังคมและทุนทางปัญญาเป็น

พลังขับเคลื่อนเพื่อความอยู่ดีกินดีของชุมชน และเป็นแนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตทางเกษตรที่สอดรับกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

            (2) หน่วยวิจัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนและพัฒนาการเกษตร (Decision Support Systems in Agricultural Resource Management Research Unit) เป็นหน่วยวิจัยที่บุกเบิกงานด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อจัดการทรัพยากรทางเกษตรขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2531 โดยการผสมผสานเทคโนโลยีด้านระบบภูมิสารสนเทศ (geographic information systems, GIS) การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล (remote sensing analysis) การจำลองสถานการณ์ (modeling and simulation) และวิธีการวิเคราะห์กระบวนการตัดสินใจ (decision analysis) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ แบบจำลอง และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สำหรับใช้ในการระบุปัญหาและศักยภาพของพื้นที่ การประมาณผลผลิตพืช การประมาณการสูญเสียของดิน และการจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรในระดับแปลง ฟาร์ม ลุ่มน้ำ จังหวัดและระดับประเทศ ดังนั้นจึงเน้นการผลิตผลงานที่มีลักษณะบูรณาการข้อมูล องค์ความรู้ และวิธีการวิเคราะห์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในทางเกษตรและจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ จึงช่วยให้ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจใช้ทางเลือกที่เหมาะสมจากผลลัพธ์ของกระบวนการวิเคราะห์หรือจำลองสถานการณ์ โดยอาศัยข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและถูกต้อง

ในการบริหารจัดการองค์กรของ ศวพก. มีการดำเนินงานในด้านการบริหารจัดการ โดยมีโครงสร้างการบริหาร และอัตรากำลังในหน่วยวิจัยและส่วนงานต่างๆ ดังแผนภาพที่ 1

 

แผนภาพที่ 1 โครงสร้างการบริหารงานศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร

 

                                                                              คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

image019a.jpg

 

1.5  คณะผู้บริหาร

image003a.jpg

 

รศ. ดร. เบญจพรรณ เอกะสิงห์

โทร.  053-944621 ext. 240

Email:bench.ek@chiangmai.ac.th

 

หัวหน้าศูนย์

image011a.jpg

 

รศ. ดร. ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา

โทร. 053-944621 ext. 228

Email: sakda@chiangmai.ac.th

 

 

กรรมการ

image005a.jpg

 

รศ. ดร. นคร ณ ลำปาง

โทร. 053-944621 ext. 223

Email: n.nalam@chiangmai.ac.th

 

 

ผู้ทรงคุณวุฒิ

image013a.jpg

 

รศ. ดร. ธวัชชัย รัตน์ชเลศ           

โทร. 053-944621 ext. 227

Email: tavacha@chiangmai.ac.th

 

 

กรรมการ

image007a.jpg

 

อ. พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ

โทร. 053-944621 ext. 209

Email: phrek@chiangmai.ac.th

 

 

ผู้ทรงคุณวุฒิ

image015a.jpg

 

รศ. ดร. อรรถชัย จินตะเวช

โทร. 053-944621 ext. 216           

Email: attachai@chiangmai.ac.th

 

 

กรรมการ

image009a.jpg

 

อ. ดร. เมธี เอกะสิงห์

โทร. 053-944621 ext. 220

Email: methi@chiangmai.ac.th

 

 

ผู้ทรงคุณวุฒิ

image017a.jpg

 

ผศ. ดร. ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์

โทร. 053-944621 ext. 230

Email: chanchai@chiangmai.ac.th

 

กรรมการ

 

 

 

 

 

 

1.6  ทรัพยากรการบริหารจัดการ

1.6.1 บุคลากร

ปัจจุบันหัวหน้า ศวพก. ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เบญจพรรณ  เอกะสิงห์ และ ศวพก. ได้มีบุคลากรที่ร่วมอุดมการณ์ในการพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้แนวทางเชิงระบบเพื่อดำเนินงานตามพันธกิจหลักของ ศวพก. ประกอบด้วย คณาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ในสังกัดคณะเกษตรศาสตร์ที่มาทำงานวิจัยและร่วมสอนในหลักสูตรนานาชาติฯ จำนวน 11 คน พนักงานของมหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน พนักงานเงินรายได้มหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน ข้าราชการ ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและตำแหน่งทั่วไป จำนวน 8 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 25 คน และลูกจ้างชั่วคราว (เงินรายได้ และโครงการวิจัย) จำนวน 4 คน รวมบุคลากรทั้งสิ้น 59 คน (ดังตารางที่ 2) นอกจากนี้ ศวพก. ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของศูนย์ฯ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่

1.รองศาสตราจารย์ ดร.นคร    ลำปาง

2.อาจารย์ ดร.เมธี  เอกะสิงห์

3.อาจารย์พฤกษ์  ยิบมันตะสิริ

ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสามเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ศวพก. มาตั้งแต่เริ่มแรก และปัจจุบันก็ยังให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาในการดำเนินงานของ ศวพก. อย่างต่อเนื่อง

 

ตารางที่  2  บุคลากรของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร

ประเภทบุคลากร

ระดับการศึกษา

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

ต่ำกว่าปริญญาตรี

รวม

ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยฯ

1

2

 

 

3

ข้าราชการ สาย ก.(จากภาควิชาต่าง ๆ )

11

 

 

 

11

ข้าราชการ ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและตำแหน่งทั่วไป

 

 

 

 

 

 

 

 

-          นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ

 

2

 

 

2

-          นักวิชาการเกษตรชำนาญการ

1

2

 

 

3

-          บุคลากรชำนาญการ

 

 

1

 

1

-          นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

 

 

1

 

1

-          ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์ชำนาญการ

 

 

1

 

1

พนักงานมหาวิทยาลัย

 

3

2

 

5

พนักงานเงินรายได้มหาวิทยาลัย

 

 

3

 

3

ลูกจ้างประจำ

 

 

 

25

25

ลูกจ้างชั่วคราวเงินรายได้มหาวิทยาลัย

 

 

 

1

1

ลูกจ้างชั่วคราวโครงการวิจัย

 

3

 

 

3

รวมทั้งสิ้น

13

12

8

26

59

 

1.6.2 งบประมาณ

ทุนดำเนินการที่ใช้ในหน่วยงาน กิจกรรมหรือบริการ

ทุนดำเนินการของ ศวพก. ในระหว่างปี 2543-2553 มาจาก 4 แหล่งทุนดังนี้

·         งบประมาณแผ่นดิน

·         งบประมาณเงินรายได้ของ ศวพก.

·         งบประมาณเงินรายได้จากหลักสูตรสาขาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ        

·     งบประมาณสนับสนุนการการวิจัยจากแหล่งทุนทั้งภายในประเทศ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส) เป็นต้น

·     งบประมาณสนับสนุนการศึกษาและการวิจัยจากแหล่งทุนต่างประเทศ ได้แก่ มูลนิธิฟอร์ด  มูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ สถาบันวิจัยวนเกษตรนานาชาติ (World Agroforestry Center) สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute :IRRI) สถาบันวิจัยข้าวโพดข้าวสาลีนานาชาติ (International Maize and Wheat Improvement Center:CIMMYT) และ International Consortium of Agricultural Systems Application (ICASA) เป็นต้น

 

งบประมาณในการบริหารของ ศวพก. ประจำปีงบประมาณ 2553 รวมทั้งสิ้น 16,687,125 บาท ประกอบด้วยงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 11,337,000 บาท งบประมาณเงินรายได้ ศวพก. จำนวน 2,949,659.- บาท งบประมาณเงินรายได้หลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ จำนวน 2,400,430 บาท ดังรายละเอียดงบประมาณในตารางที่ 3

 

ตารางที่ 3 งบประมาณของ ศวพก. ประจำปีงบประมาณ 2553 (1 ต.ค. 2552 – 30 ก.ย. 2553)

ลำดับ

ประเภทงบประมาณ

จำนวน (บาท)

1

งบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2553

11,337,000

2

งบประมาณเงินรายได้

-           ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร

 

2,949,695

 

-           หลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบ

2,400,430

รวม

 16,687,125

 

ในส่วนของโครงการวิจัยในปีงบประมาณ 2553  สามารถจำแนกตามแหล่งทุนวิจัยที่เป็นทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 8,115,956.65 บาท (ดังตารางที่ 4)

 

ตารางที่ 4 จำนวนเงินสนับสนุนโครงการวิจัย ตามปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำแนกตามแหล่งทุน

แหล่งทุน

งบประมาณ (บาท)

เงินสนับสนุนโครงการวิจัย

 

 

- แหล่งทุนในประเทศ

5,900,124.65

 

- แหล่งทุนต่างประเทศ

2,215,832.00

รวม

8,115,956.65

 

     1.6.3 ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ

 

หลักสูตรฯ มีการจัดการทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

 

ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร

รายการ

จำนวน (ห้อง)

พื้นที่ (ตารางเมตร)

ห้องเรียน

3

120

ห้องประชุม

5

200

ห้อง Study Pool

3

80

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

1

40

ห้องอ่านหนังสือ

1

40

รวม

13

520

 

 

โสตทัศนูปกรณ์

รายการ

จำนวน (เครื่อง)

เครื่องฉายข้ามศีรษะ (LCD)

4

เครื่องฉายแผ่นใส

4

เครื่องฉายสไลด์

1

เครื่องเสียง

2

รวม

11

 

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000