rdss5.gif (16806 bytes)


มูลนิธิโครงการหลวงได้ดำเนินการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนที่สูงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยมีเขตความรับผิดชอบเป็นลุ่มน้ำย่อยจำนวน 35 ลุ่มน้ำ และดำเนินการพัฒนาโดยอาศัยศูนย์พัฒนาและสถานีโครงการหลวงที่ตั้งขึ้นในเขตลุ่มน้ำย่อยดังกล่าวและกระจายอยู่ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอนและลำพูน พื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพในการผลิตและอาจก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับที่แตกต่างกัน การวางแผนการผลิตและการตลาดที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ที่ดินโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อวางแผนระบบการผลิตให้สองคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามเท่าที่ผ่านมายังไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระดับลุ่มน้ำในเขตความรับผิดชอบของมูลนิธิทำให้การประเมินผลและติดตามสถานการณ์การผลิตและความเป็นอยู่ของชุมชนและผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภายในลุ่มน้ำ ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการวารวิจัยและพัฒนาระบบข้อมูลเชิงพื้นที่และระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ต้องอาศัยข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคม เพื่อวางแผนการผลิตและการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรในพื้นที่แบบยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต่อการเตรียมการรับระบบมาตรฐานการค้าสินค้าเกษตรในอนาคต

วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบและนำเข้าฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านภายภาพในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)
เพื่อออกแบบและนำเข้าข้อมูลอรรถาธิบายประกอบข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบ GIS
เพื่อหาดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเน้นศักยภาพทางการผลิตของชุมชนเพื่อการดำรงชีพอย่างยั่งยืน และนำเข้าดัชนีดังกล่าวในระบบ GIS
เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการผลิตทางเกษตรและการจัดการทรพัยากรธรรมชาติภายในพื้นที่ความรับผิดชอบของมูลนิธิฯ ซึ่งสามารถเรียกใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลอรรถาธิบายตามวัตถุประสงค์ต่างๆ

แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย : มูลนิธิโครงการหลวง

ระยะเวลาดำเนินงาน : พฤษภาคม 2543 - มิถุนายน 2544

สรุปผลการดำเนินงาน

การวิเคราะห์และพัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮและหนองหอยโดยใช้ข้อมูลระยะไกล (PDF)
การประเมินการพังทลายดินเชิงพื้นที่ในศูนย์พัมนาโครงการหลวงหนองหอยและแม่แฮ (PDF)

โครงสร้างและลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมและดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของระบบ

ตัวชี้วัดระบบเกษตรบนที่สูงและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ : มุมมองทางด้านเศรษฐกิจสังคม (PDF)

การออกแบบและพัฒนาระบบข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการวางแผนพัฒนาการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ

การพัฒนาระบบข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการเกษตรบนที่สูง (PDF)
การใช้ระบบข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการวางแผนพัฒนาการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง (PDF)
"ระบบสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนที่สูง: สพทส. 1.0"
โครงสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และฐานข้อมูลเชิงอรรถาธิบายในระบบสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนที่สูง: สพทส. 1.0 (PDF)


สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ methi@chiangmai.ac.th

กลับสู่ DSSARM


| หน้าหลัก ศวพก.| วิสัยทัศน์ ศวพก .| ระบบเกษตรยั่งยืน |ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตร | ระบบธุรกิจเกษตร |
| หลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบ
| หน่วยสนับสนุนงานวิจัย | เครือข่ายระบบเกษตร | สืบค้นข้อมูล | สิ่งตีพิมพ์ | ข่าวสาร |