โครงการศึกษาระบบต้นแบบการกำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือก

โดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นเป็นปัจจัยร่วม

 

 

Participatory Price Assessment of Paddy Rice by Quality in Thailand

นักวิจัยร่วม : นายเดชา น่วมแหยม, นางสาวจันท์จิรา ประมวญพิสุทธิ์
และนางสาวณัฏศรินทร์ หอเจริญ

 

 

นักวิจัย : ผศ.ดร. ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา และ รศ.ดร. พิชิต ธาน

 

                วิถีชีวิตของชาวนาไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ตนเองกำหนดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นฟ้าฝน นโยบายข้าวจากรัฐบาลและราคาข้าวเปลือกซึ่งถูกกำหนดโดยผู้รับซื้อเพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันการรับซื้อข้าวของโรงสีจะกำหนดราคาข้าวเปลือกตามเปอร์เซ็นต์ความชื้นเป็นหลัก ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาข้าวเปลือกให้มีคุณภาพ เกษตรกรที่ได้ผลผลิตคุณภาพดีจะเสียเปรียบเกษตรกรที่มีผลผลิตคุณภาพต่ำกว่า เพราะได้ราคาเท่ากัน จึงไม่ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านคุณภาพ และยังทำให้เกษตรกรไม่พยายามส่งข้าวที่สะอาดเข้าโรงสี แต่กลับส่งข้าวที่ปลอมปน เพื่อให้ได้น้ำหนักมาก ทำให้โรงสีจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในการกำจัดสิ่งปลอมปน

 

                 งานวิจัยการกำหนดราคาข้าวเปลือกตามคุณภาพข้าวเปลือก (ตามเปอร์เซ็นต์ข้าวต้น) แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรไทยนี้ จึงได้สร้างแบบจำลองต้นแบบสำหรับการกำหนดราคาข้าวเปลือกโดยใช้เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นเป็นปัจจัยหนี่งในการพิจารณา เนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของเปอร์เซ็นต์ข้าวต้น ปกติแล้วจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรโดยตรง เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดราคาข้าวเปลือก หากเกษตรกรสามารถผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูง ราคาข้าวที่ได้รับก็น่าจะสูงด้วย อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นก็จะเป็นผลดีต่อโรงสีที่รับซื้อ แต่ระบบการซื้อขายข้าวของตลาดในประเทศไทยยังมิได้เอื้ออำนวยให้เกษตรกรได้ผลประโยชน์จากการขายข้าวที่มีเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นสูง ดังเช่นเกษตรกรในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับราคาขายข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นตามเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นแต่ละเปอร์เซ็นต์

 

 

 

                  ดังนั้นผลการศึกษาที่ได้จะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพการสีของข้าวที่เกษตรกรได้รับ ซึ่งหากไม่มีการพัฒนาระบบที่เอื้ออำนวยให้มีการนำเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นเข้ามาเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดราคาซื้อขายข้าวเปลือก เกษตรกรก็อาจจะไม่ได้มีผลประโยชน์จากการจัดการที่จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นเลย จึงมีการศึกษารูปแบบ วิธีการ ตลอดจนความเป็นไปได้ ในการกำหนดราคาข้าวเปลือกตามคุณภาพข้าวเปลือกหรือตามเปอร์เซ็นต์ข้าวต้น ที่จะให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยรับฟังความคิดเห็นทั้งจากเกษตรกรเกี่ยวกับกลไกราคาข้าวที่เกษตรกรได้รับ และจากผู้รับซื้อ เพื่อทำให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในระบบ ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน และทำให้มีแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพข้าวให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

 

 

 

 

 

 

  

 








    สำหรับเมนูการซื้อขายข้าวเปลือก ด้านบนเป็นเมนูหลักประกอบด้วย

ปุ่มไอคอนข้อมูลลูกค้า การรับซื้อข้าวเปลือ ก ข้อมูลอัตราการตัดน้ำหนัก

ความชื้น ข้อมูลอัตราการเพิ่มและตัดราคาต้นข้าว ข้อมูลราคากลางข้าว

พันธุ์ต่าง ๆและข้อมูลอัตราการตัดน้ำหนักสิ่งเจือปน

    ส่วนด้านล่างประกอบด้วย ส่วนการคำนวณราคาซื้อขายข้าวเปลือก

ซึ่งมีหลักการคำนวณตามคุณลักษณะของข้าว 3 ประการ นั่นคือ

ความชื้น ต้นข้าว และสิ่งเจือปน นั่นเอง ซึ่งจุดเด่นของตัวโปรแกรมนี้

นอกจากจะสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก สบาย รวดเร็วขึ้นแล้ว

ยังสร้างฐานข้อมูลให้กับผู้ประกอบการเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและเกษตรกรสามารถทราบคุณภาพข้าวของตนเองเพื่อนำไปปรับปรุง

พันธุ์ข้าวของตนเองต่อไปได้ รวมถึงมีมาตรฐานการหักราคาแน่นอนและสามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใน ยุติธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย

     

    สำหรับเมนูบันทึกข้อมูลลูกค้า จะใช้เป็นฐานข้อมูลลูกค้าที่ทำการ

ซื้อขายข้าวเปลือกกับทางโรงสีโดยที่ทางผู้ประกอบการโรงสีสามารถ

ปรับปรุง แก้ไข หรือบันทึกข้อมูลลูกค้า ทั้งเก่าและใหม่ได้

 

 

 


 

 

 

    สำหรับหน้าต่างอัตราเพิ่มและตัดราคาต้นข้าว เป็นส่วนที่แสดงจำนวน

เงินที่หักและเพิ่มให้ เมื่อเกษตรกรนำข้าวเปลือกที่มีต้นข้าวต่ำกว่า

มาตรฐาน (มาตรฐาน 40 %) และสูงกว่ามาตรฐานตามลำดับ 

มาขายให้โรงสี

 

 

 

 

 

    สำหรับหน้าต่างอัตราตัดน้ำหนักความชื้น เป็นส่วนที่แสดงจำนวนน้ำหนัก

ที่หักเมื่อเกษตรกรนำข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำกว่ามาตรฐาน

 (มาตรฐานที่ 14 %) มาขายให้กับโรงสี

โปรแกรมกำหนดราคาข้าวเปลือกตามคุณภาพข้าวเปลือก

(รุ่นทดสอบ)

 

 

 

 


    สำหรับหน้าต่างอัตราการตัดน้ำหนักสิ่งเจือปน เป็นส่วนที่แสดงจำนวน

น้ำหนักที่หักเมื่อเกษตรกรนำข้าวเปลือกที่มีสิ่งเจือปนตั้งแต่ 3 % ขึ้นไป

(มาตรฐาน 0-2 %) มาขายให้กับโรงสี



 

   



 

 


  

   สำหรับตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน จะแสดง % ความชื้น % ต้นข้าว และ

 % สิ่งเจือปน ของข้าวเปลือกที่เกษตรกรได้นำมาขายให้กับโรงสี รวมถึง

น้ำหนักที่หักตาม % ความชื้น และ %สิ่งเจือปน และราคาหลังหักตาม

อัตรา % ต้นข้าว ซึ่งจะคำนวณได้มูลค่าข้าวเปลือกโดยรวม

  

 

จัดทำโดย : โครงการศึกษาระบบต้นแบบการกำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือกโดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นเป็นปัจจัยร่วม
ปรับปรุง: 8 สิงหาคม 2548