mcc กับ งานเกษตรปลอดพิษ
 
      สถานีวิจัยการเกษตรเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาระบบการผลิตพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาตั้งแต่ปี 2535 จากการปลูกผักกลางแจ้งในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ โดยใช้วิธีการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน และความหลากหลายของชนิดผัก ปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ถึง 11 ไร่ และเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเป็นระบบอินทรีย์ในปี 2545 ซึ่งกระบวนความรู้ได้ถูกถ่ายทอดสู่เกษตรกรและผู้สนใจระบบการผลิตผักปลอดสารพิษอย่างสม่ำเสมอ

  

ศวพก. ได้พัฒนาระบบการผลิตที่คำนึงถึงผู้บริโภคปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปลอดพิษ โดยการจัดการสร้างความสมดุลย์ในระบบนิเวศน์เกษตร รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้แรงงานครัวเรือนเกษตรกร และเพิ่มความสัมพันธ์ของคนชุมชน มีหลักการดังนี้
  งานด้านการผลิต
 
    ศวพก. ได้พัฒนาระบบการผลิตที่คำนึงถึงผู้บริโภคปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปลอดพิษ โดยการจัดการสร้างความสมดุลย์ในระบบนิเวศน์เกษตร รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้แรงงานครัวเรือนเกษตรกร และเพิ่มความสัมพันธ์ของคนชุมชน มีหลักการดังนี้
  วิธีเขตกรรม
 
  • ใช้ความหลากหลายของชนิดพืช คัดเลือกพืชปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาล และปลูกพืชหมุนเวียนตลอดปี เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคและแมลงศัตรูพืช
  • จัดการธาตุอาหารแบบผสมผสาน โดยการลดใช้ปุ๋ยเคมี และเพิ่มสัดส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ใช้ปุ๋ยมูลไก่ น้ำสกัดชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมี
  • ใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์เพื่อช่วยควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืชบางชนิด
  • ไถพลิกหน้าดินตากแดดเพื่อกำจัดศัตรูพืช ตรวจเช็คสภาพดิน และใช้เมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพ ฯลฯ
  • พลาสติกคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้น และควบคุมวัชพืช
  วิธีกล
      กำจัดแมลงศัตรูพืช โดยใช้กับดัก เช่น ใช้กาวเหนียว ถาดเหลืองดักจับแมลง และการจับทำลาย
  สร้างสภาพแวดล้อม
 
    ปรับสภาพแวดล้อมในแปลงปลูกพืชเพื่อเพิ่มประชากรศัตรูธรรมชาติเกื้อหนุนต่อการควบคุมศัตรู ทำให้เกิดการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีทางธรรมชาติ
  งานด้านตลาดและผู้บริโภค
 
    ศวพก.ได้พัฒนาระบบตลาดเกษตรปลอดสารพิษโดยผ่านการศึกษาข้อมูลผู้บริโภทอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้มีการทำงานด้านการตลาดใน 3 รูปแบบ คือ
 
  • จำหน่ายสินค้าในร้านเกษตรปลอดสารพิษ mcc เปิดบริการทุกวัน
  • กระจายผักเข้าหน่วยราชการในจังหวัดเชียงใหม่
  • จัดตั้งตลาดเฉพาะสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ณ. บริเวณสถานีเกษตรชลประทาน ร้าน"เกษตรปลอดภัยพิษ อาหารปลอดภัย" ในวัน พุธ เวลา 7.00-18.00 และวันเสาร์ เวลา 7.00-13.00
  งานด้านการจัดการองค์กร
 
    เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านเกษตรกร โดยผ่านคณะกรรมการควบคลุม ภายใต้เครือข่ายเกษตรแม่ปิง โดยกระบวนความรู้ได้ถูกถ่ายทอดสู่เกษตรกรและผู้สนใจระบบการผลิตผักปลอดสารพิษ ในรูปแบบ "โรงเรียนเกษตรกร" ซึ่งเนื้อหาการเรียนรู้มากจากความต้องการของเกษตรกร โดยมีนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเป็นพี่เลี้ยง ดูแล ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนผลิต เก็บเกี่ยว รวมถึงการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขปัญหาร่วมกับเกษตรกร
  งานด้านมาตรฐานสินค้าและการรับรอง
 
    ศวพก. ยึดหลักการดูแลกระบวนการผลิตมากกว่าการตรวจสอบที่ปลายทาง จึงทำงานร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามได้มีการตรวจสอบผลิตผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เพื่อให้เกษตรกรเป็นที่รู้จักและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคด้วยตนเอง จึงมีการสนับสนุนให้เกษตรกร มีตราสินค้าเป็นของตัวเอง
 
    ศวพก. มีแนวคิดที่จะสนับสนุนให้ เชียงใหม่เป็นเมืองต้นแบบเกษตรปลอดพิษ ได้ทำงานในรูป เครือข่าย ผู้ผลิต ผู้บริโภค และความเป็นมิตรระหว่างเกษตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้าใจ สนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน 
ความเป็นมิตรระหว่างเกษตรกับสิ่งแวดล้อม

  • พิทักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
 
ศวพกได้พัฒนาระบบการผลิตที่คำนึงถึงผู้บริโภคปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปลอดพิษ โดยการจัดการเพิ่มความสมดุลให้ระบบพืชและแมลงควบคุมศัตรูพืช รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้แรงงานครัวเรือนเกษตรกร และเพิ่มความสัมพันธ์ของคนชุมชน มีหลักการดังนี้
  • การใช้ความหลากหลายของชนิดพืชปลูก เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคและแมลงศัตรูพืช
  • การป้องกันและควบคุมศัตรูพืชแบบผสมผสาน (ทั้งวิธีกลและชีววิธี) เช่น การใช้กาวเหนียว ถาดเหลืองดักจับแมลง
  • การสวิงจับแมลง การใช้จุลินทรีย์ ฯลฯ
  • การจัดการธาตุอาหาร เช่น การใช้ปุ๋ยมูลไก่ น้ำสกัดชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมี (ผักปลอดภัย)
  • การใช้ระบบน้ำ แบบสปริงเกอร์เพื่อควบคุมปริมาณและเป็นการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้แรงงาน และการคลุมพลาสติกเป็นการเพิ่มความชื้นแก่ดิน และควบคุมวัชพืช
  • การใช้แรงงานในครัวเรือน
   
ผู้ผลิต
 
  • ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
  • ตรวจสอบคุณภาพ/ประกันคุณภาพ
  • แหล่งความรู้
  • เกษตรกรมีรายได้มั่นคง
 
ผู้บริโภค
 
  • สนับสนุนผู้ผลิต
  • เข้าถึงเกษตรปลอดสารพิษ
  • คุณภาพชีวิต
   
   
ศวพก. ตระหนักถึงการบริโภคอาหารปลอดพิษ และอาหารเพื่อสุขภาพ ประกอบกับที่ต้องการผลักดันให้เชียงใหม่ เป็นจังหวัดต้นแบบของ “เกษตรปลอดพิษ” ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในวงกว้าง

   ศวพก.มีเป้าหมายที่ให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและกลุ่มผู้บริโภคได้มีโอกาสพบปะ และแลกเปลี่ยนปัญหา ในการผลิต และการบริโภคเป็นประจำ เพื่อเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นการรณรงค์และสนับสนุนการบริโภคอาหารคุณภาพปลอดสารพิษ ในประชาชนทุกระดับ และทุกวัย ในราคาที่เป็นธรรมต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค